วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ลิงอุรังอุตัง


ลิงอุรังอุตัง เป็นสัตว์พื้นเมืองของ เกาะบอร์เนียว และ เกาะสุมาตรามีขนาดใหญ่ คล้ายคน ไม่มีหาง หูเล็ก แขนและขายาว ตัวผู้มีน้ำหนัก 75-200กิโลกรัม ส่วนเพศเมียหนัก 50-80กิโลกรัม มีขนหยาบสีแดงรุงรัง เมื่อโตขึ้นกระพุ้งแก้มจะห้อยเป็นถุงขนาดใหญ่ มันชอบอยู่บนต้นไม้โดดเดี่ยว เว้นแต่ช่วงผสมพันธุ์จะอยู่เป็นคู่ ชอบห้อยโหนจากกิ่งหนึ่งไปอีกกิ่งหนึ่ง มีการสร้างรังนอน แบบเดียวกับ ชิมแปนซี เชื่อง ไม่ดุ หัดง่ายแต่เมื่อเติบโตแล้วจะดุมาก เมื่ออุรังอุตังอายุ10ปีจะสามารถผสมพันธุ์ได้ ออกลูกทีละ1ตัว และอายุยืนถึง40ปีเลย ปัจจุบัน เป็นสัตว์หายาก อาหารหลักคือผลไม้ชนิดต่างๆ โดยเฉพาะทุเรียน นอกจากนี้ยังกินแมลง ไข่นก สัตว์เล็กๆอื่นๆอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สมัยกลาง

ยุคกลาง (อังกฤษ: Medieval Age) หรือ สมัยกลาง (อังกฤษ: Middle Ages) เป็นหนึ่งในการแบ่งช่วงเวลาในประวัติศาสตร์โลก นำหน้าด้วยอารยธรรมสมัยคลาสสิค และตามหลังด้วยสมัยใหม่

นักประวัติศาสตร์ได้กำหนดช่วงเวลาสมัยกลางของสากลโลกไว้ว่า การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในค.ศ. 476 เป็นจุดเริ่มต้นของสมัยกลาง เพราะหลังการล่มสลาย จักรวรรดิโรงมันตะวันออก ซึ่งกลายเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ การล่มสลายของมหาอำนาจทำให้ยุโรปแตกเป็นอาณาจักรมากมายและไม่มีขื่อแป จนตกเป็นเหยื่อของการรุกรานจากชนชาติภายนอก คริสต์ศาสนาจึงกลายเป็นที่พึ่งและสถาบันสูงสุดของยุโรปสมัยกลาง จนในศตวรรษที่ 15 ชาติต่าง ๆ ในยุโรปสามารถรวมตัวกันเป็นรัฐชาติ (Nation-States) จนพัฒนากลายเป็นประเทศต่าง ๆในปัจจุบันได้ หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ในปี ค.ศ. 1453 ทำให้ความรู้ของกรีกและโรมันแพร่กระจายไปทั่วยุโรป เกิดการฟื้นฟูศิลปวิทยา จึงเริ่มต้นเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของสมัยกลางของสากลโลก และเปิดโลกเข้าสู่สมัยใหม่

เนื้อหา [ซ่อน]
1 การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน
2 ยุคมืด
3 สมัยกลางเรืองอำนาจ (High Middle Ages)
4 ดูเพิ่ม


[แก้] การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน

ยุโรปประมาณค.ศ. 450จักรวรรดิโรมันแผ่ขยายอาณาเขตรอบทะเลเมดิเตอร์ราเนียนจนมีอาณาเขตสูงสุดในศตวรรษที่ 2 แต่อาณาจักรโรมันที่ใหญ่เกินไปทำให้ยากแก่การปกครอง ทำให้ต้องแบ่งจักรวรรดิออกเป็นตะวันออกและตะวันตก ในค.ศ. 330 จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชตั้งเมืองไบแซนติอุม (Byzantium) เป็นเมืองหลวงใหม่แทนที่โรม ตั้งชื่อใหม่เป็นโรมใหม่ (Nova Roma) แต่ผู้คนมักจะเรียกว่า เมืองของพระเจ้าคอนสแตนติน คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) สงครามกับชนเผ่าเยอรมัน ในยุโรปกลางและตะวันออกในปัจจุบัน ทำให้ชาวโรมันเหนื่อยล้า ในศตวรรษที่ 4 พวกชนฮั่น (Huns) จากเอเชียบุกเข้ามาในยุโรปสังหารเผ่าเยอรมันอย่างโหดเหี้ยม ทำให้เผ่าเยอรมันต่าง ๆ มาขออาศัยในจักรวรรดิ แลกเปลี่ยนกับการถูกเกณฑ์ไปรบ ใน ค.ศ. 378 ในการรบที่อเดรียโนเปิล (Adrianople) เผ่าวิสิโกธ เอาชนะทัพโรมันและยึดแคว้นดาเชีย (Dacia โรมาเนียในปัจจุบัน) เป็นที่มั่น

ในค.ศ. 391 จักรพรรดิธีโอโดซิอุสออกกฎหมายให้คริสต์ศาสนาเป็นศาสนาเพียงหนึ่งเดียวของจักรวรรดิโรมัน ความเชื่อตามหลักของคริสต์ศาสนานั้นบรรเทาความกระหายสงครามของชาวโรมันจนเกือบหมด ทำให้ต้องจ้างทหารเผ่าเยอรมันเพื่อให้สู้กับพวกเยอรมันเอง กองทัพโรมันจึงอ่อนแอลง

พระเจ้าธีโอโดซิอุสทรงแบ่งอาณาจักรโรมันออกเป็นตะวันออกและตะวันตก การแบ่งจักรวรรดิเป็นการตัดเนื้อร้ายของจักรวรรดิ คือ ฝั่งตะวันตกที่ย่อยยับด้วยการรุกรานของเผ่าอนารยชน ทำให้จักรวรรดิฝั่งตะวันออก ที่รุ่งเรืองด้วยการค้ากับเส้นทางสายไหม ยังคงอยู่รอดเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ไปอีกพันปี

ใน ค.ศ. 409 เผ่าแวนดัล (Vandals) ทนการโจมตีของพวกฮั่นไม่ไหว จึงข้ามแม่น้ำไรน์ที่เป็นน้ำแข็งมาในแคว้นโกล (Gaul) ปล้นสะดมไปตามทางและตั้งรกรากที่คาบสมุทรไอบีเรีย ในค.ศ. 410 พระเจ้าอลาริค (Alaric) แห่งพวกวิซิกอททำทัพบุกยึดกรุงโรม เผาทำลายเมืองจนพินาศ จนจักรพรรดิโฮโนริอุส แห่งจักรวรรดิตะวันตก ยกแคว้นอากีแตนในฝรั่งเศสปัจจุบันให้กับพวกวิซิกอท พวกวิซิกอทจากอากีแตนก็บุกไอบีเรียขับพวกแวนดัลไปแอฟริกาเหนือในค.ศ. 429 พวกแวนดัลจากแอฟริกายกทัพเรือกลับมาโจมตีทำลายกรุงโรมใน ค.ศ. 455

ใน ค.ศ. 476 โอโดอาเซอร์ (Odoacer) จากเผ่าเยอรมันโจมตีกรุงโรม และปลดจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งฝั่งตะวันตก คือ จักรพรรดิโรมุลุส ออกุสตุส (Romulus Augustus) ทำให้จักรพรรดิฝั่งตะวันออกส่งพระเจ้าธีโอโดริค (Theodoric) แห่งชาวออสโตรกอท (Ostrogoths) มายึดโรมคืน แต่ธีโอโดริคก็ตั้งอาณาจักรในอิตาลีเสียเอง

[แก้] ยุคมืด
ดูบทความหลักที่ ยุคมืด
ชนเผ่าเยอรมันต่างๆเข้ามาแทนที่จักรวรรดิโรมัน ได้แก่ ชาวแองเกิลส์และชาวแซ็กซอนในอังกฤษ ชาวแฟรงก์ในฝรั่งเศส ชาววิซิกอธในสเปน ชาวแวนดัลในแอฟริกา ชาวออสโตรกอธในอิตาลี แต่จักรวรรดิโรมันตะวันออกนั้นยังอยู่ยั้งยืนยง แต่ในยุโรปตะวันตกนั้น อารยธรรมโรมันค่อยๆสูญสลาย เมื่อบ้านเมืองไม่มีขื่อแป การค้าขายและคุณภาพชีวิตจึงเสื่อมลง มีเพียงสถาบันศาสนาที่ยังคงประดิษฐานมั่นคงเป็นที่พึ่งของประชาชน สมัยนี้จึงเรียกว่ายุคมืดซึ่งไม่เกี่ยวกับความมืดมนแต่อย่างใดแต่เป็นสมัยที่บันทึกและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่มีหรือครุมเครือ

จักรพรรดิจัสติเนียนแห่งโรมันตะวันออกทรงต้องการจะรื้อฟื้นจักรวรรดิโรมันที่ยิ่งใหญ่ เลยทรงทำมหาสงครามยึดดินแดนต่างๆคืน โดยทรงทำลายอาณาจักรพวกแวนดัลในค.ศ. 533 และพวกออสโตรกอธในค.ศ. 552 แต่ดินแดนที่พระองค์ยึดมาได้นั้นจะหลุดมือไปอย่างรวดเร็ว ด้วยการรุกรานของชาวมุสลิมในศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวอาหรับยึดได้แอฟริกาเหนือทั้งหมด และทำลายอาณาจักรชาววิซิกอธและยึดสเปนในค.ศ. 711 รวมทั้งบุกอิตาลีด้วย

แต่การรุกรานของชาวมุสลิมก็สามารถต้านท้านไว้ได้โดยชาวแฟรงก์ พวกแฟรงก์เรืองอำนาจในศตวรรษที่ 9 ภายใต้ราชวงศ์คาโรริงเจียน ปราบปรามเผ่าเยอรมันอื่นๆ และพิชิตเยอรมนี แผ่ขยายอิทธิพลของคริสต์ศาสนา จักรวรรดิไบแซนไทน์ที่อ่อนแอลงทำให้ควบคุมอิตาลีไม่ได้ ชาวลอมบาร์ด (Lombards เผ่าเยอรมันอีกเผ่า) จึงเข้ารุกรานอิตาลี พระสันตะปาปาทรงขอให้พระเจ้าชาร์เลอมาญ (Charlemagne) แห่งชาวแฟรงก์ช่วยเหลือ พระเจ้าชาร์เลอมาญทรงสามารถขับชาวลอมบาร์ดได้ และสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิโรมันในค.ศ. 800 เป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire)

จักรวรรดิของพระเจ้าชาร์เลอมาญถูกแบ่งเป็นสามส่วนตามสนธิสัญญาแวร์ดัง (Verdun) ในค.ศ. 843 เป็นอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก ตะวันตก และกลาง แต่อิทธิพลของราชวงศ์คาโรแลงเจียนก็เสื่อมลง ประจวบกับการรุกรานของชาวไวกิง (Vikings) จากสแกนดีเนเวีย บุกปล้นสะดมเมืองชายฝั่งต่างๆทั่วยุโรป ทำให้การค้าล่มสลาย กษัตริย์ทรงมิอาจจะต้านการรุกรานได้ ประชาชนจึงต้องพึ่งขุนนางท้องถิ่น ทำให้ขุนนางท้องที่มีอำนาจขึ้นมา เกิดระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) ที่อำนาจเป็นของขุนนาง ขณะที่กษัตริย์นั้นอ่อนแอลงทุกวัน

[แก้] สมัยกลางเรืองอำนาจ (High Middle Ages)
ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ในอาณาจักรแฟรงก์ต่างๆนั้นจะเป็นลักษณะของสมัยกลาง คือ นาย (lord) มีที่ดิน แบ่งที่ดิน (fief) ให้ลูกน้อง (vassal) ไปเพาะปลูกเกษตรกรรมและสร้างกองทัพ ขณะเดียวกันลูกน้องต้องทำหน้าที่ คือ จงรักภัคดี (homage) และช่วยรบในสงคราม และลูกน้องก็อาจจะมีลูกน้องอีกทีเป็นขั้นๆ นายที่ใหญ่ที่สุด คือ กษัตริย์ แบ่งที่ดินเป็นแคว้นๆให้ขุนนางใหญ่ปกครอง และขุนนางเหล่านั้นก็มีขุนนางใต้บังคับบัญชาอีกที

ราชวงศ์คาโรแลงเจียนในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกและตะวันตกสิ้นสุด อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกกลายเป็นจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในค.ศ. 962 ด้วยการสวมมงกุฎโดยพระสันตะปาปาของจักรพรรดิออตโตที่ 1 จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้รับการสวมมงกุฎจากพระสันตะปาปา ในค.ศ. 1072 พระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 ทรงมีความขัดแย้งกับจักรพรรดิเฮนรีที่ 4 ในการแย่งชิงอำนาจการแต่งตั้งสงฆ์ เรียกว่า ข้อขัดแย้งในอำนาจการแต่งตั้งสงฆ์ (Investiture Controversy) จนจักรพรรดิเฮนรีต้องทรงเดินข้ามเทือกเขาแอลป์เพื่อขอโทษพระสันตะปาปา เป็นชัยชนะของสถาบันศาสนาต่อการปกครองบ้านเมือง การเสื่อมอำนาจของพระจักรพรรดิทำให้นครรัฐต่างๆในอิตาลีเรืองอำนาจขึ้นมา

อาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกกลายเป็นอาณาจักรฝรั่งเศส ภายใต้ราชวงศ์กาเปเชียง อาณาจักรฝรั่งเศสเป็นที่ที่ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ส่งผลร้ายแรงที่สุด ฝรั่งเศสแตกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย กษัตริย์ฝรั่งเศสทรงไม่มีพระราชอำนาจในการควบคุมขุนนาง ทรงมีเพียงที่ดินรอบๆกรุงปารีสเท่านั้น ขุนนางฝรั่งเศสคนหนึ่งได้เป็นกษัตริย์อังกฤษ และด้วยการแต่งงานทำให้ได้ที่ดินมากมายในฝรั่งเศสเป็นของตนทำให้มีอำนาจมากกว่ากษัตริย์ฝรั่งเศสเองเสียอีก

ดูบทความหลักที่ สงครามครูเสด
แม้ชาวมุสลิมจะยึดครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ คือ กรุงเยรูซาเล็ม (Jerusalem) ไป แต่ก็ให้เสรีภาพแก่ผู้แสวงบุญชาวคริสต์ที่จะเดินทางไปยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์ แต่ในศตวรรษที่ 11 เซลจุคเติร์กเข้ายึดครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์และขัดขวางการเดินทางแสวงบุญของชาวคริสต์ รวมทั้งได้รับแรงบันดาลใจจากการต่อสู้เพื่อขับไล่ชาวมุสลิมในสเปน ประกอบกับการร้องขอจากจักรพรรดิอเล็กซิอุสที่ 1 แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ ให้มาช่วยรบพวกเติร์ก พระสันตะปาปาเออร์บันที่ 1 จึงประชุมสภาคลีมองต์ (Council of Clermont) ประกาศว่าทุกคนที่ไปช่วยยึดดินแดนศักดิ์สิทธิคืนจะได้รับการไถ่บาป (indulgence) ทำให้ทั้งขุนนางและชาวบ้านยกพลกันไปดินแดนศักดิ์สิทธิ์ จนยึดดินแดนเยรูซาเล็มได้ในค.ศ. 1099 ตั้งอาณาจักรครูเสดต่างๆ เช่น ราชอาณาจักรเยรูซาเล็ม อัศวินคณะต่างๆ เช่น อัศวินเทมพลาร์ (Knights Templar) หรืออัศวินฮอสพิทัลเลอร์ (Hospitallers) ทำสงครามกับพวกเติร์ก

แต่รัฐครูเสดเหล่านี้อยู่ได้ร้อยกว่าปีก็เสียให้ชาวมุสลิมไปในที่สุด โดยเฉพาะสุลต่านซาลาดิน แห่งไคโร ยึดกรุงเยรูซาเล็มคืนในค.ศ. 1291 ชาวยุโรปจึงถูกขับออกจากตะวันออกกลางไปในที่สุด สงครามครูเสดครั้งต่อๆมา เปลี่ยนเป้าหมายไปอย่างสิ้นเชิง ในค.ศ. 1204 สงครามครูเสดครั้งที่ 4 ลงเอยด้วยการยึดจักรวรรดิไบแซนไทน์ ตั้งจักรวรรดิลาติน (Latin Empire) และรัฐครูเสดต่างๆในกรีซ หรือสงครามครูเสดตอนเหนือโดยอัศวินทิวทัน (Teutonic Knights) ปราบปรามชาวบอลติกอย่างโหดร้ายให้มาเข้ารีตศาสนาคริสต์

ฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 13 พระเจ้าฟิลิปที่ 2 ออกุสตุส ปราบปรามและยึดที่ดินจากขุนนางต่างๆขยายอำนาจของกษัตริย์ฝรั่งเศสจนกลายเป็นมหาอำนาจของสมัยกลาง ขณะที่จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรพรรดิทรงมุ่งจะกู้เมืองต่างๆในอิตาลีที่เป็นอิสระและสนับสนุนพระสันตะปาปา ทรงให้อำนาจขุนนางในเยอรมนี ทำให้เยอรมนีแตกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อยมากมาย

งูเหลือมพม่า

งูเหลือมพม่า (อังกฤษ: Reticulated Python, Burmese Python, ชื่อวิทยาศาสตร์: Python reticulatus) หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า งูเหลือม ในภาษาไทย จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นงูขนาดใหญ่ ลำตัวยาวเฉลี่ยประมาณ 1-5 เมตร จัดเป็นงูที่ยาวและใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในสกุล Python

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ลักษณะทั่วไป
2 พฤติกรรม
3 การกระจายพันธุ์
4 อ้างอิง


[แก้] ลักษณะทั่วไป
ปากมีขนาดใหญ่และฟันแหลมคม ขากรรไกรแข็งแรงมากและสามารถถอดขากรรไกรในการกลืนเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ได้[2] เกล็ดบริเวณลำตัวตั้งแต่ปลายหัวจรดปลายหางมีสีเหลืองหรือสีเหลืองปนน้ำตาล พื้นของตัวสีน้ำตาลแดง มีลายแบ่งเป็นวงมีหลายสี ที่บริเวณส่วนหัวมีเส้นสีดำขนาดเล็กเรียวยาว เรียกว่า "ศรดำ" จนเกือบถึงปลายปาก หัวเด่นแยกออกจากคออย่างชัดเจน ปลายหางยาวแหลม เกล็ดเรียบเรียงเป็นแถวได้ระหว่าง 69 ถึง 74 แถวที่บริเวณกลางลำตัว เกล็ดทวารเป็นแผ่นเดี่ยว มีเดือยสั้น 1 คู่โผล่ออกมา มีอวัยวะรับความร้อนที่เรียกว่า "Pits" ที่ขอบปากบนและล่าง ใต้ท้องสีขาว มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวคือ มีเกล็ดสีดำเรียงตัวกันเป็นแถวซิกแซกเป็นวงค่อนข้างมีระเบียบ ภายในเกล็ดสีดำมีเกล็ดสีเหลืองเป็นขอบในและมีเกล็ดสีเหลืองบนเทาอยู่ภายใน เกล็ดบริเวณใต้ท้องมีสีครีมหรือเหลืองอ่อน

[แก้] พฤติกรรม
จัดในอยู่ประเภทงูไม่มีพิษ เลื้อยช้า ๆ และอาจดุตามสัญชาติญาณเมื่อมีศัตรู ออกหากินกลางคืน หากินทั้งบนบกและในน้ำ อาศัยนอนตามโพรงดินโพรงไม้ในที่มืดและเย็น หลาย ๆ วันจึงจะออกหากินครั้งหนึ่ง งูเหลือมกินสัตว์แทบทุกชนิดโดยมักดักซุ่มรอเหยื่อบนต้นไม้ เมื่อได้จังหวะจะทิ้งตัวลงมารัดเหยื่อยจนขาดอากาศหายใจ มีสีและลายกลืนไปกับธรรมชาติ สืบพันธุ์คล้ายงูหลาม (P. molurus) แต่มีระยะฟักไข่ 3 เดือน ลูกงูที่ออกจากไข่มีความยาวประมาณ 55 เซนติเมตร กินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น นกหรือหนู หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางเช่น เก้ง, สุนัข, กระต่าย, หนู, ไก่, เป็ด, นก จึงมักมีรายงานอยู่เสมอ ๆ ว่าเข้าไปแอบกินสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ในเวลากลางคืน บางครั้งมีรายงานว่าทำร้ายมนุษย์ได้ด้วย[3] (งูเหลือมพม่าที่ถูกนำเข้าไปในสหรัฐอเมริกามีรายงานกินจระเข้ไปทั้งตัวจนท้องแตกตาย)[4] อาศัยอยู่ได้ในป่าทุกประเภท ชอบอาศัยในที่ชื้น ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค ปัจจุบันถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[5] และถือเป็นงูในสกุล Python ชนิดหนึ่งที่พบได้ 3 ชนิด ในประเทศ

[แก้] การกระจายพันธุ์
พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่หมู่เกาะนิโคบาร์ , พม่า, ไทย, ลาวและกัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว , เกาะสุลาเวสี, เกาะชวา, เกาะลูซอน และหลายหมู่เกาะในหมู่เกาะฟิลิปปินส์

ปัจจุบันถือเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นของสหรัฐอเมริกา โดยมีการพบในอุทยานแห่งชาติเอเวอร์เกลดส์[6] เชื่อว่าถูกนำเข้ามาจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน ได้รับความนิยมอย่างมากโดยเฉพาะในตัวที่สีและลวดลายแปลกไปจากทั่วไปหรือสีกลายเป็นสีเผือกซึ่งมีราคาขายที่แพงมาก ซึ่งงูเหลือมพม่าเมื่อเทียบนิสัยกับงูหลามหรืองูเหลือมชนิดอื่น ๆ แล้ว ดุร้ายกว่ามาก เลี้ยงให้เชื่องได้ยาก

[แก้] อ้างอิง
^ McDiarmid RW, Campbell JA, Touré T. 1999. Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, vol. 1. Herpetologists' League. 511 pp. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume).
^ ลักษณะของงูเหลือม
^ งูเหลือมพม่าหลุดจากที่ขังรัดเด็ก2ขวบตายคาห้องนอน จากคมชัดลึก
^ งูเหลือมพม่าในอุทยานแห่งชาติ Everglades
^ สถานะปัจจุบันของงูเหลือม
^ งูเหลือมพม่าในอุทยานแห่งชาติ Everglades
[ซ่อน]ด • พ • กงูในประเทศไทย

งูไม่มีพิษ งูดินลายขีด • งูดินหัวเหลือง • งูดินหัวขาว • งูดินธรรมดา • งูดินโคราช • งูดินเมืองตรัง • งูดินใหญ่ • งูก้นขบ • งูแสงอาทิตย์ • งูหลาม • งูเหลือม • งูหลามปากเป็ด • งูงวงช้าง • งูผ้าขี้ริ้ว • งูพงอ้อเล็ก • งูพงอ้อหัวขาว • งูพงอ้อหลากหลาย • งูพงอ้อท้องเหลือง • งูขอนไม้ • งูกินทากลายขวั้น • งูกินทากเกล็ดสัน • งูกินทากสีน้ำตาล • งูกินทากมลายู • งูกินทากจุดดำ • งูกินทากจุดขาว • งูกินทากหัวโหนก • งูลายสาบตาโต • งูรังแหหลังศร • งูรังแหหัวแดง • งูหัวศร • งูคอขวั้นปลายหัวดำ • งูคอขวั้นหัวลายสามเหลี่ยม • งูคอขวั้นหัวดำ • งูปล้องฉนวนบ้าน • งูปล้องฉนวนลายเหลือง • งูปล้องฉนวนสร้อยเหลือง • งูปล้องฉนวนเมืองเหนือ • งูปล้องฉนวนสีน้ำตาล • งูปล้องฉนวนภูเขา • งูสายทองลายแถบ • งูสายทองคอแหวน • งูสายทองมลายู • งูปล้องฉนวนบอร์เนียว • งูปล้องฉนวนธรรมดา • งูปล้องฉนวนมลายู • งูปี่แก้วลายกระ • งูปี่แก้วสีจาง • งูปี่แก้วหลังจุดวงแหวน • งูปี่แก้วธรรมดา • งูคุด • งูงอดเขมร • งูปี่แก้วหัวลายหัวใจ • งูงอด • งูปี่แก้วใหญ่ • งูปี่แก้วภูหลวง

งูมีพิษอ่อน งูเขียวกาบหมาก • งูกาบหมากหางนิล • งูทางมะพร้าวธรรมดา • งูทางมะพร้าวแดง • งูทางมะพร้าวดำ • งูสิงธรรมดา • งูสิงหางลาย • งูสิงหางดำ • งูสิงทอง • งูสายม่านแดงหลังลาย • งูสายม่านเกล็ดใต้ตาใหญ่ • งูสายม่านหลังทอง • งูสายม่านคอขีด • งูสายม่านพระอินทร์ • งูสายม่านลายเฉียง • งูควนขนุน • งูดงคาทอง • งูแม่ตะงาวรังนก • งูเขียวดง • งูเขียวดงลาย • งูปล้องทอง • งูต้องไฟ • งูแส้หางม้า • งูแส้หางม้าเทา • งูกระ • งูเขียวหัวจิ้งจก • งูเขียวหัวจิ้งจกมลายู • งูเขียวปากแหนบ • งูสายน้ำผึ้ง • งูหมอก • งูม่านทอง • งูเขียวดอกหมาก • งูเขียวพระอินทร์ • งูดอกหมาก • งูลายสอเกล็ดใต้ตาสอง • งูลายสอลายสามเหลี่ยม • งูลายสาบท้องสามขีด • งูลายสาบท่าสาร • งูลายสาบมลายู • งูลายสาบดอกหญ้า • งูลายสอใหญ่ • งูลายสอธรรมดา • งูลายสาบคอแดง • งูลายสาบจุดดำขาว • งูลายสาบเขียวขวั้นดำ • งูลายสอลาวเหนือ • งูลายสอสองสี • งูลายสอหมอบุญส่ง • งูปลิง • งูไซ • งูสายรุ้ง • งูสายรุ้งดำ • งูสายรุ้งลาย • งูหัวกะโหลก • งูปากกว้างน้ำเค็ม • งูเปี้ยว • งูปลาตาแมว • งูกระด้าง • งูปลาหลังม่วง • งูปลาหลังเทา

งูมีพิษร้ายแรง งูสามเหลี่ยม • งูทับสมิงคลา • งูสามเหลี่ยมหัวหางแดง • งูเห่า • งูเห่าพ่นพิษสยาม • งูเห่าพ่นพิษสีทอง • งูจงอาง • งูพริกท้องแดง • งูพริกสีน้ำตาล • งูปล้องหวายหัวดำ • งูปล้องหวายหัวเทา • งูปล้องหวายลายขวั้นดำ • งูสมิงทะเลปากเหลือง • งูสมิงทะเลปากดำ • งูชายธงลายข้าวหลามตัด • งูทากลาย • งูกระรังหัวโต • งูชายธงท้องขาว • งูคออ่อนหัวโต • งูทากลายท้องขาว • งูเสมียนรังหัวสั้น • งูคออ่อนหัวเข็ม • งูชายธงหลังดำ • งูอ้ายงั่ว • งูแสมรังเหลืองลายคราม • งูแสมรังหางขาว • งูแสมรังลายเยื้อง • งูฝักมะรุม • งูแสมรังเทา • งูแสมรังปล้องหัวเล็ก • งูแสมรังท้องเหลือง • งูแสมรังหัวเข็ม • งูแสมรังลายวงแหวน • งูทะเลอ่าวเปอร์เซีย • งูทะเลจุดขาว • งูแมวเซา • งูกะปะ • งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง • งูเขียวหางไหม้ตาโต • งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว • งูเขียวไผ่ • งูเขียวหางไหม้ลายเสือ • งูหางแฮ่มกาญจน์ • งูแก้วหางแดง • งูเขียวหางไหม้สุมาตรา • งูปาล์ม • งูเขียวตุ๊กแก • งูหางแฮ่มภูเขา

งานกระจกสี

งานกระจกสี (อังกฤษ: Stained glass) คำว่า งานกระจกสี หมายถึงงานที่ใช้กระจกสีตกแต่งหรืองานการทำกระจกสี ซึ่งไม่แต่เฉพาะแต่หน้าต่างเท่านั้น ยังรวมถึงศิลปะอื่นๆ ที่ใช้กระจกสีตกแต่งด้วยเช่น บานกระจกที่ทำเพื่อการตกแต่งโดยเฉพาะ หรือโคมตะเกียงเป็นต้น ตลอดระยะพันปีการตกแต่งด้วยกระจกสีจะหมายถึงหน้าต่างประดับกระจกสีของวัด หรือ มหาวิหารทางคริสต์ศาสนา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ การตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยเดิมจะแต่งบนแผงแบนสำหรับใช้ทำหน้าต่าง แต่วิธีการตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยปัจจุบันจะรวมไปถึงโครงสร้างกระจกสีแบบสามมิติและงานแกะสลักกระจกสีด้วย และจะรวมไปถึงบานกระจกสีสำหรับที่อยู่อาศัยที่เรียกกันว่า “leadlight” ด้วย หรืองานศิลปะที่ทำจากกระจกสีและเชื่อมต่อกันด้วยตะกั่วอย่างเช่น โคมกระจกสีที่มีชื่อเสียงที่ทำโดย หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany)

เมื่อพูดถึงวัสดุคำว่า “กระจกสี” โดยทั่วไปจะหมายถึงแก้วที่ทำให้เป็นสีโดยการเติม Metallic salts ระหว่างการผลิต ช่างจะใช้กระจกสีในการสร้าง “หน้าต่างประดับกระจกสี” โดยการเอากระจกสีชิ้นเล็กๆ มาจัดให้เป็นลวดลายหรือภาพภายในกรอบโดยเชื่อมชิ้นกระจกด้วยกันด้วยเส้นตะกั่ว เมื่อเสร็จแล้วก็อาจจะทาสีและย้อมสีเหลืองตกแต่งอีกเล็กน้อยเพื่อให้ลวดลายเด่นขึ้น นอกจากนั้นคำว่า “กระจกย้อมสี” (Stained glass) จะหมายถึงหน้าต่างกระจกที่วาดทาสีเสร็จแล้วเผาในเตาหลอมก่อนที่จะทิ้งไว้ให้เย็น

“งานกระจกสี” เป็นงานฝีมือที่ศิลปินต้องมีพรสวรรค์ทางศิลปะเพื่อที่จะออกแบบได้ และต้องมีความรู้ทางวิศวกรรมเพี่อที่สามารถประกอบบานกระจกที่ทำใว้ให้แน่นหนาภายในกรอบสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะกระจกบานใหญ่ๆ ที่จะต้องรับน้ำหนักของตัวบานกระจกเองและสามารถทนทานต่อสภาวะอากาศภายนอกได้ หน้าต่างบานใหญ่เหล่านี้ยังอยู่รอดมาให้เราชมบ้างตั้งแต่สมัยยุคกลางโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในยุโรปตะวันตกหน้าต่างประดับกระจกสีเป็นจักษุศิลป์ชนิดเดียวที่เหลือมาตั้งแต่ยุคกลาง จุดประสงค์ของหน้าต่างประดับกระจกสีมิใช่ให้ผู้ดูมองออกไปดูโลกภายนอกหรือให้แสงส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างแต่จะควบคุมผู้อยู่ภายใน จากเหตุผลนี้หน้าต่างประดับกระจกสีจึงอาจจะเรียกได่ว่าเป็น “การตกแต่งผนังส่องแสง” (“illuminated wall decorations”) มากกว่าจะเป็นหน้าต่างอย่างตามความหมายทั่วไปของหน้าต่างที่ใช้มองออกสู่ภายนอก

การออกแบบหน้าต่างวัดอาจจะเป็นได้ทั้งอุปมาอุปไมยหรือไม่ก็ได้ หน้าต่างอาจจะเป็นตำนานจากคัมภีร์ไบเบิล ประวัติศาสตร์ หรือ วรรณคดี หรือ ชีวิตของนักบุญ หรือผู้อุปการะวัด หรืออาจจะเป็นลวดลายสัญญลักษณ์ เช่นตราประจำตระกูล การตกแต่งภายในสิ่งก่อสร้างหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวในหัวข้อเดียวกันเช่นถ้าเป็นวัดก็อาจจะเป็นเรื่องราวชีวประวัติของพระเยซู หรือนักบุญ หรือผู้สร้างวัด ถ้าเป็นภายในวิทยาลัยกระจกอาจจะมีสัญลักษณ์สำหรับศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ หรือภายในบ้านอาจจะเป็นลวดลายแบบใดแบบหนึ่งที่เจ้าของเลือก

เนื้อหา [ซ่อน]
1 การสร้างและการประกอบ
1.1 การทำสีกระจก
1.2 การทำแก้วชนิดต่างๆ
1.3 การผลิตกระจกสีในสมัยปัจจุบัน
2 ขั้นตอนในการทำหน้าต่างประดับกระจกสี
3 ประวัติงานกระจกสี
3.1 งานกระจกสีก่อนยุคกลาง
3.2 งานกระจกสียุคกลาง
3.3 การทำลายและการสร้างใหม่
3.4 ยุคศิลปะฟื้นฟู
3.5 คริสต์ศตวรรษที่ 20
3.6 สิ่ก่อสร้างที่ประกอบด้วยหน้าต่างประดับกระจกสี
4 อ้างอิง
5 ดูเพิ่ม
6 แหล่งข้อมูลอื่น
7 สมุดภาพงานประดับกระจกสี


[แก้] การสร้างและการประกอบ
[แก้] การทำสีกระจก
จากคริสต์ศตวรรษที่ 10 หรือ 11 เมื่อศิลปะการประดับกระจกสีเริ่มรุ่งเรืองก็เริ่มมีโรงงานผลิตกระจกขึ้นตามแหล่งที่มีทรายแก้ว (Silica) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำกระจก แก้วทำเป็นสีโดยการเติม metallic oxide ในขณะที่แก้วในเบ้าที่ทำด้วยดินเหนียวยังเหลวอยู่ แก้วสีที่ทำโดยวิธีนี้จึงเรียกว่า “แก้วเบ้าโลหะ” (pot metal) ถ้าจะให้แก้วออกสีเขียวก็เติมออกไซด์ทองแดง ให้ได้สีน้ำเงินก็เติมโคบอลต์ และให้ได้สีแดงก็เติมทอง ในปัจจุบันสีเขียวและน้ำเงินใช้วิธีทำคล้ายกัน สีแดงก็ทำจากส่วนผสมสมัยใหม่ ทองจะใช้ทำเฉพาะสีแดงออกไปทางชมภูกว่าสมัยโบราณ

[แก้] การทำแก้วชนิดต่างๆ
“แก้วหลอด” (Cylinder glass) แก้วหลอดทำจากแก้วเหลวที่ทำเป็นลูกกลมๆ แล้วเป่าจนกระทั่งเป็นหลอดกลวงเหมือนขวด เรียบและหนาเท่ากัน พอได้ที่ก็ตัดออกจากท่อเป่า แผ่ออกไปให้แบน แล้วรอให้เย็นลงเพื่อความทนทาน แก้วชนิดนี้เป็นแก้วชนิดที่ใช้ประดับหน้าต่างกระจกสีที่เราเห็นกันทุกวันนี้

“แก้วมงกุฏ” (Crown glass) แก้วชนิดนี้จะเป่าเป็นทรงถ้วยแล้ววางบนโต๊ะหมุนที่สามารถหมุนได้เร็ว แรงเหวี่ยงของการหมุนทำให้แก้วแผ่ยืดออกไป จากนั้นก็เอาตัดเป็นแผ่นเล็กๆ ได้ แก้วชนิดนี้ใช้ในการประดับหน้าต่างกระจกสี แต่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้แต่งกรอบเล็กๆภายในหน้าต่างของที่อยู่อาศัยในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ลักษณะของกระจกแบบนี้จะเป็นระลอกจากศูนย์กลาง เพราะตรงกลางกระจกจะได้แรงเหวี่ยงน้อยที่สุดทำให้หนากว่าส่วนอื่น ชิ้นกลางนี้จะใช้สำหรับสเปชเชียลเอฟเฟกต์เพราะความขรุขระของพื้นผิวทำให้สะท้อนแสงได้มากกว่าชิ้นอื่น กระจกชิ้นนี้เรียกว่า “กระจกตาวัว” [1] (bull's eye) มักจะใช้กันสำหรับที่อยู่อาศัยในศตวรรษที่ 19 และบางครั้งก็จะใช้ในวัดด้วย

“แก้วโต๊ะ” (Table glass) ผลิตโดยการเทแก้วเหลวลงบนโต๊ะโลหะแล้วกลึงด้วยท่อนโลหะที่เป็นลวดลาย ลายจากท่อนโลหะก็จะฝังบนผิวกระจก แก้วแบบนี้จึงมีแบบมีผิว ( texture) หนักเพราะการที่แก้วมีปฏิกิริยาต่อโลหะเย็น แก้วชนิดนี้เป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบันภายในสิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช่สิ่งก่อสร้างทางศาสนาในชื่อที่เรียกกันว่า “cathedral glass” ถึงแม้จะไม่ใช่แก้วที่ใช้ในการสร้างมหาวิหารในสมัยโบราณแต่มาใช้กันมากในการสร้างวัดในศตวรรษที่ 20

“แก้วเคลือบ” (Flashed glass) แก้วสีแดงที่ทำจากเบ้าโลหะที่กล่าวข้างต้นสีแดงมักจะออกมาไม่ได้อย่างที่ต้องการจะออกไปทางดำ และราคาการผลิตก็สูงมาก วิธีใหม่ที่ใช้ทำสีแดงเรียกว่า “flashing” ทำโดยเอา “แก้วหลอด” ใสที่ไม่มีสีที่กึ่งเหลวจุ่มลงไปใหนเบ้าแก้วแดงแล้วยกขึ้น แก้วแดงก็จะเกาะบนผิวแก้วใสที่ไม่มีสีบางๆ พอเสร็จก็ตัดออกจากที่เป่า แล้วแผ่ให้แบนและปล่อยไว้ให้เย็น

วิธีการเคลือบนี้มีประโยชน์หลายอย่างเพราะทำให้สามารถทำสีแดงได้หลายโทนตั้งแต่แดงคล้ำจนเกือบใส แต่ส่วนใหญ่จะใช้สีแดงทับทิมจนถึงสีแดงจางหรือแดงเป็นริ้วในการทำขอบบางๆ ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งคือเมื่อแก้วสีแดงเป็นสองชั้นก็สามารถสกัดผิวสีแดงออกเพื่อให้แสงส่องผ่านส่วนที่ใสที่อยู่ภายใต้ได้ เมื่อปลายสมัยปลายยุคกลางวิธีนี้ใช้ในการตกแต่งลวดลายที่วิจิตรของเสื้อคลุมของนักบุญ ประโยชน์อย่างที่สามซึ่งใช้กันมากในบรรดาศิลปินเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 โดยแผ่นกระจกจะสะท้อนออกมาเป็นสีที่ไม่เสมอกันจึงเหมาะแก่การการตกแต่งเสื้อคลุมหรือม่าน

[แก้] การผลิตกระจกสีในสมัยปัจจุบัน
ปัจจุบันยังมีโรงงานที่ผลิตกระจกสีโดยเฉพาะที่ ประเทศเยอรมนี, สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, ประเทศฝรั่งเศส และ ประเทศโปแลนด์ ที่ยังผลิตกระจกสีลักษณะแบบดั้งเดิมโดยใช้วิธีการทำแบบสมัยโบราณ กระจกสีที่ผลิตโดยวิธีนี้ส่วนใหญ่จะใช้ในงานปฏิสังขรณ์หน้าต่างกระจกสีที่สร้างก่อนปีค.ศ. 1920 หน้าต่างกระจกสีสมัยใหม่ และงานหัตถกรรม หลังจากนั้นมักจะใช้แก้วหลายแบบโดยเฉพาะสมัยวิคตอเรีย

[แก้] ขั้นตอนในการทำหน้าต่างประดับกระจกสี
หน้าต่างจากคริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่ มหาวิหารแคนเตอร์บรี ที่เพิ่งซ่อมด้วยกระจกจากต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 แสดงรายละเอียดของกรอบโลหะที่พยุงกรอบหน้าต่าง
รายละเอียดหน้าต่างเดียวกันจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 แสดงให้เห็นทอมัส เบ็คเค็ท (Thomas Becket)
หน้าต่างจากมหาวิหารแคนเตอร์บรีแสดงให้เห็น เบ้าโลหะ แก้วสี ชิ้นตะกั่วรูป H ท่อนเหล็กกล้าสมัยใหม่ และ ลวดทองแดงที่ใช้ผูก
หน้าต่างกระจกจากค. ศ. 1564 แสดงให้เห็นรายละเอียดการวาดรูปโดยใช้วิธีย้อมสีเงิน ย้อมแบบ “Cousin's rose” บนใบหน้า และการใช้สกัดสีแดงให้เห็นสีใสภายใต้
การวางหน้าต่างเป็นเรื่องเป็นราวเช่น บานกระจก ที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ด


ขั้นแรกผู้สร้างจะต้องมีแม่แบบหน้าต่างที่ออกแบบโดยสถาปนิก แม่แบบจะต้องพอเหมาะพอดีกับหน้าต่างที่เมื่อประกอบกระจกเสร็จจะกลับไปประกอบบนตัวหน้าต่างได้สนิท
หัวเรื่องที่จะทำก็ต้องให้เหมาะกับที่ตั้งหรือตำแหน่งของหน้าต่างภายในสิ่งก่อสร้าง เช่นหน้าต่างทางด้านตะวันตกจะเป็นหน้าต่างที่สำคัญที่สุดเพราะอยู่หน้าวัด หรือหน้าต่างอาจจะเพิ่มความสำคัญจากด้านตะวันตกไปตะวันออกซึ่งเป็นที่ตั้งแท่นบูชาเอกเป็นต้น หรือความสัมพันธ์กับหน้าต่างอื่นๆ ภายในสถานที่ก่อสร้างเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นทางเนื้อหาหรือรูปทรง ช่างจะวาดแบบคร่าวๆ ที่เรียกว่า “Vidimus” ให้ผู้ประสงค์จะสร้างดูเป็นตัวอย่างก่อนที่จะลงมือทำจริงๆ
แต่เดิมหน้าต่างที่เป็นเรื่องราวเป็นราวจะแบ่งเป็นบานหรือแผ่นเล็กๆ ที่เป็นเรื่องราวต่อเนื่องกัน หน้าต่างที่เป็นรูปคนก็จะเป็นรูปนักบุญหรือคนสำคัญยืนเป็นแถวมีสัญลักษณ์ประจำตัวประกอบเช่นกระจกรูปนักบุญแม็ทธิวอีแวนเจลลิสก็จะมีรูปเทวดาซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของนักบุญแม็ทธิวอยู่ข้างๆ บางครั้งบานกระจกก็จะมีคำบรรยายใต้ภาพ หรือชื่อขององค์การหรือผู้ที่อุทิศให้ หรือชื่อของผู้อุทิศทรัพย์ให้สร้าง ในการทำหน้าต่างแบบโบราณ การตกแต่งเนื้อที่นอกจากบริเวณที่กล่าวแล้ว เช่นกรอบรอบเรื่องราวหรือหุ่น หรือซุ้มเหนือหุ่น หรือรายละเอียดอื่นๆ ก็จะขึ้นอยู่กับศิลปิน
จากนั้นช่างก็จะร่างภาพขนาดเท่าของจริงของทุกส่วนของหน้าต่าง ความซับซ้อนของภาพร่างก็จะขึ้นอยู่กับลวดลายของหน้าต่าง ถ้าเป็นหน้าต่างวัดเล็กๆ หน้าต่างหนึ่งก็อาจจะมีเพียงสองสามช่องแต่ถ้าเป็นหน้าต่างมหาวิหารก็อาจจะมีถึงเจ็ดช่องและซ้อนกันสามชั้นหรือมากกว่า และลวดลายหน้าต่างก็จะมีมากกว่าวัดเล็ก ในสมัยยุคกลางภาพร่างนี้จะวาดโดยตรงลงบนโต๊ะที่ฉาบปูนบางๆเอาไว้ ซึ่งใช้ในการตัด ทาสี และประกอบ
เวลาออกแบบช่างออกแบบต้องคำนึงถึงโครงสร้างของหน้าต่าง ลักษณะและขนาดของกระจก และวิธีทำของตนเอง ภาพร่างแบ่งเป็นส่วนๆสำหรับกระจกแต่ละชิ้น ช่างออกแบบจะวางตำแหน่งชิ้นตะกั่วที่ใช้เชื่อมแก้วแต่ละชิ้นเข้าด้วยกันเพื่อให้ผลออกมาดีที่สุด
ตัดแก้วตามขนาดที่บ่งไว้ในร่าง ช่างก็จะเลือกสีที่ต้องการ การตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการหรือใกล้เคียงแล้วเจียรขอบทีละนิดด้วยเครื่องมือจนได้ขนาดที่ต้องการ
รายละเอียดหน้า ผม และมือจะใช้วิธีวาดและทาสีใต้ผิวกระจกโดยใช้สีที่มีส่วนผสมพิเศษเช่นผงตะกั่วหรือผงทองแดง ผงแก้วละเอียด gum arabic กับส่วนผสมอื่นที่อาจจะเป็น เหล้าองุ่น น้ำส้มสายชู หรือปัสสาวะ ศิลปะการวาดและทาสีเพิ่มความสลับซับซ้อนขึ้นมากเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
เมื่อได้ชิ้นกระจกตามขนาดที่ต้องการและส่วนที่ต้องวาดแล้วก็ถึงเวลาประกอบเข้าด้วยกันโดยใส่ลงในช่องระหว่างชิ้นตะกั่วรูป “H” แล้วจึงเชื่อมเข้าด้วยกัน จากนั้นก็อัดด้วยซีเมนต์ที่นิ่มเป็นน้ำมัน หรือ “กาว” ระหว่างตะกั่วกับชิ้นแก้วเพื่อให้ยึดชิ้นแก้วให้แน่นไม่ให้เคลื่อนไหวได้
เมื่อประดับแต่ละส่วนเสร็จก็นำเข้ากรอบ ตามปกติแล้วเวลาประกอบหน้าต่างในกรอบ ช่างก็จะใส่ท่อนเหล็กเป็นระยะๆ แล้วผูกบานกระจกกับท่อนเหล็กที่วางไว้ด้วยลวดทองแดง เพื่อจะรับน้ำหนักหน้าต่างได้ หน้าต่างแบบกอธิคจะแบ่งเป็นช่องๆ ด้วยกรอบโลหะที่เรียกว่า “ferramenta” วิธีเดียวกันนี้นำมาใช้ในการประกอบหน้าต่างประดับกระจกสีขนาดใหญ่ในสมัยบาโรกด้วย
ตั้งแต่ปี ค. ศ. 1300 เป็นต้นมาก็เริ่มมีการใช้การย้อมสีเงิน (silver stain) ซึ่งทำจาก ซิลเวอร์ไนเตรท ทำให้ได้ตั้งแต่สีเหลืองมะนาวอ่อนไปจนถึงสีส้มแก่ การย้อมก็ทำโดยการทาบนผิวกระจกและเผาเพื่อให้ติดเนื้อกระจกและไม่ให้หลุด สีเหลืองนี้มีประโยชน์ในการทำขอบรูป ซุ้มในรูปหรือรัศมีหรือเปลี่ยนกระจกสีน้ำเงินให้เป็นเขียวเพื่อใช้ในการทำส่วนที่เป็นสนามหญ้าในรูป
ประมาณปี ค. ศ. 1450 ก็มีเริ่มมีการเย้อมแบบที่เรียกว่า “Cousin's rose” ซึ่งทำให้สีผิวหนังสดขึ้น
ราวปี ค. ศ. 1500 มีการย้อมแบบใหม่หลายวิธี ส่วนใหญ่ใช้ผงแก้วสีป่นเป็น enamel ตอนแรกวิธีนี้จะใช้ในการทำตราประจำตระกูลหรือตราประจำตัว หรือรายละเอียดเล็กๆ แต่พอมาถึงราวปี ค. ศ. 1600 การตัดกระจกเป็นชิ้นๆ ก็วิวัฒนาการขึ้นมาก แทนที่จะตัดกระจกเป็นชิ้นเล็กๆ ช่างก็จะวาดรูปลงบนแผ่นกระจกคล้ายแผ่นกระเบื้องแล้วเผาให้สีติดกระจกแล้วจึงเอาไปประกอบในกรอบโลหะ
การทำหน้าต่างประดับกระจกสีสมัยใหม่จะใช้ทองแดงแทนตะกั่ว
[แก้] ประวัติงานกระจกสี
[แก้] งานกระจกสีก่อนยุคกลาง
แก้วน้ำหอมจากประมาณ 100 ก่อนคริสตกาลถึงค.ศ. 200
แจกันพอร์ตแลนด์ที่มีขลิบขาว
Stpetersbasilicaholyspiritwindow.jpgหน้าต่างแผ่นหินอาลาบาสเตอร์จากมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ โรมคริสต์ศตวรรษที่ 16th
หน้าต่างประดับกระจกสีจากสุเหร่า Nasir al-Mulk mosque) ที่ชิราส (Shiraz) ประเทศอิหร่าน


การทำกระจกสีทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณทั้งที่ ประเทศอียิปต์ และ โรมันซึ่งผลิตสิ่งของทำด้วยแก้วที่ชิ้นไม่ใหญ่นัก บริติชมิวเซียม มีกระจกสำคัญจากสมัยโรมันสองชิ้นๆ หนึ่งเรียกว่าถ้วย “Lycurgus” ซึ่งเป็นสีเหลืองมัสตาร์ดขุ่นๆ แต่จะออกสีม่วงแดงเมื่อถูกแสง และ แจกันพอร์ตแลนด์ (Portland vase) ซึ่งเป็นสีน้ำเงินดำและมีสลักขาวบนผิวแก้ว

ในวัดคริสต์ศาสนาสมัยแรกๆ จากคริสต์ศตวรรษที่ 4 และ 5 มีหน้าต่างที่ใช้ตกแต่งด้วยแผ่นหินปูนอาลาบาสเตอร์ (alabaster) บางๆบนกรอบไม้ ลักษณะจะคล้ายกระจกที่มีแบบหน้าต่างประดับกระจกสี แต่ที่คล้ายคลึงกับการทำหน้าต่างประดับกระจกสีมากกว่าคือหน้าต่างที่ทำจากหินและใช้แก้วสีของศิลปะอิสลาม จาก เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 นักเคมีชาวอาหรับชื่อ Jabir ibn Hayyan หรือ เจเบอร์ (Geber) บรรยายสูตรการทำกระจกสีไว้ 46 สูตรในหนังสือชื่อ “หนังสือเกี่ยวกับมุกมีค่า” (“Kitab al-Durra al-Maknuna” หรือ “The Book of the Hidden Pearl”) หนังสือฉบับต่อมาเพิ่มอีก 12 สูตรโดย al-Marrakishi จาเบียร์บรรยายถึงวิธีผลิตกระจกสีคุณภาพดีพอที่จะตัดเป็นอัญมณีได้[1]

[แก้] งานกระจกสียุคกลาง
“แดเนียล” ที่มหาวิหารออกสเบิร์ก (Augsburg Cathedral) ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12
หน้าต่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่มหาวิหารชาร์ทร
หน้าต่าง “พระคัมภีร์คนยาก” ที่ มหาวิหารแคนเตอร์บรี, 13th c.
หน้าต่างกุหลาบคริสต์ศตวรรษที่ 15 ที่แซนท์ชาเปล
หน้าต่างที่แบ่งเป็นช่องๆ ด้วยลวดลายซึ่งช่วยทำให้การทำหน้าประดับกระจกสีง่ายขึ้น ที่มหาวิหารคอนแสตนซ์ (Cathedral of Konstanz)


งานกระจกสีกลายมาเป็นศิลปะเต็มตัวและรุ่งเรืองที่สุดในยุคกลางเมื่อมาใช้เป็นทัศนศิลป์เพื่อเล่าเรื่องจากพระคัมภีร์ไบเบิลสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ที่อ่านหนังสือไม่ออก

ตั้งแต่ประมาณ 950 ก่อนคริสต์ศตวรรษ จนถึงสมัยโรมาเนสก์และสมัยกอธิคยุคแรก ประมาณปี ค. ศ. 1240 หน้าต่างยังมิได้แบ่งเป็นช่องๆ เมื่อสร้างกระจกก็ต้องสร้างทั้งบานในกรอบเหล็กจึงทำให้ต้องประกอบไม่มีส่วนใดของหน้าต่างที่ช่วยแบ่งแรงกดดัน เช่นที่มหาวิหารชาร์ทร (Chartres Cathedral) หรือทางตะวันออกของมหาวิหารแคนเตอร์บรี เมื่อสถาปัตยกรรมกอธิควิวัฒนาการขึ้นหน้าต่างก็กว้างมาขึ้นทำให้มีแสงส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างมากขึ้น เมื่อหน้าต่างกว้างขึ้นก็มีการแบ่งเป็นช่องๆ ด้วยแกนหิน[2] (Stone tracery) เมื่อมีแกนหินแบ่งทำให้ช่องตกแต่งภายในหน้าต่างหนึ่งๆ เล็กลงทำให้การทำหน้าต่างมีความซับซ้อนได้มากขึ้นตามลำดับ และขนาดของบานหน้าต่างทั้งบานก็ใหญ่ขึ้นไปอีกจนมาเจริญเต็มที่ในสมัยที่เรียกว่ากอธิควิจิตร (Flamboyant gothic) ซึ่งมีอิทธิพลมาจากสมัยกอธิคเพอร์เพนดิคิวลาร์ (Perpendicular) ของอังกฤษ ที่เน้นเส้นดิ่ง ซึ่งจะเห็นได้จากงานหน้าต่างกระจกรอบมหาวิหารกลอสเตอร์

เมื่อการใช้ความสูงในสมัยกอธิคทำได้ดีขึ้นในวัดและมหาวิหารก็มีการพยายามทำให้ดีกว่าเดิม จากหน้าต่างสี่เหลี่ยมมียอดโค้งแหลมมาเป็นหน้าต่างกลมที่เรียกว่า “หน้าต่างกุหลาบ” (rose window) ซึ่งเริ่มทำกันที่ประเทศฝรั่งเศส จากทรงง่ายๆ ที่เจาะผนังหินบางๆ มาจนเป็นหน้าต่างล้อที่มีแกนซึ่งจะเห็นได้จากหน้าต่างกุหลาบที่มหาวิหารชาร์ทร และที่เพิ่มความสลับซับซ้อนขึ้นอีกมากที่แซนท์ชาเปล (Sainte-Chapelle) ที่ปารีส หรือหน้าต่าง “ตาบาทหลวง” (Bishop's Eye) ที่มหาวิหารลิงคอล์น

[แก้] การทำลายและการสร้างใหม่
ระหว่าง การปฏิรูปศาสนาที่ประเทศอังกฤษในระหว่างที่มีการการยุบอารามภายใต้การนำของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และในสมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6พระราชโอรส เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 หน้าต่างประดับกระจกสีถูกทุบทำลายไปมากและสร้างแทนที่ด้วยกระจกใสเกลี้ยงธรรมดา และต่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ ที่นำโดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ครอมเวลล์ต่อต้านลัทธิประติมานิยมหรือศิลปะนิยม (การใช้รูปปั้นหรือเครื่องตกแต่งเป็นสิ่งสักการะ) และสนับสนุนลัทธิการเข้าถึงศาสตาโดยจิตนิยมแทนที่ ผู้เชื่อถือในปรัชญานี้จึงทำลายรูปสัญลักษณ์และสิ่งของอื่นๆที่ถือว่าไม่ควรจะมีอยู่ในวัดรวมทั้งหน้าต่างกระจกไปเป็นอันมาก ที่เหลืออยู่ที่ฝีมือดีๆ ก็ไม่มากเช่นที่คฤหาสน์เฮ็นเกรฟฮอลในซัฟโฟล์ค การทำลายครั้งหลังนี้ทำให้ศิลปะการตกแต่งด้วยกระจกสีเสื่อมลงจนกระทั่งมาฟื้นฟูกันใหม่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19

แต่ในขณะเดียวกันในผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรปถึงแม้ว่านิกายโปรเตสแตนต์จะเริ่มเป็นที่นิยมและมีการทำลายศิลปะทางศาสนาเช่นเดียวกับอังกฤษ แต่การตกแต่งกระจกสียังคงทำกันอยู่ในลักษณะแบบคลาสสิค ซึ่งจะเห็นได้จากงานที่ ประเทศเยอรมนี, ประเทศเบลเยียม และ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในสมัยนี้การผลิตกระจกสีที่ประเทศฝรั่งเศสทำมาจากโรงงานที่เมืองลีมอชส์ และ เมืองมูราโน (Murano) ที่ประเทศอิตาลี แต่ในที่สุดการตกแต่งกระจกสีก็มาสิ้นสุดลงเอาระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสทั้งจากการบ่อนทำลายและการละเลย

หน้าต่างหลังการการปฏิรูปศาสนา ที่มหาวิหารสเปเยอร์ ที่ประเทศเยอรมนี
หน้าต่างที่เลซองเดอลีส์ คริสต์ศตวรรษที่ 16 ประเทศฝรั่งเศส นักบุญปีเตอร์ถูกตรึงกางเขน
หน้าต่างเซ็นต์นิโคลัสที่เมืองเก้นท์ คริสต์ศตวรรษที่ 16 ประเทศเบลเยียม
หน้าต่างมหาวิหารโคโลญประเทศเยอรมนี ใช้วิธีระบายสี
หน้าต่างมหาวิหารโคโลญ (รายละเอียด)


[แก้] ยุคศิลปะฟื้นฟู
การหันมาสนใจในนิกายโรมันคาทอลิกในประเทศอังกฤษมาริเริ่มอีกครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งความสนใจส่วนใหญ่จะเป็นความสนใจในวัดแบบยุคกลางโดยเฉพาะวัดแบบกอธิค จึงทำให้มีการสิ่งก่อสร้างที่เลียนแบบที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค ซึ่งจอห์น รัสคิน ประกาศว่าเป็น “ลักษณะโรมันคาทอลิกแท้” ขบวนการสร้างสถาปัตยกรรมลักษณะนี้นำโดยสถาปนิกออกัสตัส พิวจิน ซึ่งก็ได้มีการสร้างวัดใหม่ขึ้นมากในเมืองใหญ่อันเป็นผลจากการขยายตัวของประชากรอันเป็นสาเหตุมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม และการซ่อมแซมวัดเก่าๆ ที่อยู่ในสภาพทรุดโทรม จึงทำให้มีการหันมาสนใจศิลปะการตกแต่งประดับกระจกสีกันขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในขณะเดียวกันก็มีการก่อตั้งบริษัทสำคัญๆที่มีชื่อในการทำศิลปะกระจกสีเช่น

บริษัทฮาร์ดแมนแห่งเบอร์มิงแฮม

การทำกระจกสีมีเป็นวิธีการที่ซับซ้อนฉะนั้นจึงเหมาะแก่การทำในระดับการผลิตจึงจะคุ้มทุน บริษัทเช่นฮาร์ดแมน (Hardman & Co.) ที่ เบอร์มิงแฮม และ บริษัทเคลตันและเบล (Clayton and Bell) ที่ ลอนดอน ซึ่งจ้างช่างผู้ชำนาญในงานกระจกสีโดยเฉพาะ งานระยะต้นของฮาร์ดแมนออกแบบโดย ออกัสตัส พิวจิน ใช้ติดตั้งในสิ่งก่อสร้างที่พิวจินสร้าง แต่เมื่อพิวจินเสียชีวิตเมื่อปี ค. ศ. 1852 จอห์น ฮาร์ดแมน พาวเวลผู้เป็นหลานก็ทำกิจการต่อ งานของพาวเวลเป็นที่สนใจของ Cambridge Camden Society ซึ่งเป็นขบวนการที่มีจุดประสงค์ในการศึกษาสถาปัตยกรรมแบบกอธิคและสิ่งของโบราณที่มีค่าทางศาสนา นอกจากนั้นพาวเวลยังมีหัวทางการค้าจึงได้นำผลงานไปแสดงที่ “งานมหกรรมที่ฟิลาเดลเฟีย ค. ศ. 1873” หลังจากออกงานที่ฟิลาเดลเฟียพาวเวลก็ได้รับงานหลายชิ้นในสหรัฐอเมริกา

เซ็นต์แอนดรู ที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย กระจกสีจากบริษัทฮาร์ดแมนค. ศ. 1861-ค. ศ. 1867 ลักษณะหรูและแสดงความชำนาญในการวางองค์ประกอบที่บอกเรื่องราว
มหาวิหารปีเตอร์เบรอ, บริษัทมอริส ลักษณะออกแบบแบบไม่สมดุลและการใช้สีรองและการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์เป็นลักษณะของวิลเลียม มอร์ริส
เซ็นต์แมรีชิลแลม (St Mary's Chilham) โดยวิลเลียม เวลส์ (William Wailes) หน้าต่างนี้เป็นสีอ่อนสดและมีการตกแต่งที่เป็นเอกลักษณ์ของบริษัท
มหาวิหารปีเตอร์เบรอ โดยบริษัทเคลตันและเบลเป็นหน้าต่างที่สวยสง่าโครงสร้างและสีที่ทั้งสดใสแต่ไม่ฉูดฉาด
หน้าต่างที่วัดเซนต์ปีเตอร์ เบิร์นแนม โดยบริษัทเคลตันและเบล


วิลเลียม มอริส นักออกแบบกระจกสีในกลุ่ม Pre-Raphaelites ที่มีชื่อเสียงที่สุดเห็นจะเป็น วิลเลียม มอร์ริส และ เอ็ดเวิร์ด เบิร์น-โจนส์ (Edward Burne-Jones) ขณะที่โจนส์มีชื่อเสียงเป็นจิตรกร สติวดิโอของวิลเลียม มอริสมีชื่อในการออกแบบหน้าต่างสำหรับสิ่งก่อสร้างและการตกแต่งภายในรวมทั้งภาพเขียน เฟอร์นิเจอร์ และผ้าตกแต่งภายใน ส่วนหนึ่งของธุรกิจของมอริสคือการตั้งโรงงานผลิตกระจกสีสำหรับงานของตนเองและงานที่เอ็ดเวิร์ด เบิร์น โจนส์ออกแบบ

เคลตันและเบล เคลตันและเบล (Clayton and Bell) เป็นผู้ผลิตกระจกสีรายใหญ่ ว่ากันว่าวัดในอังกฤษเกือบทุกวัดมีกระจกจากเคลตันและเบลหรือบางวัดจะเป็นของเคลตันและเบลทั้งวัดด้วยซ้ำ ในบรรดาช่างออกแบบของเคลตันและเบล ชาร์ล อีเมอร์ เค็มพ์ เป็นช่างที่มีชื่อเสียงที่สุดที่แยกตัวไปมีโรงงานของตนเองเมื่อปีค. ศ. 1869 งานออกแบบของเค็มพ์จะมีลักษณะเบากว่างานของเคลตันและเบล เค็มพ์เป็นผู้ออกแบบชาเปลของวิทยาลัยเซลวิน (Selwyn College) ที่เคมบริดจ์ และออกแบบหน้าต่างด้วยกันทั้งหมด 3,000 บาน วอลเตอร์ ทาวเวอร์ผู้เป็นหลานของเค็มพ์ดำเนินกิจการต่อ และเติมหอที่รวงข้าวสาลีที่เป็นสัญญลักษณ์ของเค็มพ์และดำเนินกิจการต่อมาจนค. ศ. 1934

หน้าต่างกระจกประดับสีคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษ 20th

งานของอเล็กซานเดอร์ กิบส (Alexander Gibbs) ที่มหาวิหารปีเตอร์เบรอ รูปหน้าจะอ่อนหวานสีเสื้อผ้าจะสดใสเช่นเดียวกับรายละเอียดการตกแต่งอื่นๆ
หน้าต่างโดยบริษัทฮีทัน บัตเลอร์ และ เบนย์ (Heaton, Butler and Bayne) ที่มหาวิหารปีเตอร์เบรอ จะนิยมใช้แก้วเคลือบ และแบบจะเป็นธรรมชาติ
หน้าต่างโดยบริษัทเบอร์ลิสันและกริลส์ (Burlison and Grylls) ที่มหาวิหารปีเตอร์เบรอ ใช้ซุ้มทรงวิจิตรสีอ่อน รายละเอียดมาก เสื้อคลุมสีมืด
งานชิ้นนี้ (ค.ศ. 1918) เป็นลักษณะที่แท้จริงของงานสมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดซึ่งเน้นรายละเอียดใช้แก้วเคลือบสีแดงและม่วง เครื่องตกแต่งหรูและแสดงให้เห็นฝีมือของช่าง


วอร์ดและฮิวส์ และ วิลเลียม เวลส์ อีกบริษัทหนึ่งที่สำคัญคือวอร์ดและฮิวส์ (Ward and Hughes) แม้จะเริ่มด้วยลักษณะกอธิคแต่เมื่อมาถึงราวค.ศ. 1870 ก็เริ่มเปลี่ยนโดยได้รับอิทธิพลจากลัทธิสุนทรียนิยม บริษัทนี้ทำกิจการอยู่จนถึงปลายปี ค.ศ. 1920 และอีกคนหนึ่งวิลเลียม เวลส์ (William Wailes) ผู้สร้างหน้าต่างทางตะวันตกของมหาวิหารกลอสเตอร์ วิลเลียม เวลส์เองเป็นนักธุรกิจไม่ใช่นักออกแบบแต่จะใช้ช่างออกแบบเช่นโจเซฟ เบกลีย์ (Joseph Baguley) ผู้ที่ต่อมาออกมาตั้งบริษัทของตนเอง

ทิฟฟานีและลาฟารจ ช่างกระจกชาวอเมริกันสองคน จอห์น ลาฟารจ (John La Farge) ผู้ประดิษฐ์ “แก้วรุ้ง” (Opalescent glass) ซึ่งเป็นแก้วที่หลายสีซึ่งเกิดจากผสมระหว่างการผลิต ลาฟารจได้รับลิขสิทธิ์ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1880 และหลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี ผู้ได้รับบลิขสิทธิ์หลายใบจากการใช้ “แก้วรุ้ง” หลายๆ วิธี เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน และเชื่อกันว่าเป็นผู้เริ่มใช้ทองแดงแทนตะกั่วในการเชื่อมชิ้นกระจกสี ที่ทิฟฟานีใช้ในการทำหน้าต่าง ตะเกียง และสิ่งตกแต่งอื่นๆ

หน้าต่างโดยหลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานีที่ใช้“แก้วรุ้ง” การออกแบบเป็นแบบไม่สมดุลใช้วิธี เบ้าโลหะ แก้วเคลือบ และ ทาสีภายในกรอบโลหะ
หน้าต่างโดยหลุยส์ คอมฟอร์ท ค.ศ. 1890
“ดอกลเบอร์นัม” ทิฟฟานีใช้การตกแต่งกระจกสีในการทำโคม
Saint blaise.jpgวัดเซ็นต์วอลเบิร์ก ออกแบบโดยเกเบรียล ลัวร์ กลางคริสต์วรรษที่ 20 ใช้ เบ้าโลหะ และ ตะกั่วกับลายสมัยใหม่ดูแล้วจะทราบได้ว่าที่มามาจากศิลปะยุคกลาง


[แก้] คริสต์ศตวรรษที่ 20
บริษัทที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็มาล้มละลายไปมากเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพราะความนิยมในศิลปะแบบกอธิคเสื่อมลง แต่ความนิยมการทำหน้าต่างประดับกระจกสีมารุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2เนื่องจากต้องมีการซ่อมแซมหน้าต่างกระจกอย่างมากมายที่ได้รับความเสียหายจากสงคราม ช่างชาวเยอรมันเป็นผู้นำในการฟื้นฟูครั้งหลังนี้ ศิลปินคนสำคัญๆ ก็ได้แก่เออร์วิน บอสซันยี (Ervin Bossanyi) ลุดวิก ชาฟฟราธ (Ludwig Schaffrath) โยฮันส์ ชไรทเตอร์ (Johannes Shreiter) ดักกลาส ชตราคัน (Douglas Strachan) จูดิธ เช็คเตอร์ (Judith Schaechter) และคนอื่นๆ ที่แปลงศิลปะโบราณให้มาเป็นศิลปะร่วมสมัย ฉนั้นแม้ว่างานส่วนใหญ่ที่สร้างกันในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จะไม่มีลักษณะที่พิเศษและเป็นผลงานจากการผลิตทางอุตสาหกรรมไม่ใช่งานสร้างสรรค์โดยศิลปิน แต่ก็ยังมีผลงานบางชิ้นที่มีคุณค่าควรแก่การพิจารณาเช่นงานหน้าต่างด้านตะวันตกของมหาวิหารแมนเชสเตอร์ที่อังกฤษโดยโทนี ฮอลลาเวย์ (Hollaway) ซึ่งเป็นงานที่มีฝีมือดีที่สุดชิ้นหนึ่ง

ในประเทศฝรั่งเศสก็มีศิลปินสำคัญๆ เช่น ฌอง เรเน บาเซน (Jean René Bazaine) ที่วัดซังเซเวแรง (Saint-Séverin) และเกเบรียล ลัวร์ (Gabriel Loire) ที่ชาร์ทรส์ (Chartres) แก้ว “Gemmail” ซึ่งเริ่มประดิษฐ์โดยฌอง เป็นการวางแก้วสีเหลื่อมกันเพื่อให้ได้สีที่นุ่มนวลขึ้น[2]

กระจกที่บัคฟาสทแอบบี (Buckfast Abbey) แคว้นเดวอน อังกฤษกว้าง 8 เมตรออกแบบโดยพระเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 20
วัดลัทธิฟรานซิสกันที่คราเคาประเทศโปแลนด์ ออกแบบโดยช่างสตานิสลอว์ วิสเพียนสกี (Stanisław Wyspiański)
หน้าต่างที่สถานีมอนทรีออล (Montreal metro) ประเทศแคนาดา โดยมาร์เซล แฟรอง (Marcelle Ferron)
Tree of life ที่วัดคริสตีเน (Christinae church) ที่ Alingsås ประเทศสวีเดน
ภายในชาเปล Thanks-Giving Square ที่ดัลลัส, เท็กซัส, สหรัฐอเมริกา


[แก้] สิ่ก่อสร้างที่ประกอบด้วยหน้าต่างประดับกระจกสี
มหาวิหารและวัด หน้าต่างประดับกระจกสีเป็นศิลปะตกแต่งที่นิยมกันในการตกแต่งวัดเพื่อใช้เป็นการทัศนศิลป์ในการสื่อสารเรื่องราวในคริสต์ศาสนา บางหน้าต่างจะอุทิศโดยผู้เป็นสมาชิกของวัดเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้สมาชิกในครอบครัวที่เสียชีวิต ตัวอย่างที่สำคัญๆ ก็ได้แก่


มหาวิหารที่ชาร์ทรส์ (Cathedral of Chartres) ประเทศฝรั่งเศส - คริสต์ศตวรรษที่ 11-13
มหาวิหารแคนเตอร์บรี อังกฤษ - คริสต์ศตวรรษที่ 12-15 และ คริสต์ศตวรรษที่ 19-20
มหาวิหารยอร์ค อังกฤษ - คริสต์ศตวรรษที่ 11-15
แซนท์ชาเปล (Sainte-Chapelle) ปารีส ประเทศฝรั่งเศส - คริสต์ศตวรรษที่ 11-14
มหาวิหารฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี - คริสต์ศตวรรษที่ 15 ออกแบบโดยอูเชลโล เพาโล อูเซลโล (Paolo Uccello) โดนาเทลโล และลอเร็นโซ กิเบอร์ตึ (Lorenzo Ghiberti)
มหาวิหารเซ็นต์แอนดรูว์ (St. Andrew's Cathedral) ที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย - คริสต์ศตวรรษที่ 19 (บริษัทฮาร์ดแมนแห่งเบอร์มิงแฮม)
มหาวิหารโคเวนทรี อังกฤษ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20th โดยช่างออกแบบหลายคน
วัด Brown Memorial Presbyterian Church - งานส่วนใหญ่ของหลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี
[แก้] อ้างอิง
^ Ahmad Y Hassan, The Manufacture of Coloured Glass (การผลิตกระจกสี) และ Assessment of Kitab al-Durra al-Maknuna (การวิเคราะห์ “Kitab al-Durra al-Maknuna”), History of Science and Technology in Islam (ประวัติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศอิสลาม).
^ http://www.gemmail.com/en/rmn/ENRMN.htm
[แก้] ดูเพิ่ม
ศิลปะกอธิค
หน้าต่างกุหลาบ
มหาวิหาร
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ งานกระจกสี
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ หน้าต่างประดับกระจกสีในประเทศฝรั่งเศส
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ หน้าต่างประดับกระจกสีในอังกฤษ
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ หน้าต่างประดับกระจกสีในประเทศสเปน
[แก้] สมุดภาพงานประดับกระจกสี
หน้าต่างเรื่องการชื่นชมพระเยซูที่มหาวิหารแคนเตอร์บรี คริสต์ศตวรรษที่ 13
หน้าต่างประดับกระจกสีที่มหาวิหารฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี
หน้าต่างประดับกระจกสีที่วัดเซ็นต์ปิแอร์ (Saint Pierre) เมืองแคน (Caen) ประเทศฝรั่งเศส
หน้าต่างประดับกระจกสีสมัยเรอเนซองส์ที่อเร็ทโซ (Arezzo) ประเทศอิตาลี ที่เป็นทรงกลมที่ไม่มีการแบ่งช่องอย่าที่นิยมกันที่อิตาลี
หน้าต่างกุหลาบที่มหาวิหารสตราสเบิร์ก (Strasbourg Cathedral) คริสต์ศตวรรษที่ 13

หน้าต่างที่วัดแดรมเบิร์ก (Dramburg) แสดงให้เห็นการตกแต่งตราประจำตระกูล
หน้าต่างประดับกระจกสีสมัยเรอเนซองส์ที่วัดเซ็นต์เจอร์เมนเดสเพรส (St Germain des Pres) ที่ปารีส
มหาวิหารอาลท์เท็นเบิร์กเกอร์ (Altenberger Dom) ประเทศเยอรมนี ใช้การตกแต่งแบบไม่ใช้สีที่เรียกว่า “Grisaille”
หน้าต่างคริสต์ศตวรรษ 19th ของมหาวิหารคอร์ค (Calke Abbey) อังกฤษ
หน้าต่างการศึกษาโดยหลุยส์ คอมฟอร์ต ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) ที่มหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา

Art Nouveau โดยยาค กรืแบร์ (Jacques Grüber) ค. ศ. 1904 ที่พิพิธภัณฑ์ที่นองซี (Musée de l'École de Nancy) ประเทศฝรั่งเศส
โดมที่ร้านน้ำชา Printemps ที่ปารีส
กระจกสีสมัยใหม่ที่ อินส์ (Ins) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
หน้าต่างแอ็ปแสตร็ค โดยเดวิด แอสคาลอน (David Ascalon) ที่วัดเบ็ธเอลคองเกรเกชัน (Beth El Congregation) ใกล้กรุงวอชิงตันดีซี สหรัฐอเมริกา
หน้าต่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่วัดไมน์นิงเก็น (Meiningen Catholic Church) ประเทศเยอรมนี

วรรณกรรม

วรรณกรรม (อังกฤษ: Literature) หมายถึง วรรณคดีหรือศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ แล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งวรรณกรรมเป็น 2 ประเภท คือ วรรณกรรมลายลักษณ์ คือวรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ และวรรณกรรมมุขปาฐะ อันได้แก่วรรณกรรมที่เล่าด้วยปาก ไม่ได้จดบันทึก

ด้วยเหตุนี้ วรรณกรรมจึงมีความหมายครอบคลุมกว้าง ถึงประวัติ นิทาน ตำนาน เรื่องเล่า ขำขัน เรื่องสั้น นวนิยาย บทเพลง คำคม เป็นต้น

วรรณกรรมเป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารเรื่องราวให้เข้าใจระหว่างมนุษย์ ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้น และสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมาย เรื่องราวต่าง ๆ ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารได้แก่

ภาษาพูด โดยการใช้เสียง
ภาษาเขียน โดยการใช้ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ และภาพ
ภาษาท่าทาง โดยการใช้กิริยาท่าทาง หรือประกอบวัสดุอย่างอื่น
ความงามหรือศิลปะในการใช้ภาษาขึ้นอยู่กับ การใช้ภาษาให้ถูกต้อง ชัดเจน และ เหมาะสมกับเวลา โอกาส และบุคคล นอกจากนี้ ภาษาแต่ละภาษายังสามารถปรุงแต่ง ให้เกิดความเหมาะสม ไพเราะ หรือสวยงามได้ นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติคำราชาศัพท์ คำสุภาพ ขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมที่เป็นเลิศทางการใช้ภาษาที่ควรดำรงและยึดถือต่อไป ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรม เรียกว่า นักเขียน นักประพันธ์ หรือ กวี (Writer or Poet)

วรรณกรรมไทย แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

ร้อยแก้ว เป็นข้อความเรียงที่แสดงเนื้อหา เรื่องราวต่าง ๆ
ร้อยกรอง เป็นข้อความที่มีการใช้คำที่สัมผัส คล้องจอง ทำให้สัมผัสได้ถึงความงามของภาษาไทย ร้อยกรองมีหลายแบบ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย
[แก้] วรรณกรรม
ปรากฏขึ้นครั้งแรกในพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2475 คำว่า วรรณกรรม อาจเทียบเคียงได้กับคำภาษาอังกฤษว่า Literary work หรือ general literature ความหมายแปลตามรูปศัพท์ว่า ทำให้เป็นหนังสือ ซึ่งดูตามความหมายนี้แล้วจะเห็นว่ากว้างขวางมาก นั่นก็คือการเขียนหนังสือจะเป็นข้อความสั้น ๆ หรือเรื่องราวสมบูรณ์ก็ได้ เช่น ข้อความที่เขียนตามใบปลิว ป้ายโฆษณาต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงบทความ หรือ หนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มทุกชนิด เช่น ตำรับตำราต่าง ๆ นวนิยาย กาพย์ กลอนต่าง ๆ ก็ถือเป็นวรรณกรรมทั้งสิ้น จากลักษณะกว้าง ๆ ของวรรณกรรม สามารถทำให้ทราบถึงคุณค่ามากน้อยของวรรณกรรมได้โดยขึ้นอยู่กับ วรรณศิลป์ คือ ศิลปะในการแต่งหนังสือนั้นเป็นสำคัญ ถ้าวรรณกรรมเรื่องใดมีคุณค่าทางวรรณศิลป์สูง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นหนังสือดี วรรณกรรมก็อาจได้รับยกย่องว่าเป็น วรรณคดี อย่างไรก็ตามการที่จะกำหนดว่า วรรณกรรมเรื่องใดควรเป็นวรรณคดีหรือไม่นั้น ต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่แต่งหนังสือนั้นยาวนานพอควรด้วย เพื่อพิสูจน์ว่าคุณค่าของวรรณกรรมนั้นเป็นอมตะ เป็นที่ยอมรับกันทุกยุคทุกสมัยหรือไม่ เพราะอาจมีวรรณกรรมบางเรื่องที่ดีเหมาะสมกับระยะเวลาเพียงบางช่วงเท่านั้น ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า วรรณคดีนั้นก็คือวรรณกรรมชนิดหนึ่งนั่นเอง กล่าวคือ เป็นวรรณกรรมที่กลั่นกรองและตกแต่งให้ประณีต มีความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ อันเป็นคุณค่าของการประพันธ์ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง วรรณคดีนั้นเป็นวรรณกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นวรรณคดีเสมอไป

[แก้] ประเภทของวรรณกรรม
ดูบทความหลักที่ ประเภทของวรรณกรรม
วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

สารคดี หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นเพื่อมุ่งให้ความรู้ ความคิด ประสบการณ์แก่ผู้อ่าน ซึ่งอาจใช้รูปแบบร้อยแก้วหรือร้อยกรองก็ได้
บันเทิงคดี คือ วรรณกรรมที่แต่งขึ้นเพื่อมุ่งให้ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน บันเทิงแก่ผู้อ่าน จึงมักเป็นเรื่องที่มีเหตุการณ์และตัวละคร

ดาราศาสตร์

ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ[1][2][3]

ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี

การค้นพบสิ่งต่างๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว

ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน [4]

ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากขึ้น

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประวัติ
1.1 การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
2 ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์
2.1 ดาราศาสตร์วิทยุ
2.2 ดาราศาสตร์เชิงแสง
2.3 ดาราศาสตร์อินฟราเรด
2.4 ดาราศาสตร์พลังงานสูง
2.4.1 ดาราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลต
2.4.2 ดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์
2.4.3 ดาราศาสตร์รังสีแกมมา
2.5 การสังเกตการณ์อื่นนอกเหนือจากสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า
3 ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี
4 สาขาวิชาหลักของดาราศาสตร์
4.1 ดาราศาสตร์สุริยะ
4.2 วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
4.3 ดาราศาสตร์ดาวฤกษ์
4.4 ดาราศาสตร์ดาราจักร
4.5 ดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบ
4.6 จักรวาลวิทยา
5 ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสาขาอื่น
6 ดาราศาสตร์สมัครเล่น
7 ปีดาราศาสตร์สากล 2009
8 ดูเพิ่ม
9 อ้างอิง
10 แหล่งข้อมูลอื่น


[แก้] ประวัติ
ดาราศาสตร์นับเป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดวิชาหนึ่ง เพราะนับแต่มีมนุษย์อยู่บนโลก เขาย่อมได้เห็นได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเสมอมา แล้วก็เริ่มสังเกตจดจำและเล่าต่อๆ กัน เช่น เมื่อมองออกไปรอบตัวเห็นพื้นดินราบ ดูออกไปไกลๆ ก็ยังเห็นว่าพื้นผิวของโลกแบน จึงคิดกันว่าโลกแบน มองฟ้าเห็นโค้งคล้ายฝาชีหรือโดม มีดาวให้เห็นเคลื่อนข้ามศีรษะไปทุกคืน กลางวันมีลูกกลมแสงจ้า ให้แสง สี ความร้อน ซึ่งก็คือ ดวงอาทิตย์ ที่เคลื่อนขึ้นมาแล้วก็ลับขอบฟ้าไป ดวงอาทิตย์จึงมีความสำคัญกับเขามาก

การศึกษาดาราศาสตร์ในยุคแรกๆ เป็นการเฝ้าดูและคาดเดาการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้าเหล่านั้นที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ก่อนยุคสมัยที่กล้องโทรทรรศน์จะถูกประดิษฐ์ขึ้น มีสิ่งปลูกสร้างโบราณหลายแห่งที่เชื่อว่าเป็นสถานที่สำหรับการเฝ้าศึกษาทางดาราศาสตร์ เช่น สโตนเฮนจ์ นอกจากนี้การเฝ้าศึกษาดวงดาวยังมีความสำคัญต่อพิธีกรรม ความเชื่อ และเป็นการบ่งบอกถึงการเปลี่ยนฤดูกาล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อสังคมเกษตรกรรมการเพาะปลูก รวมถึงเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงระยะเวลา วัน เดือน ปี[5]

เมื่อสังคมมีวิวัฒนาการขึ้นในดินแดนต่างๆ เช่น เมโสโปเตเมีย กรีก อียิปต์ เปอร์เซีย มายา อินเดีย จีน และอาหรับ การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ก็ซับซ้อนมากขึ้น เริ่มมีแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของธรรมชาติแห่งจักรวาลกว้างขวางขึ้น ผลการศึกษาดาราศาสตร์ในยุคแรกๆ จะเป็นการบันทึกแผนที่ตำแหน่งของดวงดาวต่างๆ อันเป็นศาสตร์ที่ปัจจุบันเรียกกันว่า การวัดตำแหน่งดาว (astrometry) ผลจากการเฝ้าสังเกตการณ์ทำให้แนวคิดเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของดวงดาวต่างๆ เริ่มก่อตัวเป็นรูปร่างขึ้น ธรรมชาติการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก นำไปสู่แนวคิดเชิงปรัชญาเพื่อพยายามอธิบายปรากฏการณ์เหล่านั้น ความเชื่อดั้งเดิมคือโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่างๆ เคลื่อนที่ไปโดยรอบ แนวคิดนี้เรียกว่า แบบจำลองแบบโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล (geocentric model)

มีการค้นพบทางดาราศาสตร์ที่สำคัญไม่มากนักก่อนการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ ตัวอย่างการค้นพบเช่น ชาวจีนสามารถประเมินความเอียงของแกนโลกได้ประมาณหนึ่งพันปีก่อนคริสตกาล ชาวบาบิโลนค้นพบว่าปรากฏการณ์จันทรคราสจะเกิดขึ้นซ้ำเป็นช่วงเวลา เรียกว่า วงรอบซารอส[6] และช่วงสองร้อยปีก่อนคริสตกาล ฮิปปาร์คัส นักดาราศาสตร์ชาวกรีก สามารถคำนวณขนาดและระยะห่างของดวงจันทร์ได้[7]

ตลอดช่วงยุคกลาง การค้นพบทางดาราศาสตร์ในยุโรปกลางมีน้อยมากจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 แต่มีการค้นพบใหม่ๆ มากมายในโลกอาหรับและภูมิภาคอื่นของโลก มีนักดาราศาสตร์ชาวอาหรับหลายคนที่มีชื่อเสียงและสร้างผลงานสำคัญแก่วิทยาการด้านนี้ เช่น Al-Battani และ Thebit รวมถึงคนอื่นๆ ที่ค้นพบและตั้งชื่อให้แก่ดวงดาวด้วยภาษาอารบิก ชื่อดวงดาวเหล่านี้ยังคงมีที่ใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน[8][9]

[แก้] การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์

ภาพร่างการสังเกตการณ์ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ ทำให้เห็นว่าพื้นผิวดวงจันทร์นั้นขรุขระในยุคเรอเนซองส์ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส ได้นำเสนอแนวคิดแบบจำลองแบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล (heliocentric model) ซึ่งถูกต่อต้านอย่างมากจากศาสนจักร ทว่าได้รับการยืนยันรับรองจากงานศึกษาของกาลิเลโอ กาลิเลอี และ โยฮันเนส เคปเลอร์ โดยที่กาลิเลโอได้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์หักเหแสงแบบใหม่ขึ้นในปี ค.ศ. 1609 ทำให้สามารถเฝ้าสังเกตดวงดาวและนำผลจากการสังเกตมาช่วยยืนยันแนวคิดนี้

เคปเลอร์ได้คิดค้นระบบแบบใหม่ขึ้นโดยปรับปรุงจากแบบจำลองเดิมของโคเปอร์นิคัส ทำให้รายละเอียดการโคจรต่างๆ ของดาวเคราะห์และดวงอาทิตย์ที่ศูนย์กลางสมบูรณ์ถูกต้องมากยิ่งขึ้น แต่เคปเลอร์ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการนำเสนอทฤษฎีนี้เนื่องจากกฎหมายในยุคสมัยนั้น จนกระทั่งต่อมาถึงยุคสมัยของเซอร์ ไอแซค นิวตัน ผู้คิดค้นหลักกลศาสตร์ท้องฟ้าและกฎแรงโน้มถ่วงซึ่งสามารถอธิบายการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ได้อย่างสมบูรณ์ นิวตันยังได้คิดค้นกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงขึ้นด้วย

การค้นพบใหม่ๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ พร้อมไปกับการพัฒนาขนาดและคุณภาพของกล้องโทรทรรศน์ที่ดียิ่งขึ้น มีการจัดทำรายชื่อดาวอย่างละเอียดเป็นครั้งแรกโดย ลาซายล์ ต่อมานักดาราศาสตร์ชื่อ วิลเลียม เฮอร์เชล ได้จัดทำรายการโดยละเอียดของเนบิวลาและกระจุกดาว ค.ศ. 1781 มีการค้นพบดาวยูเรนัส ซึ่งเป็นการค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่เป็นครั้งแรก ค.ศ. 1838 มีการประกาศระยะทางระหว่างดาวเป็นครั้งแรกโดยฟรีดดริค เบสเซล หลังจากตรวจพบพารัลแลกซ์ของดาว 61 Cygni

ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 ออยเลอร์ คลาเราต์ และดาเลมเบิร์ต ได้คิดค้นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับปัญหาสามวัตถุ (three-body problem หรือ n-body problem) ทำให้การประมาณการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์และดาวเคราะห์สามารถทำได้แม่นยำขึ้น งานชิ้นนี้ได้รับการปรับปรุงต่อมาโดย ลากรองจ์ และ ลาปลาซ ทำให้สามารถประเมินมวลของดาวเคราะห์และดวงจันทร์ได้

การค้นพบสำคัญทางดาราศาสตร์ประสบความสำเร็จมากขึ้นเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การถ่ายภาพ และสเปกโตรสโคป เราทราบว่าดวงดาวต่างๆ ที่แท้เป็นดาวฤกษ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับดวงอาทิตย์ของเรานั่นเอง แต่มีอุณหภูมิ มวล และขนาดที่แตกต่างกันไป[10]

การค้นพบว่า ดาราจักรของเราหรือดาราจักรทางช้างเผือกนี้ เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์ที่รวมตัวอยู่ด้วยกัน เพิ่งเกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้เอง พร้อมกับการค้นพบการมีอยู่ของดาราจักรอื่นๆ ต่อมาจึงมีการค้นพบว่า เอกภพกำลังขยายตัว โดยดาราจักรต่างๆ กำลังเคลื่อนที่ห่างออกจากเรา การศึกษาดาราศาสตร์ยุคใหม่ยังค้นพบวัตถุท้องฟ้าใหม่ๆ อีกหลายชนิด เช่น เควซาร์ พัลซาร์ เบลซาร์ และดาราจักรวิทยุ ผลจากการค้นพบเหล่านี้นำไปสู่การพัฒนาทฤษฎีทางฟิสิกส์เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ของวัตถุเหล่านี้เปรียบเทียบกับวัตถุประหลาดอื่นๆ เช่น หลุมดำ และดาวนิวตรอน ศาสตร์ทางด้านฟิสิกส์จักรวาลวิทยามีความก้าวหน้าอย่างมากตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 แบบจำลองบิกแบงได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานต่างๆ ที่ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์และนักฟิสิกส์ เช่น การแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล กฎของฮับเบิล และการที่มีธาตุต่างๆ มากมายอย่างไม่คาดคิดในจักรวาลภายนอก

[แก้] ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์

กล้องโทรทรรศน์วิทยุจำนวนมากเรียงรายในลานกว้าง ที่รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกาดูบทความหลักที่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์
ในทางดาราศาสตร์ สารสนเทศส่วนใหญ่ได้จากการตรวจหาและวิเคราะห์โฟตอนซึ่งเป็นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า[11] แต่อาจได้จากข้อมูลที่มากับรังสีคอสมิก นิวตริโน ดาวตก และในอนาคตอันใกล้อาจได้จากคลื่นความโน้มถ่วง

การแบ่งหมวดของดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์สามารถแบ่งได้ตามการสังเกตการณ์สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านต่าง ๆ โดยการสังเกตการณ์บางย่านสเปกตรัมสามารถกระทำได้บนพื้นผิวโลก แต่บางย่านจะสามารถทำได้ในชั้นบรรยากาศสูงหรือในอวกาศเท่านั้น การสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในย่านสเปกตรัมต่างๆ แสดงดังรายละเอียดต่อไปนี้

[แก้] ดาราศาสตร์วิทยุ
ดูบทความหลักที่ ดาราศาสตร์วิทยุ
ดาราศาสตร์วิทยุเป็นการตรวจหาการแผ่รังสีในความยาวคลื่นที่ยาวกว่า 1 มิลลิเมตร (ระดับมิลลิเมตรถึงเดคาเมตร)[12] เป็นการศึกษาดาราศาสตร์ที่แตกต่างจากการศึกษาดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์รูปแบบอื่นๆ เพราะเป็นการศึกษาคลื่นวิทยุซึ่งถือว่าเป็นคลื่นจริงๆ มากกว่าเป็นการศึกษาอนุภาคโฟตอน จึงสามารถตรวจวัดได้ทั้งแอมปลิจูดและเฟสของคลื่นวิทยุซึ่งจะทำได้ยากกว่ากับคลื่นที่มีความยาวคลื่นต่ำกว่านี้[12]

คลื่นวิทยุที่แผ่จากวัตถุดาราศาสตร์จำนวนหนึ่งอาจอยู่ในรูปของการแผ่รังสีความร้อน โดยมากแล้วการแผ่คลื่นวิทยุที่ตรวจจับได้บนโลกมักอยู่ในรูปแบบของการแผ่รังสีซิงโครตรอน ซึ่งเกิดจากการที่อิเล็กตรอนเคลื่อนที่เป็นคาบรอบเส้นแรงสนามแม่เหล็ก[12] นอกจากนี้สเปกตรัมที่เกิดจากแก๊สระหว่างดาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นสเปกตรัมของไฮโดรเจนที่ 21 เซนติเมตร จะสามารถสังเกตได้ในช่วงคลื่นวิทยุ[13][12]

วัตถุดาราศาสตร์ที่สามารถสังเกตได้ในช่วงคลื่นวิทยุมีมากมาย รวมไปถึงซูเปอร์โนวา แก๊สระหว่างดาว พัลซาร์ และนิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์[13][12]

[แก้] ดาราศาสตร์เชิงแสง
ดูบทความหลักที่ ดาราศาสตร์เชิงแสง
การสังเกตการณ์ดาราศาสตร์เชิงแสงเป็นการศึกษาดาราศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด[14] คือการสังเกตการณ์ท้องฟ้าด้วยดวงตามนุษย์ โดยอาศัยเครื่องมือช่วยบ้างเช่น กล้องโทรทรรศน์ ภาพที่มองเห็นถูกบันทึกเอาไว้โดยการวาด จนกระทั่งช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงมีการบันทึกภาพสังเกตการณ์ด้วยเครื่องมือถ่ายภาพ ภาพสังเกตการณ์ยุคใหม่มักใช้อุปกรณ์ตรวจจับแบบดิจิตอล ที่นิยมอย่างมากคืออุปกรณ์จับภาพแบบซีซีดี แม้ว่าแสงที่ตามองเห็นจะมีความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 4000 Å ถึง 7000 Å (400-700 nm)[14] แต่อุปกรณ์ตรวจจับเหล่านี้ก็มักจะมีความสามารถสังเกตภาพที่มีการแผ่รังสีแบบใกล้อัลตราไวโอเลต และใกล้อินฟราเรดได้ด้วย

[แก้] ดาราศาสตร์อินฟราเรด
ดูบทความหลักที่ ดาราศาสตร์อินฟราเรด
ดาราศาสตร์อินฟราเรด เป็นการตรวจหาและวิเคราะห์การแผ่รังสีในช่วงคลื่นอินฟราเรด (คือช่วงความยาวคลื่นที่ยาวกว่าแสงสีแดง) ยกเว้นในช่วงคลื่นที่ใกล้เคียงกับแสงที่ตามองเห็น การแผ่รังสีอินฟราเรดจะถูกชั้นบรรยากาศของโลกดูดซับไปมากแล้วชั้นบรรยากาศจะปลดปล่อยรังสีอินฟราเรดออกมาแทน ดังนั้นการสังเกตการณ์ในช่วงคลื่นอินฟราเรดจึงจำเป็นต้องทำที่ระดับบรรยากาศที่สูงและแห้ง หรือออกไปสังเกตการณ์ในอวกาศ การศึกษาดาราศาสตร์ในช่วงคลื่นอินฟราเรดมีประโยชน์มากในการศึกษาวัตถุที่เย็นเกินกว่าจะแผ่รังสีคลื่นแสงที่ตามองเห็นออกมาได้ เช่น ดาวเคราะห์ และแผ่นจานดาวฤกษ์ (circumstellar disk) ยิ่งคลื่นอินฟราเรดมีความยาวคลื่นมาก จะสามารถเดินทางผ่านกลุ่มเมฆฝุ่นได้ดีกว่าแสงที่ตามองเห็นมาก ทำให้เราสามารถเฝ้าสังเกตดาวฤกษ์เกิดใหม่ในเมฆโมเลกุลและในใจกลางของดาราจักรต่างๆ ได้[15] โมเลกุลบางชนิดปลดปล่อยคลื่นอินฟราเรดออกมาแรงมาก ซึ่งทำให้เราสามารถศึกษาลักษณะทางเคมีในอวกาศได้ เช่น การตรวจพบน้ำบนดาวหาง เป็นต้น[16]

[แก้] ดาราศาสตร์พลังงานสูง

ภาพถ่ายดาราจักร M81 ในรังสีอัลตราไวโอเล็ต โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ GALEX[แก้] ดาราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลต
ดูบทความหลักที่ ดาราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลต
ดาราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลตเป็นการศึกษาวัตถุทางดาราศาสตร์ในช่วงความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงม่วง คือประมาณ 10-3200 Å (10-320 นาโนเมตร)[12] แสงที่ความยาวคลื่นนี้จะถูกชั้นบรรยากาศของโลกดูดซับไป ดังนั้นการสังเกตการณ์จึงต้องกระทำที่ชั้นบรรยากาศรอบนอก หรือในห้วงอวกาศ การศึกษาดาราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลตจะใช้ในการศึกษาการแผ่รังสีความร้อนและเส้นการกระจายตัวของสเปกตรัมจากดาวฤกษ์สีน้ำเงินร้อนจัด (ดาวโอบี) ที่ส่องสว่างมากในช่วงคลื่นนี้ รวมไปถึงดาวฤกษ์สีน้ำเงินในดาราจักรอื่นที่เป็นเป้าหมายสำคัญในการสำรวจระดับอัลตราไวโอเลต วัตถุอื่นๆ ที่มีการศึกษาแสงอัลตราไวโอเลตได้แก่ เนบิวลาดาวเคราะห์ ซากซูเปอร์โนวา และนิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์[12] อย่างไรก็ดี แสงอัลตราไวโอเลตจะถูกฝุ่นระหว่างดวงดาวดูดซับหายไปได้ง่าย ดังนั้นการตรวจวัดแสงอัลตราไวโอเลตจากวัตถุจึงต้องนำมาปรับปรุงค่าให้ถูกต้องด้วย[12]

[แก้] ดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์
ดูบทความหลักที่ ดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์
ดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์ คือการศึกษาวัตถุทางดาราศาสตร์ในช่วงความยาวคลื่นของรังสีเอ็กซ์ โดยทั่วไปวัตถุจะแผ่รังสีเอ็กซ์ออกมาจากการแผ่รังสีซิงโครตรอน (เกิดจากอิเล็กตรอนแกว่งตัวเป็นคาบรอบเส้นแรงสนามแม่เหล็ก) จากการแผ่ความร้อนของแก๊สเบาบางที่อุณหภูมิสูงกว่า 107 เคลวิน (เรียกว่า การแผ่รังสี bremsstrahlung) และจากการแผ่ความร้อนของแก๊สหนาแน่นที่อุณหภูมิสูงกว่า 107 เคลวิน (เรียกว่า การแผ่รังสีของวัตถุดำ)[12] คลื่นรังสีเอ็กซ์มักถูกชั้นบรรยากาศของโลกดูดซับไป ดังนั้นการสังเกตการณ์ในช่วงความยาวคลื่นของรังสีเอ็กซ์จึงทำได้โดยอาศัยบอลลูนที่ลอยตัวสูงมากๆ หรือจากจรวด หรือจากยานสำรวจอวกาศเท่านั้น แหล่งกำเนิดรังสีเอ็กซ์ที่สำคัญได้แก่ ระบบดาวคู่รังสีเอ็กซ์ พัลซาร์ ซากซูเปอร์โนวา ดาราจักรชนิดรี กระจุกดาราจักร และแกนกลางดาราจักรกัมมันต์[12]

[แก้] ดาราศาสตร์รังสีแกมมา
ดูบทความหลักที่ ดาราศาสตร์รังสีแกมมา
ดาราศาสตร์รังสีแกมมาเป็นการศึกษาวัตถุทางดาราศาสตร์ในช่วงความยาวคลื่นที่สั้นที่สุดของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า เราสามารถสังเกตการณ์รังสีแกมมาโดยตรงได้จากดาวเทียมรอบโลก เช่น หอดูดาวรังสีแกมมาคอมป์ตัน หรือกล้องโทรทรรศน์เชเรนคอฟ กล้องเชเรนคอฟไม่ได้ตรวจจับรังสีแกมมาโดยตรง แต่ตรวจจับแสงวาบจากแสงที่ตามองเห็นอันเกิดจากการที่รังสีแกมมาถูกชั้นบรรยากาศของโลกดูดซับไป[17]

แหล่งกำเนิดรังสีแกมมาโดยมากมาจากการเกิดแสงวาบรังสีแกมมา ซึ่งเป็นรังสีแกมมาที่แผ่ออกจากวัตถุเพียงชั่วไม่กี่มิลลิวินาทีหรืออาจนานหลายพันวินาทีก่อนที่มันจะสลายตัวไป แหล่งกำเนิดรังสีแกมมาชั่วคราวเช่นนี้มีจำนวนกว่า 90% ของแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาทั้งหมด มีแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาเพียง 10% เท่านั้นที่เป็นแหล่งกำเนิดแบบถาวร ได้แก่ พัลซาร์ ดาวนิวตรอน และวัตถุที่อาจกลายไปเป็นหลุมดำได้ เช่น นิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์[12]

[แก้] การสังเกตการณ์อื่นนอกเหนือจากสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า
นอกเหนือจากการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์โดยการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแล้ว ยังมีการสังเกตการณ์อื่นๆ ที่ทำได้บนโลกเพื่อศึกษาวัตถุในระยะไกลมากๆ

ในการศึกษาดาราศาสตร์นิวตริโน นักดาราศาสตร์จะใช้ห้องทดลองใต้ดินพิเศษเช่น SAGE, GALLEX, และ Kamioka II/III เพื่อทำการตรวจจับนิวตริโน ซึ่งเป็นอนุภาคที่เกิดจากดวงอาทิตย์ แต่ก็อาจพบจากซูเปอร์โนวาด้วย[12] เราสามารถตรวจหารังสีคอสมิกซึ่งประกอบด้วยอนุภาคพลังงานสูงได้ขณะที่มันปะทะกับชั้นบรรยากาศของโลก เครื่องมือตรวจจับนิวตริโนในอนาคตอาจมีความสามารถพอจะตรวจจับนิวตริโนที่เกิดจากรังสีคอสมิกในลักษณะนี้ได้[12]

การเฝ้าสังเกตการณ์อีกแบบหนึ่งคือการสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วง ตัวอย่างหอสังเกตการณ์ลักษณะนี้ เช่น Laser Interferometer Gravitational Observatory (LIGO) แต่การตรวจหาคลื่นความโน้มถ่วงยังเป็นไปได้ยากอยู่[18]

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาดาราศาสตร์ดาวเคราะห์ ซึ่งทำได้โดยการสังเกตการณ์โดยตรงผ่านยานอวกาศ รวมถึงการเก็บข้อมูลระหว่างที่ยานเดินทางผ่านวัตถุท้องฟ้าต่างๆ โดยใช้เซ็นเซอร์ระยะไกล ใช้ยานสำรวจเล็กลงจอดบนวัตถุเป้าหมายเพื่อทำการศึกษาพื้นผิว หรือศึกษาจากตัวอย่างวัตถุที่เก็บมาจากปฏิบัติการอวกาศบางรายการที่สามารถนำชิ้นส่วนตัวอย่างกลับมาทำการวิจัยต่อได้

[แก้] ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี
ในการศึกษาดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี มีการใช้เครื่องมือหลากหลายชนิดรวมถึงแบบจำลองการวิเคราะห์ต่างๆ รวมถึงการจำลองแบบคำนวณทางคณิตศาสตร์ในคอมพิวเตอร์ เครื่องมือแต่ละชนิดล้วนมีประโยชน์แตกต่างกันไป แบบจำลองการวิเคราะห์ของกระบวนการจะเหมาะสำหรับใช้ศึกษาถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นอันสามารถสังเกตได้ ส่วนแบบจำลองคณิตศาสตร์สามารถแสดงถึงการมีอยู่จริงของปรากฏการณ์และผลกระทบต่างๆ ที่เราอาจจะมองไม่เห็น.[19][20]

นักดาราศาสตร์ทฤษฎีล้วนกระตือรือร้นที่จะสร้างแบบจำลองทฤษฎีเพื่อระบุถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปจากผลสังเกตการณ์ที่ได้รับ เพื่อช่วยให้ผู้สังเกตการณ์สามารถเลือกใช้หรือปฏิเสธแบบจำลองแต่ละชนิดได้ตามที่เหมาะสมกับข้อมูล นักดาราศาสตร์ทฤษฎียังพยายามสร้างหรือปรับปรุงแบบจำลองให้เข้ากับข้อมูลใหม่ๆ ในกรณีที่เกิดความไม่สอดคล้องกัน ก็มีแนวโน้มที่จะปรับปรุงแบบจำลองเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากันกับข้อมูล ในบางกรณีถ้าพบข้อมูลที่ขัดแย้งกับแบบจำลองอย่างมากเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ ก็อาจจะต้องล้มเลิกแบบจำลองนั้นไปก็ได้

หัวข้อต่างๆ ที่นักดาราศาสตร์ทฤษฎีสนใจศึกษาได้แก่ วิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของดาวฤกษ์ การก่อตัวของดาราจักร โครงสร้างขนาดใหญ่ของวัตถุในเอกภพ กำเนิดของรังสีคอสมิก ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป และฟิสิกส์จักรวาลวิทยา รวมถึงฟิสิกส์อนุภาคในทางดาราศาสตร์ด้วย การศึกษาฟิสิกส์ดาราศาสตร์เป็นเสมือนเครื่องมือสำคัญที่ใช้ตรวจวัดคุณสมบัติของโครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ ที่ซึ่งแรงโน้มถ่วงมีบทบาทสำคัญต่อปรากฏการณ์ทางกายภาพต่างๆ และเป็นพื้นฐานของการศึกษาฟิสิกส์หลุมดำ และการศึกษาคลื่นแรงโน้มถ่วง ยังมีทฤษฎีกับแบบจำลองอื่นๆ อีกซึ่งเป็นที่ยอมรับและร่วมศึกษากันโดยทั่วไป ในจำนวนนี้รวมถึงแบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม ทฤษฎีบิกแบง การพองตัวของจักรวาล สสารมืด และ พลังงานมืด ซึ่งกำลังเป็นหัวข้อสำคัญในการศึกษาดาราศาสตร์ในปัจจุบัน

ตัวอย่างหัวข้อการศึกษาดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี มีดังนี้

กระบวนการทางฟิสิกส์ เครื่องมือทางดาราศาสตร์ แบบจำลองทางทฤษฎี การทำนายปรากฏการณ์
ความโน้มถ่วง กล้องโทรทรรศน์วิทยุ วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ การสิ้นอายุขัยของดาวฤกษ์
นิวเคลียร์ฟิวชั่น กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล การขยายตัวของเอกภพ อายุของเอกภพ
บิกแบง สเปกโตรสโกปี การพองตัวของจักรวาล ความแบนของเอกภพ
ความผันผวนควอนตัม ดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป หลุมดำที่ใจกลางดาราจักรแอนดรอเมดา
การยุบตัวของความโน้มถ่วง การเกิดของธาตุต่าง ๆ


[แก้] สาขาวิชาหลักของดาราศาสตร์
[แก้] ดาราศาสตร์สุริยะ

ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ในรังสีอัลตราไวโอเลตจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ TRACE แสดงให้เห็นทรงกลมโฟโตสเฟียร์ดูบทความหลักที่ ดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์ เป็นเป้าหมายการศึกษาทางดาราศาสตร์ยอดนิยมแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 8 นาทีแสง เป็นดาวฤกษ์ซึ่งอยู่ในแถบลำดับหลักโดยเป็นดาวแคระประเภท G2 V มีอายุประมาณ 4.6 พันล้านปี ดวงอาทิตย์ของเรานี้ไม่นับว่าเป็นดาวแปรแสง แต่มีความเปลี่ยนแปลงในการส่องสว่างอยู่เป็นระยะอันเนื่องจากจากรอบปรากฏของจุดดับบนดวงอาทิตย์ อันเป็นบริเวณที่พื้นผิวดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นผิวอื่นๆ อันเนื่องมาจากผลของความเข้มข้นสนามแม่เหล็ก[21]

ดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่างมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดอายุของมัน นับแต่เข้าสู่แถบลำดับหลักก็ได้ส่องสว่างมากขึ้นถึง 40% แล้ว ความเปลี่ยนแปลงการส่องสว่างของดวงอาทิตย์ตามระยะเวลานี้มีผลกระทบอย่างสำคัญต่อโลกด้วย[22] ตัวอย่างเช่นการเกิดปรากฏการณ์ยุคน้ำแข็งสั้นๆ ช่วงหนึ่ง (Little Ice Age) ระหว่างช่วงยุคกลาง ก็เชื่อว่าเป็นผลมาจาก Maunder Minimum[23]

พื้นผิวรอบนอกของดวงอาทิตย์ที่เรามองเห็นเรียกว่า โฟโตสเฟียร์ เหนือพื้นผิวนี้เป็นชั้นบางๆ เรียกชื่อว่า โครโมสเฟียร์ จากนั้นเป็นชั้นเปลี่ยนผ่านซึ่งมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ชั้นนอกสุดมีอุณหภูมิสูงที่สุด เรียกว่า โคโรนา

ใจกลางของดวงอาทิตย์เรียกว่าย่านแกนกลาง เป็นเขตที่มีอุณหภูมิและความดันมากพอจะทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น เหนือจากย่านแกนกลางเรียกว่าย่านแผ่รังสี (radiation zone) เป็นที่ซึ่งพลาสมาแผ่คลื่นพลังงานออกมาในรูปของรังสี ชั้นนอกออกมาเป็นย่านพาความร้อน (convection zone) ซึ่งสสารแก๊สจะเปลี่ยนพลังงานกลายไปเป็นแก๊ส เชื่อว่าย่านพาความร้อนนี้เป็นกำเนิดของสนามแม่เหล็กที่ทำให้เกิดจุดดับบนดวงอาทิตย์[21]

ลมสุริยะเกิดจากอนุภาคของพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ ซึ่งจะแผ่ออกไปจนกระทั่งถึงแนว heliopause เมื่อลมสุริยะทำปฏิกิริยากับสนามแม่เหล็กของโลก ทำให้เกิดแนวการแผ่รังสีแวนอัลเลนและออโรร่า ในตำแหน่งที่เส้นแรงสนามแม่เหล็กโลกไหลเวียนในชั้นบรรยากาศ[24]

[แก้] วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์

การหักเหของลมสุริยะจากผลของสนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์ดูบทความหลักที่ วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์
วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย และวัตถุท้องฟ้าอื่นๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ตลอดจนถึงบรรดาดาวเคราะห์นอกระบบด้วย วัตถุในระบบสุริยะจะเป็นที่นิยมศึกษาค้นคว้ามากกว่า ในช่วงแรกสามารถสังเกตการณ์ได้ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ต่อมาจึงใช้การสังเกตการณ์โดยยานอวกาศมาช่วย การศึกษาสาขานี้ทำให้เราเข้าใจการเกิดและวิวัฒนาการของระบบดาวเคราะห์ได้ดีขึ้น แม้จะมีการค้นพบใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลาก็ตาม[25]

วัตถุในระบบสุริยะสามารถแบ่งออกได้เป็น ดาวเคราะห์รอบใน แถบดาวเคราะห์น้อย และดาวเคราะห์รอบนอก ในกลุ่มดาวเคราะห์รอบในประกอบด้วย ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ส่วนในกลุ่มดาวเคราะห์รอบนอกเป็นดาวแก๊สยักษ์ ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน และดาวเคราะห์หินขนาดเล็ก พลูโต[26] พ้นจากดาวเนปจูนไปจะมีแถบไคเปอร์ และกลุ่มเมฆออร์ต ซึ่งแผ่กว้างเป็นระยะทางถึงหนึ่งปีแสง

ดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นจากแผ่นจานฝุ่นที่หมุนวนรอบๆ ดวงอาทิตย์ เมื่อผ่านกระบวนการต่างๆ นานาเช่น การดึงดูดของแรงโน้มถ่วง การปะทะ การแตกสลาย และการรวมตัวกัน แผ่นจานฝุ่นเหล่านั้นก็ก่อตัวเป็นรูปร่างที่เรียกว่า ดาวเคราะห์ก่อนเกิด (protoplanet) แรงดันการแผ่รังสีของลมสุริยะจะพัดพาเอาสสารที่ไม่สามารถรวมตัวกันติดให้กระจายหายไป คงเหลือแต่ส่วนของดาวเคราะห์ที่มีมวลมากพอจะดึงดูดบรรยากาศชั้นแก๊สของตัวเอาไว้ได้ ดาวเคราะห์ใหม่เหล่านี้ยังมีการดึงดูดและปลดปล่อยสสารในตัวตลอดช่วงเวลาที่ถูกเศษสะเก็ดดาวย่อยๆ ปะทะตลอดเวลา การปะทะเหล่านี้ทำให้เกิดหลุมบ่อบนพื้นผิวดาวเคราะห์ดั่งเช่นที่ปรากฏบนพื้นผิวดวงจันทร์ ผลจากการปะทะนี้ส่วนหนึ่งอาจทำให้ดาวเคราะห์ก่อนเกิดแตกชิ้นส่วนออกมาและกลายไปเป็นดวงจันทร์ของมันก็ได้[27]

เมื่อดาวเคราะห์เหล่านี้มีมวลมากพอ โดยรวมเอาสสารที่มีความหนาแน่นแบบต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน กระบวนการนี้ทำให้ดาวเคราะห์ก่อตัวเป็นดาวแบบต่างๆ คือแกนกลางเป็นหิน หรือโลหะ ล้อมรอบด้วยชั้นเปลือก และพื้นผิวภายนอก แกนกลางของดาวเคราะห์อาจเป็นของแข็งหรือของเหลวก็ได้ แกนกลางของดาวเคราะห์บางดวงสามารถสร้างสนามแม่เหล็กของตัวเองขึ้นมาได้ ซึ่งช่วยปกป้องชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ดวงนั้นๆ จากผลกระทบของลมสุริยะ[28]

ความร้อนภายในของดาวเคราะห์หรือดวงจันทร์เป็นผลจากการปะทะกันที่ทำให้เกิดโครงร่างและสารกัมมันตรังสี (เช่น ยูเรเนียม ธอเรียม และ 26Al ดาวเคราะห์และดวงจันทร์บางดวงสะสมความร้อนไว้มากพอจะทำให้เกิดกระบวนการทางธรณีวิทยาเช่น ภูเขาไฟและแผ่นดินไหว ส่วนพวกที่สามารถสะสมชั้นบรรยากาศของตัวเองได้ ก็จะมีกระบวนการกัดกร่อนของลมและน้ำ ดาวเคราะห์ที่เล็กกว่าจะเย็นตัวลงเร็วกว่า และปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาจะหยุดลงเว้นแต่หลุมบ่อจากการถูกชนเท่านั้น[29]

[แก้] ดาราศาสตร์ดาวฤกษ์

เนบิวลาดาวเคราะห์รูปมด ที่แผ่แก๊สออกมาจากศูนย์กลางดาวฤกษ์ที่แตกดับในลักษณะสมมาตร ต่างจากการระเบิดโดยทั่วไปดูบทความหลักที่ ดาวฤกษ์
การศึกษาเกี่ยวกับดาวฤกษ์และวิวัฒนาการของดาวฤกษ์เป็นพื้นฐานสำคัญในการทำความเข้าใจกับเอกภพ วิทยาการฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของดวงดาวเกิดขึ้นมาจากการสังเกตการณ์และการพยายามสร้างทฤษฎีเพื่อทำความเข้าใจ รวมถึงการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นภายในดวงดาว

ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นในย่านอวกาศที่มีฝุ่นและแก๊สอยู่หนาแน่น เรียกชื่อว่าเมฆโมเลกุลขนาดยักษ์ เมื่อเกิดภาวะที่ไม่เสถียร ส่วนประกอบของเมฆอาจแตกสลายไปภายใต้แรงโน้มถ่วง และทำให้เกิดเป็นดาวฤกษ์ก่อนเกิดขึ้น บริเวณที่มีความหนาแน่นของแก๊สและฝุ่นสูงมากพอ และร้อนมากพอ จะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ซึ่งทำให้เกิดดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักขึ้น[30] ธาตุที่กำเนิดขึ้นในแกนกลางของดาวฤกษ์โดยมากเป็นธาตุที่หนักกว่าไฮโดรเจนและฮีเลียมทั้งสิ้น

คุณลักษณะต่างๆ ของดาวฤกษ์ขึ้นอยู่กับมวลเริ่มต้นของดาวฤกษ์นั้นๆ ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากจะมีความส่องสว่างสูง และจะใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนจากแกนกลางของมันเองไปอย่างรวดเร็ว เมื่อเวลาผ่านไป เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเหล่านี้จะค่อยๆ แปรเปลี่ยนกลายไปเป็นฮีเลียม ดาวฤกษ์ก็จะวิวัฒนาการไป การเกิดฟิวชั่นของฮีเลียมจะต้องใช้อุณหภูมิแกนกลางที่สูงกว่า ดังนั้นดาวฤกษ์นั้นก็จะขยายตัวใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกันก็เพิ่มความหนาแน่นแกนกลางของตัวเองด้วย ดาวแดงยักษ์จะมีช่วงอายุที่สั้นก่อนที่เชื้อเพลิงฮีเลียมจะถูกเผาผลาญหมดไป ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าจะผ่านกระบวนการวิวัฒนาการได้มากกว่า โดยที่มีธาตุหนักหลอมรวมอยู่ในตัวเพิ่มมากขึ้น

การสิ้นสุดชะตากรรมของดาวฤกษ์ก็ขึ้นอยู่กับมวลของมันเช่นกัน ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของเรามากกว่า 8 เท่าจะแตกสลายกลายไปเป็นซูเปอร์โนวา ขณะที่ดาวฤกษ์ที่เล็กกว่าจะกลายไปเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ และวิวัฒนาการต่อไปเป็นดาวแคระขาว ซากของซูเปอร์โนวาคือดาวนิวตรอนที่หนาแน่น หรือในกรณีที่ดาวฤกษ์นั้นมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของเรากว่า 3 เท่า มันจะกลายไปเป็นหลุมดำ[31] สำหรับดาวฤกษ์ที่เป็นระบบดาวคู่อาจมีวิวัฒนาการที่แตกต่างออกไป เช่นอาจมีการถ่ายเทมวลแก่กันแล้วกลายเป็นดาวแคระขาวแบบคู่ซึ่งสามารถจะกลายไปเป็นซูเปอร์โนวาได้ การเกิดเนบิวลาดาวเคราะห์และซูเปอร์โนวาเป็นการกระจายสสารธาตุออกไปสู่สสารระหว่างดาว หากไม่มีกระบวนการนี้แล้ว ดาวฤกษ์ใหม่ๆ (และระบบดาวเคราะห์ของมัน) ก็จะก่อตัวขึ้นมาจากเพียงไฮโดรเจนกับฮีเลียมเท่านั้น

[แก้] ดาราศาสตร์ดาราจักร

การสังเกตการณ์และศึกษาโครงสร้างแขนกังหันของดาราจักรทางช้างเผือกดูบทความหลักที่ ดาราศาสตร์ดาราจักร
ระบบสุริยะของเราโคจรอยู่ภายในดาราจักรทางช้างเผือก ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคาน และเป็นดาราจักรสมาชิกแห่งหนึ่งในกลุ่มท้องถิ่น ดาราจักรนี้เป็นกลุ่มแก๊ส ฝุ่น ดาวฤกษ์ และวัตถุอื่นๆ อีกจำนวนมากที่หมุนวนไปรอบกัน โดยมีแรงโน้มถ่วงกระทำต่อกันทำให้ดึงดูดกันไว้ ตำแหน่งของโลกอยู่ที่แขนฝุ่นกังหันด้านนอกข้างหนึ่งของดาราจักร ดังนั้นจึงมีบางส่วนของทางช้างเผือกที่ถูกบังไว้และไม่สามารถมองเห็นได้

ที่ใจกลางของทางช้างเผือกมีลักษณะคล้ายดุมกังหันขนาดใหญ่ ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ตั้งของหลุมดำมวลยวดยิ่ง รอบๆ ดุมกังหันเป็นแขนก้นหอยชั้นต้นมี 4 ปลายหมุนอยู่รอบๆ แกน เป็นย่านที่มีการเกิดใหม่ของดาวฤกษ์ดำเนินอยู่ มีดาวฤกษ์แบบดารากร 1 ที่อายุเยาว์อยู่ในย่านนี้เป็นจำนวนมาก ส่วนจานของก้นหอยประกอบด้วยทรงกลมฮาโล อันประกอบด้วยดาวฤกษ์แบบดารากร 2 ที่มีอายุมากกว่า ทั้งยังเป็นที่ตั้งของกลุ่มดาวฤกษ์หนาแน่นที่เรียกกันว่า กระจุกดาวทรงกลม[32][33]

ที่ว่างระหว่างดวงดาวมีสสารระหว่างดาวบรรจุอยู่ เป็นย่านที่มีวัตถุต่างๆ อยู่อย่างเบาบางมาก บริเวณที่หนาแน่นที่สุดคือเมฆโมเลกุล ซึ่งประกอบด้วยโมเลกุลของไฮโดรเจนและธาตุอื่นๆ ที่เป็นย่านกำเนิดของดาวฤกษ์ ในช่วงแรกจะมีการก่อตัวเป็นเนบิวลามืดรูปร่างประหลาดก่อน จากนั้นเมื่อมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นมากๆ ก็จะเกิดการแตกสลายแล้วก่อตัวใหม่เป็นดาวฤกษ์ก่อนเกิด[34]

เมื่อมีดาวฤกษ์มวลมากปรากฏขึ้นมากเข้า มันจะเปลี่ยนเมฆโมเลกุลให้กลายเป็นบริเวณเอชทูซึ่งเป็นย่านเรืองแสงเต็มไปด้วยแก๊สและพลาสมา ลมดาวฤกษ์กับการระเบิดซูเปอร์โนวาของดาวเหล่านี้จะทำให้กลุ่มเมฆกระจายตัวกันออกไป แล้วเหลือแต่เพียงกลุ่มของดาวฤกษ์จำนวนหนึ่งที่เกาะกลุ่มกันเป็นกระจุกดาวเปิดอายุน้อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปกระจุกดาวเหล่านี้ก็จะค่อยๆ กระจายห่างกันออกไป แล้วกลายไปเป็นประชากรดาวดวงหนึ่งในทางช้างเผือก

การศึกษาจลนศาสตร์ของมวลสารในทางช้างเผือกและดาราจักรต่างๆ ทำให้เราทราบว่า มวลที่มีอยู่ในดาราจักรนั้นแท้จริงมีมากกว่าสิ่งที่เรามองเห็น ทฤษฎีเกี่ยวกับสสารมืดจึงเกิดขึ้นเพื่ออธิบายปรากฏการณ์นี้ แม้ว่าธรรมชาติของสสารมืดยังคงเป็นสิ่งลึกลับไม่มีใครอธิบายได้[35]

[แก้] ดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบ

ภาพแสดงวัตถุทรงรีสีน้ำเงินจำนวนมากที่เป็นภาพสะท้อนของดาราจักรแห่งเดียวกัน เป็นผลกระทบจากเลนส์ความโน้มถ่วงที่เกิดจากกระจุกดาราจักรสีเหลืองใกล้ศูนย์กลางของภาพดูบทความหลักที่ ดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบ
การศึกษาวัตถุที่อยู่ในห้วงอวกาศอื่นนอกเหนือจากดาราจักรของเรา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักร การศึกษารูปร่างลักษณะและการจัดประเภทของดาราจักร การสำรวจดาราจักรกัมมันต์ การศึกษาการจัดกลุ่มและกระจุกดาราจักร ซึ่งในหัวข้อหลังนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจกับโครงสร้างขนาดใหญ่ของจักรวาล

ดาราจักรส่วนใหญ่จะถูกจัดกลุ่มตามรูปร่างลักษณะที่ปรากฏ เข้าตามหลักเกณฑ์ของการจัดประเภทดาราจักร ซึ่งมีกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ ดาราจักรชนิดก้นหอย ดาราจักรชนิดรี และดาราจักรไร้รูปแบบ[36]

ลักษณะของดาราจักรคล้ายคลึงกับชื่อประเภทที่กำหนด ดาราจักรชนิดรีจะมีรูปร่างในภาคตัดขวางคล้ายคลึงกับรูปวงรี ดาวฤกษ์จะโคจรไปแบบสุ่มโดยไม่มีทิศทางที่แน่ชัด ดาราจักรประเภทนี้มักไม่ค่อยมีฝุ่นระหว่างดวงดาวหลงเหลือแล้ว ย่านกำเนิดดาวใหม่ก็ไม่มี และดาวฤกษ์ส่วนใหญ่จะมีอายุมาก เรามักพบดาราจักรชนิดรีที่บริเวณใจกลางของกระจุกดาราจักร หรืออาจเกิดขึ้นจากการที่ดาราจักรขนาดใหญ่สองแห่งปะทะแล้วรวมตัวเข้าด้วยกันก็ได้

ดาราจักรชนิดก้นหอยมักมีรูปทรงค่อนข้างแบน เหมือนแผ่นจานหมุน และส่วนใหญ่จะมีดุมหรือมีแกนรูปร่างคล้ายคานที่บริเวณใจกลาง พร้อมกับแขนก้นหอยสว่างแผ่ออกไปเป็นวง แขนก้นหอยนี้เป็นย่านของฝุ่นที่เป็นต้นกำเนิดของดาวฤกษ์ ดาวฤกษ์อายุน้อยมวลมากจะทำให้แขนนี้ส่องสว่างเป็นสีฟ้า ส่วนที่รอบนอกของดาราจักรมักเป็นกลุ่มของดาวฤกษ์อายุมาก ดาราจักรทางช้างเผือกของเราและดาราจักรแอนดรอเมดาก็เป็นดาราจักรชนิดก้นหอย

ดาราจักรไร้รูปแบบมักมีรูปร่างปรากฏไม่แน่ไม่นอน ไม่ใช่ทั้งดาราจักรชนิดรีหรือชนิดก้นหอย ประมาณหนึ่งในสี่ของจำนวนดาราจักรทั้งหมดที่พบเป็นดาราจักรชนิดไร้รูปแบบนี้ รูปร่างอันแปลกประหลาดของดาราจักรมักทำให้เกิดปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงแปลกๆ ขึ้นด้วย

ดาราจักรกัมมันต์คือดาราจักรที่มีการเปล่งสัญญาณพลังงานจำนวนมากออกมาจากแหล่งกำเนิดอื่นนอกเหนือจากดาวฤกษ์ ฝุ่น และแก๊ส แหล่งพลังงานนี้เป็นย่านเล็กๆ แต่หนาแน่นมากซึ่งอยู่ในแกนกลางดาราจักร โดยทั่วไปเชื่อกันว่ามีหลุมดำมวลยวดยิ่งอยู่ที่นั่นซึ่งเปล่งพลังงานรังสีออกมาเมื่อมีวัตถุใดๆ ตกลงไปในนั้น ดาราจักรวิทยุคือดาราจักรกัมมันต์ชนิดหนึ่งที่ส่องสว่างมากในช่วงสเปกตรัมของคลื่นวิทยุ มันจะเปล่งลอนของแก๊สออกมาเป็นจำนวนมาก ดาราจักรกัมมันต์ที่แผ่รังสีพลังงานสูงออกมาได้แก่ ดาราจักรเซย์เฟิร์ต เควซาร์ และเบลซาร์ เชื่อว่าเควซาร์เป็นวัตถุที่ส่องแสงสว่างมากที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จักในเอกภพ[37]

โครงสร้างขนาดใหญ่ของจักรวาลประกอบด้วยกลุ่มและกระจุกดาราจักรจำนวนมาก โครงสร้างนี้มีการจัดลำดับชั้นโดยที่ระดับชั้นที่ใหญ่ที่สุดคือ มหากระจุกของดาราจักร เหนือกว่านั้นมวลสารจะมีการโยงใยกันในลักษณะของใยเอกภพและกำแพงเอกภพ ส่วนที่ว่างระหว่างนั้นมีแต่สูญญากาศ[38]

[แก้] จักรวาลวิทยา
ดูบทความหลักที่ จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ
จักรวาลวิทยา (อังกฤษ: cosmology; มาจากคำในภาษากรีกว่า κοσμος "cosmos" หมายถึง เอกภพ และ λογος หมายถึง การศึกษา) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเอกภพทั้งหมดในภาพรวม

การสังเกตการณ์โครงสร้างขนาดใหญ่ของเอกภพ เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่เรียกว่า จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ ช่วยให้เรามีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการกำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปสำหรับพื้นฐานของจักรวาลวิทยาสมัยใหม่ ได้แก่ ทฤษฎีบิกแบง ซึ่งกล่าวว่าเอกภพของเรากำเนิดมาจากจุดเพียงจุดเดียว หลังจากนั้นจึงขยายตัวขึ้นเป็นเวลากว่า 13.7 พันล้านปีมาแล้ว หลักการของทฤษฎีบิกแบงเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่การค้นพบรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล ในปี ค.ศ. 1965

ตลอดช่วงเวลาการขยายตัวของเอกภพนี้ เอกภพได้ผ่านขั้นตอนของวิวัฒนาการมามากมายหลายครั้ง ในช่วงแรก ทฤษฎีคาดการณ์ว่าเอกภพน่าจะผ่านช่วงเวลาการพองตัวของจักรวาลที่รวดเร็วมหาศาล ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกันและเสมอกันในทุกทิศทางในสภาวะเริ่มต้น หลังจากนั้น นิวคลีโอซินทีสิสจึงทำให้เกิดธาตุต่างๆ ขึ้นมากมายในเอกภพยุคแรก

เมื่อมีอะตอมแรกเกิดขึ้น จึงมีการแผ่รังสีผ่านอวกาศ ปลดปล่อยพลังงานออกมาดั่งที่ทุกวันนี้เรามองเห็นเป็นรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล เอกภพขยายตัวผ่านช่วงเวลาของยุคมืดเพราะไม่ค่อยมีแหล่งกำเนิดพลังงานของดาวฤกษ์[39]

เริ่มมีการจัดโครงสร้างลำดับชั้นของสสารขึ้นนับแต่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของสสาร สสารที่รวมกลุ่มกันอยู่เป็นบริเวณหนาแน่นที่สุดกลายไปเป็นกลุ่มเมฆแก๊สและดาวฤกษ์ยุคแรกสุด ดาวฤกษ์มวลมากเหล่านี้เป็นจุดกำเนิดของกระบวนการแตกตัวทางไฟฟ้าซึ่งเชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของธาตุหนักมากมายที่อยู่ในเอกภพยุคเริ่มต้น

ผลจากแรงโน้มถ่วงทำให้มีการดึงดูดรวมกลุ่มกันเกิดเป็นใยเอกภพ มีช่องสูญญากาศเป็นพื้นที่ว่าง หลังจากนั้นโครงสร้างของแก๊สและฝุ่นก็ค่อยๆ รวมตัวกันเกิดเป็นดาราจักรยุคแรกเริ่ม เมื่อเวลาผ่านไป มันดึงดูดสสารต่างๆ เข้ามารวมกันมากขึ้น และมีการจัดกลุ่มโครงสร้างเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มและกระจุกดาราจักร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างขนาดใหญ่คือมหากระจุกดาราจักร[40]

โครงสร้างพื้นฐานที่สุดของจักรวาลคือการมีอยู่ของสสารมืดและพลังงานมืด ในปัจจุบันเราเชื่อกันว่าทั้งสองสิ่งนี้มีอยู่จริง และเป็นส่วนประกอบถึงกว่า 96% ของความหนาแน่นทั้งหมดของเอกภพ เหตุนี้การศึกษาฟิสิกส์ในยุคใหม่จึงเป็นความพยายามทำความเข้าใจกับองค์ประกอบเหล่านี้[41]

[แก้] ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสาขาอื่น
การศึกษาดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สาขาอื่นมากยิ่งขึ้น ดังนี้

โบราณดาราศาสตร์ (Archaeoastronomy) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับวิทยาการดาราศาสตร์ในยุคโบราณหรือยุคดั้งเดิม โดยพิจารณาถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรม อาศัยหลักฐานในทางโบราณคดีและมานุษยวิทยาเข้ามาช่วย
ชีววิทยาดาราศาสตร์ (Astrobiology) เป็นการศึกษาการมาถึงและวิวัฒนาการของระบบชีววิทยาในเอกภพ ที่สำคัญคือการศึกษาและตรวจหาความเป็นไปได้ของสิ่งมีชีวิตในโลกอื่น
เคมีดาราศาสตร์ (Astrochemistry) เป็นการศึกษาลักษณะทางเคมีที่พบในอวกาศ นับแต่การก่อตัว การเกิดปฏิกิริยา และการสูญสลาย มักใช้ในการศึกษาเมฆโมเลกุล รวมถึงดาวฤกษ์อุณหภูมิต่ำต่างๆ เช่น ดาวแคระน้ำตาลและดาวเคราะห์ ส่วน เคมีจักรวาล (Cosmochemistry) เป็นการศึกษาลักษณะทางเคมีที่พบในระบบสุริยะ รวมถึงกำเนิดของธาตุและการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของไอโซโทป ทั้งสองสาขานี้คาบเกี่ยวกันระหว่างศาสตร์ทางเคมีและดาราศาสตร์
นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับ การวัดตำแหน่งดาว (Astrometry) และกลศาสตร์ท้องฟ้า (Celestial Mechanics) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับตำแหน่งและการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า การระบุพิกัดและจลนศาสตร์ของวัตถุท้องฟ้า ลักษณะของวงโคจร ความโน้มถ่วง และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชากลศาสตร์และฟิสิกส์

[แก้] ดาราศาสตร์สมัครเล่น
ดูบทความหลักที่ ดาราศาสตร์สมัครเล่น

นักดาราศาสตร์สมัครเล่นสามารถเฝ้าสังเกตสิ่งที่สนใจเป็นพิเศษ และบ่อยครั้งที่ผลการสังเกตการณ์ของพวกเขากลายเป็นหัวข้อสำคัญทางวิชาการดาราศาสตร์ เป็นสาขาวิชาหนึ่งทางวิทยาศาสตร์ที่บุคคลทั่วไปสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างมากที่สุด[42]

นับแต่อดีตมา นักดาราศาสตร์สมัครเล่นได้สังเกตพบวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญมากมายด้วยเครื่องมือที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเอง เป้าหมายในการสังเกตการณ์ของนักดาราศาสตร์สมัครเล่นโดยมากได้แก่ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ดาวหาง ฝนดาวตก และวัตถุในห้วงอวกาศลึกอีกจำนวนหนึ่งเช่น กระจุกดาว กระจุกดาราจักร หรือเนบิวลา สาขาวิชาย่อยสาขาหนึ่งของดาราศาสตร์สมัครเล่น คือการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการถ่ายภาพในท้องฟ้ายามราตรี นักดาราศาสตร์สมัครเล่นส่วนมากจะเจาะจงเฝ้าสังเกตวัตถุท้องฟ้าหรือปรากฏการณ์บางอย่างที่พวกเขาสนใจเป็นพิเศษ[43][44]

ส่วนใหญ่แล้วนักดาราศาสตร์สมัครเล่นจะสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในคลื่นที่ตามองเห็น แต่ก็มีการทดลองเล็กๆ อยู่บ้างที่กระทำในช่วงคลื่นอื่นนอกจากคลื่นที่ตามองเห็น เช่นการใช้ฟิลเตอร์แบบอินฟราเรดติดบนกล้องโทรทรรศน์ หรือการใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุ เป็นต้น นักดาราศาสตร์สมัครเล่นผู้บุกเบิกในการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุ คือ คาร์ล แจนสกี (Karl Jansky) ผู้เริ่มเฝ้าสังเกตท้องฟ้าในช่วงคลื่นวิทยุตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 ยังมีนักดาราศาสตร์สมัครเล่นอีกจำนวนหนึ่งที่ใช้กล้องโทรทรรศน์ประดิษฐ์เองที่บ้าน หรือใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุที่แต่เดิมสร้างมาเพื่องานวิจัยทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันได้เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าไปใช้งานได้ด้วย[45][46]

มีบทความทางดาราศาสตร์มากมายที่ส่งมาจากนักดาราศาสตร์สมัครเล่น อันที่จริงแล้ว นี่เป็นหนึ่งในไม่กี่สาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ที่มือสมัครเล่นก็สามารถมีส่วนร่วมหรือเขียนบทความสำคัญๆ ขึ้นมาได้ นักดาราศาสตร์สมัครเล่นสามารถตรวจวัดวงโคจรโดยละเอียดของดาวเคราะห์ขนาดเล็กได้ พวกเขาค้นพบดาวหาง และทำการเฝ้าสังเกตดาวแปรแสง ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิตอลทำให้นักดาราศาสตร์สมัครเล่นมีความสามารถในการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น และหลายๆ ภาพก็เป็นภาพปรากฏการณ์อันสำคัญทางดาราศาสตร์ด้วย[47][48][49]

[แก้] ปีดาราศาสตร์สากล 2009
ดูบทความหลักที่ ปีดาราศาสตร์สากล
ปี ค.ศ. 2009 เป็นปีที่ครบรอบ 400 ปี นับจากกาลิเลโอได้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้นเพื่อทำการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ และพบหลักฐานยืนยันแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาลที่นำเสนอโดย นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส ไม่นานก่อนหน้านั้น การค้นพบนี้ถือเป็นการปฏิวัติแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับจักรวาล และเป็นการบุกเบิกการศึกษาดาราศาสตร์ยุคใหม่โดยอาศัยกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นตามที่เทคโนโลยีของกล้องโทรทรรศน์พัฒนาขึ้น

องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปี ค.ศ. 2009 เป็นปีดาราศาสตร์สากล โดยได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2008 กิจกรรมต่างๆ ดำเนินการโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล และได้รับการสนับสนุนจากองค์การยูเนสโก ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของสหประชาชาติที่รับผิดชอบงานด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการที่กรุงปารีส ในวันที่ 15-16 มกราคม ค.ศ. 2009[50]

สหภาพโซเวียต

สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (รัสเซีย: Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; อังกฤษ: The Union of Soviet Socialist Republics - USSR) นิยมเรียกสั้นว่า สหภาพโซเวียต (อังกฤษ: Soviet Union) เคยเป็นประเทศขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของทวีปยูเรเชีย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) อยู่มาจนกระทั่งล่มสลายในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991)

การก่อตัวของสหภาพโซเวียตเกิดขึ้นเมื่อการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 ถึงจุดสูงสุด โค่นล้มการปกครองของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 สหภาพโซเวียตเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ประเทศแรกของโลก โดยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของกลุ่มบอลเชวิค (ต่อมาเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต) เมื่อปี พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) องค์กรทางการเมืองที่ปกครองประเทศมีพรรคเดียว คือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายต่าง ๆ รวมทั้งนโยบายต่างประเทศ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อกองทัพแดงได้ทำลายกองทัพนาซีจนย่อยยับ และยึดครองกรุงเบอร์ลินได้แล้ว สหภาพโซเวียตได้ทำการก่อตั้งรัฐสังคมนิยมในประเทศที่โซเวียตยึดครองจากฝ่ายนาซีในแนวรบด้านตะวันออก จนเกิดเป็นโลกตะวันออกซึ่งเป็นหนึ่งขั้วมหาอำนาจในช่วงสงครามเย็น

เขตแดนของสหภาพโซเวียตเปลี่ยนแปลงเสมอ ก่อนการล่มสลายมีเขตแดนอยู่ในแนวใกล้เคียงกับปลายยุคจักรวรรดิรัสเซีย ไม่รวมประเทศโปแลนด์และฟินแลนด์ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ โปแลนด์ ฮังการี บัลแกเรีย โรมาเนีย เชโกสโลวาเกีย ตุรกี อิหร่าน อัฟกานิสถาน จีน มองโกเลีย และเกาหลีเหนือ อีกทั้งยังมีพรมแดนทางทะเลใกล้กับมลรัฐอะแลสกาของสหรัฐอเมริกาด้วย

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประวัติศาสตร์
1.1 การปฏิวัติรัสเซีย และการก่อตั้งสหภาพโซเวียต
1.2 ยุคสตาลิน (ค.ศ. 1922-1953)
1.3 ยุคครุสชอฟ (ค.ศ. 1953-1964)
1.4 ยุคเบรสเนฟ (ค.ศ. 1964-1982)
1.5 การปฏิรูปของกอร์บาชอฟ และการล่มสลายของสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1985-1991)
1.6 ประเทศที่แยกตัวจากสหภาพโซเวียต
2 นโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียต
3 วันหยุด
4 แหล่งข้อมูลอื่น


[แก้] ประวัติศาสตร์

วลาดิมีร์ เลนินผู้นำการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917[แก้] การปฏิวัติรัสเซีย และการก่อตั้งสหภาพโซเวียต
ดูบทความหลักที่ การปฏิวัติรัสเซีย พ.ศ. 2460 และ สงครามกลางเมืองรัสเซีย
สหภาพโซเวียตถูกก่อตั้งมาจากการยึดอำนาจของพรรคบอลเชวิก โดยยึดอำนาจจากพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 นำโดย วลาดิมีร์ เลนิน เรียกการปฏิวัติครั้งนั้นว่าการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 เกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2460 ซึ่งอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การปฏิวัติครั้งนั้นส่งผลให้ รัฐบาลของกษัตริย์ถูกยกเลิก ระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ถูกยกเลิก ก่อเกิดรัฐสังคมนิยมขึ้นมาแทน และเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ราชวงศ์โรมานอฟในเวลาต่อมา ผลอื่นๆคือ กิจการธนาคารและโรงงานทั้งหมดถูกโอนเป็นของรัฐ และบัญชีส่วนบุคคลทั้งหมดถูกโอนให้แก่รัฐ และสหภาพโซเวียตถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1

[แก้] ยุคสตาลิน (ค.ศ. 1922-1953)

โจเซฟ สตาลินในปี ค.ศ. 1942นับตั้งแต่สตาลินได้ถูกแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. 1922 สตาลินได้ดำเนินนโยบายแบบรวมอำนาจ แข็งกร้าว และรุนแรง เขาได้ริเริ่มแผนปฏิรูป 5 ปี เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม แผนดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางการทหารและเศรษฐกิจ โดยเน้นการพึ่งตนเองเป็นหลัก นโยบายดังกล่าวได้ทำให้เกิดการก่อตั้งนารวม (Collective farm) ขึ้น ส่งผลให้ชาวนาผู้ถือครองที่ดินอยู่ก่อนเกิดความไม่พอใจ สตาลินจึงสร้างค่ายกักกัน (Gulak) ขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ในการคุมขังผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเขา ตลอดการปกครองของสตาลินมีผู้คาดการณ์ว่ามีนักโทษเสียชีวิตในค่ายกักกันถึง 60 ล้านคน สตาลินได้ทำการกวาดล้างผู้ต่อต้านครั้งใหญ่ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1930 ซึ่งบุคคลเหล่านั้นรวมถึงสมาชิกพรรคบอลเชวิคหลายๆคนซึ่งเคยร่วมกับเลนินในการทำการปฏิวัติรัสเซียปี ค.ศ. 1917 ด้วย

ในปี ค.ศ. 1932 สหภาพโซเวียตได้มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อลดอาวุธ ณ กรุงเวียนนา ในปีถัดมาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้ถูกสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการ

ในปลายทศวรรษที่ 1930 สหภาพโซเวียตได้ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับนาซีเยอรมนีและในปีเดียวกันความล้มเหลวในการเจรจาให้ฟินแลนด์เลื่อนเขตแดนให้ห่างจากเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก (เลนินกราดในสมัยนั้น) ออกไปอีก 25 กิโลเมตร ทำให้สหภาพโซเวียตได้ใช้กำลังบุกฟินแลนด์ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของสหภาพโซเวียต

แม้ว่าสหภาพโซเวียตและนาซีเยอรมนีจะได้ทำข้อตกลงไม่รุกราน แต่นาซีเยอรมนีได้ละเมิดข้อตกลงและรุกรานสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 แม้ว่ากองทัพของสหภาพโซเวียตจะมียุทโธปรณ์ที่ทันสมัยซึ่งเป็นผลมาจากแผนปฏิรูป 5 ปี แต่กองทัพแดง ขาดผู้นำาทางการทหารซึ่งเป็นผลมาจากการกวาดล้างครั้งใหญ่ของสตาลิน ทำให้กองทัพแดงขาดบุคลากรไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ในช่วงแรกของสงครามสหภาพโซเวียตพ่ายแพ้มาโดยตลอด แต่เมื่อกำลังเสริมจากไซบีเรียมาถึงสงครามจึงเปลี่ยนไป ฝ่ายเยอรมนีประสบกับความพ่ายแพ้มาตลอดจนเสียกรุงเบอร์ลินให้แก่สหภาพโซเวียต และสิ้นสุดสงครามเมื่อปี ค.ศ. 1945 อย่างไรก็ตาม สงครามดังกล่าวส่งผลให้ชาวรัสเซียเสียชีวิตไปกว่า 10 ล้านคน บ้านเรือน ไร่ นาเสียหายอย่างใหญ่หลวง เมื่อสิ้นสุดสงครามสหภาพโซเวียตได้สถาปนาการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ขึ้นในรัฐต่างๆที่ถูกปลดแอกจากการยึดครองของนาซีเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น โปแลนด์ โรมาเนีย เป็นต้น

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้ซ่อมแซมบ้านเมืองที่เสียหายจากสงคราม ฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ พร้อมทั้งแผ่ขยายอำนาจและก่อตั้งรัฐบริวารในยุโรบตะวันออก ต่อมาได้ก่อตั้งคณะกรรมการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ (Comecon) ในปีค.ศ. 1949 และสถาปนาสนธิสัญญาวอร์ซอในปี ค.ศ. 1955 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นับเป็นการเริ่มตันของสงครามเย็นอย่างแท้จริง ซึ่งเปลี่ยนประเทศพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่าง สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา ให้กลายเป็นศัตรูกับสหภาพโซเวียต

[แก้] ยุคครุสชอฟ (ค.ศ. 1953-1964)
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้
[แก้] ยุคเบรสเนฟ (ค.ศ. 1964-1982)
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้
[แก้] การปฏิรูปของกอร์บาชอฟ และการล่มสลายของสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1985-1991)
ดูบทความหลักที่ การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

มิคาอิล กอร์บาชอฟ
บอริส เยลซิน ยืนท้าทายคณะรัฐประหารอยู่ด้านหน้ารัฐสภา วันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991เมื่อ มิคาอิล กอร์บาชอฟได้ขึ้นครองอำนาจเขาได้ดำเนินนโยบายปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจในสหภาพโซเวียตที่เรียกว่าแผน "เปเรสตรอยกา" (Perestroika) ที่ให้อิสระเสรีแก่ประชาชนมากขึ้น เปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชน ซึ่งเป็นนโยบายที่ไม่มีผู้นำโซเวียตคนใดทำมาก่อน นอกจากนี้ เขาได้ดำเนินโยบายถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ในปีค.ศ. 1988 การปฏิรูปของกอร์บาชอฟได้ส่งผลให้เกิดกฎหมาย Law on Cooperatives Law on Cooperatives ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่สมัยเลนิน กฎหมายนี้ได้อนุญาตให้ประชาชนมีทรัพย์สินส่วนบุคคล และดำเนินกิจการเอกชนได้ ซึ่งขัดต่อลัทธิมาร์กซ์อย่างสิ้นเชิง

ต่อมา ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 ที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ได้มีมติเห็นชอบยกเลิกการรวมอำนาจไว้ที่พรรคคอมมิวนิสต์ นั่นหมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์ได้กระจายอำนาจสู่ประชาชนและทำให้เกิดการเลือกตั้ง ส่งผลให้อีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา รัฐจำนวน 15 รัฐของสหภาพโซเวียตได้รับรองกฎหมายเลือกตั้งทั่วไป และผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียในปี ค.ศ. 1991 คือ บอริส เยลซิน ได้คะแนนสูงสุดถึง 57.3% (มีการเลือกตั้งในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1991) เนื่องจากกอร์บาชอฟมีความพยายามที่จะลดความเป็นศูนย์กลางอำนาจของสหภาพโซเวียตสหภาพโซเวียตตึงได้มีแผนจะผ่านสนธิสัญญา New Union Treaty ซึ่งจะมาแทน สนธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพโซเวียต ปี ค.ศ. 1922 ซึ่งมีแผนจะลงนามในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1991 มีเนื้อหาแปลงสหภาพโซเวียตให้เป็นสหพันธรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำของรัฐนั้น ๆ

การปฏิรูปของกอร์บาชอฟส่งผลให้เกิดความไม่พอใจในหมู่สมาชิกซ้ายจัดของพรรคคอมมิวนิสต์ และเกิดเป็นความพยายามที่จะยึดอำนาจการบริหารจากกอร์บาชอฟ เรียกการรัฐประหารครั้งนั้นว่า การรัฐประหารเดือนสิงหาคม แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเนื่องจากเกิดการต่อต้านจากประชาชนส่วนมากในประเทศและเยลต์ซินสามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ ผลคือ คณะรัฐประหารถูกจับกุมและถูกสังหาร สนธิสัญญาถูกเห็นชอบ หลังจากผ่านสนธิสัญญารัฐย่อยต่างๆของสหภาพโซเวียตซึ่งมีความพยายามจะแยกตัวมากก่อนหน้านี้แล้ว ได้มีการลงประชามติเห็นชอบการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต รัฐย่อยต่างๆจึงได้แยกตัวจากสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์ ท้ายสุดในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1991 กอร์บาชอฟได้เห็นชอบโอนอำนาจการบริหารทั้งหมดจากประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต ให้กับ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และในคืนวันนั้นธงชาติสหภาพโซเวียตได้ถูกเชิญลงจากยอดเสาที่เครมลิน อันเป็นการสิ้นสุดสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์

[แก้] ประเทศที่แยกตัวจากสหภาพโซเวียต
สหภาพโซเวียต ล่มสลายเมื่อปี 1991 ทำให้สาธารณรัฐต่าง ๆ แบ่งแยกตั้งเป็นประเทศทั้งหมด 15 ประเทศ หลังจากการแยกตัวออกมาปกครองอย่างเอกเทศแล้ว ประเทศเหล่านี้ยังมีการรวมกลุ่มกันเป็น Commonwealth of Independent States (CIS) ยกเว้น เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย


แผนที่สหภาพโซเวียตเมื่อปี พ.ศ. 2532ประเทศเอสโตเนีย
ประเทศลัตเวีย
ประเทศลิทัวเนีย
ประเทศเบลารุส
ประเทศยูเครน
ประเทศรัสเซีย
ประเทศอาร์เมเนีย
ประเทศอาเซอร์ไบจาน
ประเทศคาซัคสถาน
ประเทศคีร์กีซสถาน
ประเทศมอลโดวา
ประเทศทาจิกิสถาน
ประเทศเติร์กเมนิสถาน
ประเทศอุซเบกิสถาน
ประเทศจอร์เจีย
[แก้] นโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียต
ยุทธศาสตร์โซเวียต
เป็นศิลปที่มุ่งที่จะแสวงหาผลตอบแทนที่สูงที่สุดแก่โซเวียตเท่าที่ทำได้ในสภาวะจำกัด เพื่อรับใช้อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ จะแปรเปลี่ยนไปตามขั้นตอน อาจจะรุกไปข้างหน้าหรือถอยไปข้างหลังเพื่อรอจังหวะ โดยดำเนินการทั้งยุทธศาสตร์ทางตรง ได้แก่ การใช้กำลัง และยุทธศาสตร์ทางอ้อม เช่นทางจิตวิทยาหรือโฆษณาชวนเชื่อ
ยุทธศาสตร์ของโซเวียตได้ยึดถือแนวความคิดของเลนิน-สตาลิน ในเรื่อง “ความสัมพันธ์กำลังรบ” เป็นแนวในการดำเนินการประกอบกับทางเลือกต่างๆ ในการปฏิบัติซึ่งเรียกว่า ”ยุทธวิธี” (Tactics) บางครั้งยุทธวิธีอาจสวนทางกับอุดมการณ์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจตัดสินใจว่าจะเลือกปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้ได้ประโยชน์ตอบแทนมากกว่า
หลักการในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียต

อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ เป็นองค์ประกอบตายตัวในนโยบายต่างประเทศ อาจมีการผ่อนปรนในบางครั้ง ถ้าเห็นว่าผลประโยชน์สำคัญของชาติ (Vital National Interest) นั้นมีความสำคัญกว่า บางครั้งอาจจะต้องชะลอเพื่อสร้างฐานที่แข็งแกร่งไปสู่ชัยชนะของการปฏิวัติโลก
ยุทธศาสตร์โซเวียต
ทิศทางปฏิบัติการ เป็นความพยายามเชื่อมต่อปฏิบัติการย่อยๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ยุทธวิธีมีความเป็นเอกภาพ มีความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายต่างประเทศมากกว่ายุทธศาสตร์ เป้าหมายเพื่อการเป็นผู้นำคอมมิวนิสต์ และบรรลุอุดมการณ์คอมมิวนิสต์
นโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียตสามารถแบ่งได้เป็น 3 ยุค คือ

นโยบายต่างประเทศก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
นโยบายต่างประเทศของโซเวียตยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นับตั้งแต่ปี 1945 -1985 สามารถแบ่งได้ดังนี้
นโยบายต่างประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
นโยบายต่างประเทศหลังทศวรรศที่ 1970
นโยบายต่างประเทศของโซเวียตช่วงก่อนการล่มสลาย
[แก้] วันหยุด
วันที่ ชื่อ ชื่อประจำท้องถิ่น หมายเหตุ
1 มกราคม วันปีใหม่ Новый Год
7 มกราคม วันคริสต์มาส Рождество วันคริสต์มาสตามนิกายออเทอร์ดอกซ์ ไม่ใช่วันหยุดประจำชาติ ในสหภาพโซเวียด
23 กุมภาพันธ์ วันทหารแดง День Советской Армии и Военно-Морского Флота ("วันกองทหารแห่งโซเวียด") เพื่อรำลึกการก่อตั้ง กองทัพแดง ในเดือนกุมภาพันธ์ ปีค.ศ. 1918 ขณะนี้รัสเซียเรียกวันนี้ว่า День Защитника Отечества
8 มีนาคม วันสตรีสากล Международный Женский День วันหยุดสากลให้แก่ความเท่าเทียมทางเพศแก่สตรี
12 เมษายน วันนักบินอวกาศ День Космонавтики (Day of Cosmonautics) День Космонавтики - คือวันที่ยูริ กาการินเป็นมนุษย์คนแรกได้ขึ้นไปในห้วงอวกาศ ในปีพ.ศ. 2504. ไม่ใช่วันหยุดประจำชาติในสหภาพโซเวียด.
1 พฤษภาคม วันแรงงานสากล (May Day) Первое Мая - День Солидарности Трудящихся ("International Day of Worker's Solidarity") Celebrated on May 1 and May 2. Now celebrated as "Celebration of Spring and Labor."
9 พฤษภาคม ชัยชนะเหนือเยอรมนี День Победы วันสิ้นสุดของมหาสงครามของผู้รักชาติ ซึ่งกองทัพแดง,เอาชนะนาซีเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่2, พ.ศ. 2488
7 ตุลาคม วันรัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียต День Конституции СССР เป็นวันที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2520 - เดิมก่อนหน้าวันได้ใช้วันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันรัฐธรรมนูญ
7 พฤศจิกายน การปฏิวัติสังคมนิยมในสหภาพโซเวียต Седьмое Ноября การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 ; ซึ่งเรียกวันนี้ว่า День Примирения и Согласия ("Day of Reconciliation and Agreement") และมีการฉลองอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน.