วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประวัติพระอัสสชิ

พระอัสสชิเถระ เป็นบุตรของพราหมณ์ผู้หนึ่งในกรุงกบิลพัสดุ์ บิดาของท่านเป็นหนึ่งในจำนวนพราหมณ์ 8 คนที่ได้รับเชิญไปทำนาย
พระลักษณะ และขนานพระนามเจ้าชายสิทธัตถะ ครั้งเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช โกณฑัญญพราหมณ์ ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในจำนวนพราหมณ์ 8 คนนั้นเชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะได้ตรัสรู้แน่นอน จึงได้ชักชวนท่านอัสสชิพร้อมสหาย ไปเฝ้าปรนนิบัติขณะที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ ณ อุรุเวลาเสนานิคม และเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ท่านอัสสชิพร้อมด้วยสหายได้พากันหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปกตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ครั้นเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ได้เสด็จไปโปรด โดยแสดงธรรมเทศนาชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว ท่านอัสสชิได้ดวงตาเห็นธรรม และได้บวชเป็นสาวกของพระพุทธองค์เช่นเดียวกับสหายทั้ง 4

หลังจากบรรลุพระอรหันต์แล้ว พระอัสสชิเถระได้เป็นหนึ่งในจำนวนพระสาวก 60รูปที่พระพุทธเจ้าทรงส่งไปประกาศ
พระศาสนารุ่นแรก ในเช้าวันหนึ่ง ท่านได้ออกบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ อิริยาบถอันสงบสำรวมขณะเดินบิณฑบาตของท่านได้ก่อให้เกิดความประทับใจแก่มาณพหนุ่มนามว่า อุปติสสะ ผู้พบเห็นท่านโดยบังเอิญ อุปติสสะจึงติดตามท่านไปห่าง ๆ ครั้นพอได้โอกาสขณะพระอัสสชิเถระนั่งฉันภัตตาหารอยู่ จึงเข้าไปนมัสการและเรียนธรรมะจากท่าน พระอัสสชิเถระออกตัวว่า ท่านบวชไม่นาน ไม่สามารถแสดงธรรมโดยพิสดารได้ อุปติสสะจึงกราบเรียนให้ท่านแสดงธรรมแต่โดยย่อ ท่านจึงแสดงธรรมโดยย่อว่า “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและการดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้อุปติสสะครั้งได้ฟังธรรมแล้วก็ได้ “ดวงตาเห็นธรรม” จึงรีบไปบอกแก่โกลิตะผู้เป็นสหาย และครั้งโกลิตะฟังธรรมนั้นแล้ว ก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นเดียวกันจึงได้พากันออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าพระอัสสชิเถระไม่ปรากฏว่าท่านมีความเชี่ยวชาญด้านใดเป็นพิเศษ ท่านมีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย สมถะ ชอบอยู่สงบเพียงลำพัง มีบุคลิกน่าเลื่อมใส สำรวมอินทรีย์ การคู้การเหยียดซึ่งมือและเท้า การเหลียวดูเป็นไปอย่างสงบสำรวม น่าเลื่อมใสยิ่ง และไม่ปรากฏว่าพระอัสสชิเถระมีอายุพรรษาเท่าใด ท่านนิพพานไปเงียบ ๆ โดยไม่มีกล่าวถึงไว้ในคัมภีร์ไหนเลย

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

1. พระอัสสชิเถระมีบุคลิกภาพที่น่าเลื่อมใส สมถะ สำรวมระวังกิริยามารยาท ดังที่อุปติสสะได้พบเห็นท่านแล้วเกิดความรู้สึกประทับใจ น่าเลื่อมใส ซึ่งบุคลิกภาพเช่นนี้เป็นสื่อที่ชักจูงให้ผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์ เข้ามาหา และมาสัมผัสรสพระธรรมเป็นอย่างดี บุคคลผู้สำรวมระวังรักษากิริยามารยาท ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจและน่าเลื่อมใสของผู้อื่น

2. พระอัสสชิเถระเป็นนักสอนศาสนาที่เชี่ยวชาญมิใช่น้อย การประกาศธรรม มิได้หมายความว่าจะต้องพูดเก่ง พูดได้ยืดยาว หากรู้จักพูด รู้จักสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รู้อุปนิสัยของผู้ฟังด้วยแล้ว แม้แสดงเพียงสังเขปก็สัมฤทธิ์ผล ดังท่านได้แสดงแก่อุปติสสมาณพนั้น

3. พระอัสสชิเถระเป็นผู้มีคุณูปการอันยิ่งใหญ่ที่ท่านทำไว้แก่พระพุทธศาสนา โดยได้เป็นผู้ชักชวนให้อุปติสสมาณพ และโกลิตะมาณพเข้ามาบวช ต่อมาท่านทั้งสองก็ได้เป็นพระอัครสาวกของพระพุทธเจ้าผู้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนา

ประวัติพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร

ท่านพระสารีบุตรเถระ เดิมชื่อว่า อุปติสสะ บิดาชื่อว่า วังคันตะพราหมณ์ มารดาชื่อว่า นางสารีพราหมณี บิดาเป็นนายบ้านตำบลนาลกะหรือนาลันทา เพราะเป็นบุตรของนางสารีจึงได้นามว่า สารีบุตร ท่านเกิดในตำบลบ้านนาลกะหรือนาลันทา ไม่ห่างจากกรุงราชคฤห์ เมื่อท่านเข้ามาอุปสมบทในพระธรรมวินัยแล้ว เพื่อนสพรหมจารี (ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน ในที่นี้หมายเอาภิกษุ) พากันเรียกท่านว่า พระสารีบุตร ทั้งนั้น ตระกูลพราหมณ์ของบิดาอุปติสสมาณพ เป็นตระกูลที่ร่ำรวย สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์สมบัติและบริวาร เมื่ออุปติสสมาณพเจริญวัยแล้วได้เล่าเรียนศิลปศาสตร์ มีปัญญาเฉียบแหลมเล่าเรียนได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว และได้เป็นเพื่อน ที่ชอบพอรักใคร่กันกับโกลิตมาณพ โมคคัลลานโคตร ผู้มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน และเป็นบุตรแห่งตระกูลที่ร่ำรวยเหมือนกัน เพราะว่าตระกูลทั้งสองนั้นเป็นเพื่อนกัน มีการติดต่อผูกพันกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ

อุปติสสมาณพและโกลิตมาณพ ได้ไปเที่ยวดูเขาเล่นมหรสพในกรุงราชคฤห์ด้วยกันเป็นประจำ ขณะกำลังชมดูอยู่นั้นก็เกิดความร่าเริงในเวลาถึงบทสนุก เกิดความสลดใจ ในเวลาถึงบทเศร้า ถึงตอนชอบใจก็ให้รางวัลนักแสดงด้วย วันหนึ่งมาณพ ๒ สหายนั้นชวนกันไปดูมหรสพเหมือนวันก่อน ๆ แต่ว่าไม่เกิดความสนุกสนานร่าเริงอะไรเลย คนที่กำลังแสดงอยู่นั้นอีกไม่ถึง ๑๐๐ ปีก็จะต้องตายกันไปหมด เมื่อมีความคิดตรงกันอย่างนั้น จึงได้พากันไปบวชเป็นลูกศิษย์ในสำนักของสัญชัยปริพาชก และได้เรียนความรู้จากอาจารย์จนหมดสิ้น จนอาจารย์ได้ให้ช่วยสั่งสอน ศิษย์คนอื่นในสำนักนั้นด้วย แต่สองสหายนั้นยังไม่พอใจกับความรู้เพียงนั้น จึงได้ตกลงทำกติกานัดหมายกันว่าจะออกแสวงหาโมกขธรรม คือธรรมเครื่องหลุดพ้น จากกิเลสต่าง ๆ อันได้แก่พระนิพพานอีกต่อไป และถ้าใครพบโมกขธรรมก่อนขอให้กลับมาบอกแก่กัน

สมัยนั้น พระบรมศาสดาได้ตรัสรู้แล้ว และได้ทรงแสดงธรรมสั่งสอนมหาชนยังสถานที่ต่าง ๆ เมื่อเสด็จมาถึงกรุงราชคฤห์และประทับอยู่ ที่พระมหาเวฬุวันมหาวิหาร วันหนึ่งท่านพระอัสสชิผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในพระปัญจวัคคีย์ ผู้ที่พระบรมศาสดาทรงส่งออกไปประกาศพระศาสนา ได้กลับมาเฝ้า ในตอนเช้าท่านก็ได้เข้าไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ อุปติสสปริพาชกเดินไปพบท่านในระหว่างทางก็เกิดความเลื่อมใส ในจริยาวัตรของท่าน และได้ถามถึงครูอาจารย์พร้อมกับขอร้องให้แสดงธรรมให้ฟังด้วย ท่านพระอัสสชิได้แสดงธรรมมีใจความย่อ ๆ ว่า "ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุและความดับแห่งธรรมนั้น พระศาสดาทรงสั่งสอนอย่างนี้" อุปติสสปริพาชก ได้ฟังแล้วได้ดวงตาเห็นธรรมคือบรรลุโสดาบัน แล้วกลับไปบอกข่าวเพื่อนโกลิตะ และแสดงธรรมให้ฟังตามที่ได้ฟังมาจนโกลิตะได้ดวงตาเห็นธรรม เหมือนกัน จึงชวนกันไปเฝ้าพระบรมศาสดา ครั้นไปลาอาจารย์สัญชัยแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาทูลขออุปสมบท พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงอนุญาต ให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา ทั้งสองคน ครั้นบวชแล้วภิกษุทั้งหลายพากันเรียกท่านว่า สารีบุตร และ โมคคัลลานะ

หลังจาก ได้อุปสมบทแล้ว พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่เหมาะแก่อุปนิสัยของพุทธบริษัท พวกภิกษุที่ร่วมฟังธรรมนั้นได้บรรลุพระอรหัตก่อน พระโมคคัลลานะอุปสมบทแล้ว ๗ วัน จึงได้สำเร็จพระอรหันต์ ฝ่ายพระสารีบุตรอุปสมบทแล้ว ๑๕ วัน จึงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ด้วยการฟังเทศนาชื่อว่า เวทนาปริคคหสูตร ที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงแก่ปริพาชกชื่อว่า ทีฆนขะะ ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฎ เมืองราชคฤห์ มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระสารีบุตรอุปสมบทได้ ๑๕ วันแล้ว พระบรมศาสดาเสด็จประทับอยู่ที่ถ้ำสุรขาตา เขาคิชฌกูฎ เมืองราชคฤห์ ปริพาชกคนหนึ่งชื่อ ทีฆนขอัคคิเวสนโคตร เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาแล้วกราบทูลความเห็นของตนว่า "ข้าแต่พระโคตมะ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่ ข้าพเจ้าไม่ชอบใจหมด" พระบรมศาสดาจึงตรัสตอบว่า "ดูก่อนอัคคิเวสนะ ถ้าอย่างนั้นความเห็นอย่างนั้น ก็ต้องไม่ควรแก่ท่าน ท่านต้องไม่ชอบใจความเห็นอย่างนั้น" ครั้นตรัสดังนี้แล้วก็ทรงแสดงทิฏฐิ ๓ อย่าง ให้ปริพาชกนั้นเห็นว่าเป็นโทษ และแนวทางละทิฏฐิ ๓ อย่างนั้น ลำดับนั้นทรงแสดงอุบายเครื่องไม่ยึดมั่นอีกต่อไป ขณะนั้นพระสารีบุตรนั่งถวายงานพัดอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ (หลัง) ของพระบรมศาสดา ได้ฟังพระธรรมเทศนาที่ตรัสแก่ทีฆนขปริพาชก แล้วใช้ปัญญาพิจารณาตามพระธรรมเทศนา จิตก็หลุดพ้น จากอาสวะ ไม่ยึดมั่น ถือมั่นด้วยอุปทาน ส่วนทีฆนขปริพาชกได้เพียงดวงตาเห็นธรรม หมดสิ้นความเคลือบแคลงสงสัยในพระพุทธศาสนา แล้วทูลแสดงตยเป็นอุบาสก

ท่านพระสารีบุตร เมื่อได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ปรากฏว่าท่านเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด ได้เป็นกำลังสำคัญของพระบรมศาสดาในการประกาศ พระศาสนา พร้อมกับได้รับตำแหน่งเป็นอัครสาวกเบื้องขวา พระพุทธองค์ทรงยกย่องว่า "เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ้งหลายในทางมีปัญญามาก" สามารถแสดงพระธรรมจักรและอริยสัจ ๔ ได้กว้างขวางพิสดารเหมือนกับพระพุทธเจ้า

ท่านพระสารีบุตร ยังมีคุณความดีอีกหลายประการที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่อง ในที่นี้จะขอกล่าวไว้เฉพาะที่สำคัญ ดังนี้

๑. ทรงยกย่องว่าพระสารีบุตรเป็นผู้มีความอนุเคราะห์เพื่อนบรรพชิต ด้วยกัน มีตัวอย่าง เช่น เมื่อครั้งพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่เมืองเทวทหะ พวกภิกษุพากันไปเฝ้าพระบรมศาสดาพร้อมกับทูลลาจะไปชนบท พระองค์ตรัสให้ไปลาพระสารีบุตรก่อนเผื่อว่าท่านพระสารีบุตรจะได้แนะนำสั่งสอนในการไปและการประพฤติปฏิบัติตัวในชนบทนั้น จะได้อยู่กันอย่างสำราญ ไม่มีความเดือดร้อนเสียหายอะไรขึ้น
๒. ทรงยกย่องว่าพระสารีบุตรเป็น เป็นคู่กับพระโมคคัลลานะ คือเป็นอัครสาวกฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย ตามที่ตรัสตอนหนึ่งว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายคบกับสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะเธอเป็นคนมีปัญาอนุเคราะห์เพื่อนบรรชิตทั้งหลาย สารีบุตรเปรียบเหมือนมารดาผู้ให้กำเนิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกที่เกิดแล้วน้น สารีบุตรย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณเบื้องบนที่สูงกว่านั้น" เพราะเหตุนี้เองจึงมีคำยกย่องพระสารีบุตรว่าเป็นอัครสาวกฝ่ายขวา พระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกฝ่ายซ้าย
๓. มีคำเรียกเพื่อยกย่องว่าพระสารีบุตร อีกอย่างหนึ่งว่า "พระธรรมเสนาบดี" ซึ่งเป็นคู่กับพระบรมศาสดาว่า "พระธรรมราชา"
๔. พระสารีบุตรมีปฏิภาณในการแสดงพระธรรมเทศนา คือชี้แจงแสดงให้ผู้ฟังเข้าใจได้ชัดเจน มีตัวอย่าง คือ พระยมกะมีความคิดเห็นว่าพระขีณาสพตายแล้วดับสูญ พวกภิกษุคัดค้านว่า เห็นอย่างนั้นผิด พระยมกะไม่เชื่อ แต่พวกภิกษุไม่อาจเปลื้องเธอจากความเห็นนั้นได้ จึงเชิญพระสารีบุตรไปช่วยชี้แจงแสดงให้ฟัง เธอจึงหายความสงสัยนั้น
๕. พระสารีบุตรเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที ตัวอย่าง เช่น ท่านได้ฟังเทศนาจากพระอัสสชิจนได้บรรลุพระโสดาบันแล้วมาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมา ท่านนับถือพระอัสสชิ ว่าเป็นอาจารย์ ทำการเคารพกราบไหว้อยู่เสมอ พอทราบว่าพระอัสสชิอยู่ทางทิศใด ท่านก็จะทำการยกมือไหว้และนอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น อีกเรื่องหนึ่งท่นเป็นผู้ช่วยเหลือให้ราธพราหมณ์ผู้ต้องการจะอุปสมบทในพระธรรมวินัย แต่ไม่มีพระรูปใดยอมบวชให้ จนในที่สุดพระสารีบุตรระลึกถึงอุปการคุณที่ราธพราหมณ์ถวายข้าว ๑ ทัพพี ในสมัยที่เข้าไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ จึงช่วยเหลือให้ได้บวชตามความประสงค์


อนึ่ง ท่านพระสารีบุตร นับได้ว่าเป็นกำลังสำคัญของพระบรมศาสดาในการประกาศพระศาสนาในสถานที่ต่าง ๆ ธรรมภาษิตของท่านจึงมีปรากฏอยู่มากมาย เช่น สังคีติสูตร เป็นต้น ยกเว้นพระพุทธภาษิตแล้ว ภาษิตของพระสารีบุตรมีมากกว่าของพระสาวกรูปอื่น ๆ

พระสารีบุตรนั้น นิพพานก่อนพระบรมศาสดา ก่อนแต่จะนิพพานท่านพิจารณาเห็นว่า สมควรที่จะนิพพานในห้องที่ตนเองคลอดจากท้องมารดา เมื่อคิดเช่นนั้นจึงเข้าไปกราบทูลสมเด็จพระบรมศาสดา แล้วเดินทางไปกับพระจุนทะผู้น้องชายพร้อมด้วยบริวาร เมื่อไปถึงบ้านเดิมแล้ว ก็เกิด ปักขันทิกาพาธ คือ โรคท้องร่วง ขึ้นในคืนนั้น ในเวลาที่ท่านกำลังอาพาธอยู่นั้น ก็ได้เทศนาโปรดมารดาจนได้บรรลุโสดาปัตติผล พอเวลาใกล้รุ่งของคืนเพ็ญเดือน ๑๒ ท่านก็ดับขันธปรินิพพาน พอรุ่งขึ้นพระจุนทะผู้น้องชายก็ได้ร่วมกับญาติทำฌาปนกิจสรีระของท่าน แล้วเก็บอัฐิธาตุนำไปถวายพระบรมศาสดา ซึ่งพระองค์ประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ในเมืองสาวัตถี พระพุทธองค์โปรดให้ก่อเจดีย์ บรรจุอัฐิธาตุของพระเถระไว้ ณ พระเชตวันมหาวิหารนั้น


ประวัติโมคคัลลานะ

ประวัติโมคคัลลานะ

ท่านมหาโมคคัลลานะ เป็นบุตรพราหมณ์ผู้เป็นนายบ้านชื่อว่า โกลิตะ มารดาชื่อนางโมคคัลลี แต่เดิมชื่อว่า โกลิตะ ตามโคตรแห่งบิดา และถูกเรียกชื่อเพราะ เป็นบุตรนางโมคคัลลีว่า โมคคัลลานะ พอเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว พวกภิกษุเรียกกันว่า พระโมคคัลลานะ ทั้งนั้นท่านเกิดใน โกลิตคามไม่ห่างจากเมืองราชคฤห์ สมัยเป็นเด็กได้เป็นสหายที่รักใคร่กันกับอุปติสสมาณพ ผู้มีอายุคราวเดียวกัน และตระกูลของทั้งสองนั้นมั่งคั่ง สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์และบริวารเท่า ๆ กัน มีความคุ้นเคยสนิทสนมกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เมื่อโกลิตมาณพเจริญวัยขึ้นก็ได้ำปศึกษาเล่าเรียนศิลปะด้วยกันกับอุปติสสมาณพ แม้จะไปเที่ยวหรือไปทำธุระอะไรก็มักจะไปด้วยกันอยู่เสมอ จนกระทั่งเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาก็บวชพร้อมกัน ต่างกันแต่ว่าได้ดวงตาเห็นธรรมครั้งแรกนั้นไม่พร้อมกัน เรื่องราวต่าง ๆ ก่อนอุปสมบทคล้าย ๆ กับพระสารีบุตรตามที่ได้บรรยายมาก่อนหน้านี้

หลังจากอุปสมบทแล้ว ๗ วัน ได้ไปทำความเพียรอยู่ที่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แขวงมคธ เกิดความอ่อนใจนั่งโงกง่วงอยู่ พระบรมศาสดาเสด็จไปที่นั่น ทรงสั่งสอน และแสดงอุบายสำหรับระงับความง่วง ๘ ประการ คือ
๑. โมคคัลลานะ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไร ความง่วงนั้นย่อมครอบงำได้ เธอควรทำในใจถึงสัญญานั้นให้มาก จะละความง่วงนั้นได้
๒. หากยังละไม่ได้ เธอควรตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ตนได้ฟังและได้เรียนมาแล้วด้วยใจของเธอเอง จะละความง่วงได้
๓. หากยังละไม่ได้ เธอควรสาธยายธรรมตามที่ตนได้ฟังและได้เรียนมาโดยพิสดาร จะละความง่วงได้
๔. หากยังละไม่ได้ เธอควรยอนหูทั้งสองข้างและลูบด้วยฝ่ามือ จะละความง่วงได้
๕. หากยังละไม่ได้ เธอควรลุกข้นยืน ลูบนัยน์ตาด้วยน้ำ เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ จะละความง่วงได้
๖. หากยังละไม่ได้ เธอควรทำในใจถึงอาโลกสัญญา คือความสำคัญในแสงสว่าง ตั้งความสำคัญว่ากลางวันไว้ในใจ ให้เหมือนกันทั้งกลางวันและกลางคืน มีจิตใจแจ่มใสไม่มีอะไรห่อหุ้ม ทำจิตอันมรแสงสว่างให้เกิด จะละความง่วงได้
๗. หากยังละไม่ได้ เธอควรอธิษฐานจงกรม กำหนดหมายว่าจะเดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีจิตไม่คิดไปภายนอก จะละความง่วงได้
๘. หากยังละไม่ได้ เธอควรสำเร็จสีหไสยาสน์ คือนอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมกัน มีสติสัมปชัญญะ ตั้งใจว่าจะลุกขึ้น พอเธอตื่นแล้วควรรีบลุกขึ้น ด้วยการตั้งใจว่าจะไม่ประกอบสุขในการนอน จะไม่ประกอบสุขในการเอนหลัง จะไม่ประกอบสุขในการเคลิ้มหลับ

ครั้นตรัสสอนอุบาย สำหรับระงับความง่วงอย่างนี้แล้ว ทรงสั่งสอนให้สำเหนียกอย่างนี้ว่า "เราจักไม่ชูงวง (คือการถือตัว) เข้าไปสู้ตระกูล จักไม่พูดคำที่เป็นเหตุให้คนเถียงกัน เข้าใจผิดต่อกัน และตรัสสอนให้ยินดีด้วยที่นั่งที่นอนอันเงียบสงัด และควรเป็นอยู่ตามลำพังสมณวิสัยไ เมื่อตรัสสอนอย่างนี้แล้ว พระโมคคัลลานะกราบทูลถามว่า "โดยย่อข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมที่สิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วนเกษมจากโยคะธรรม เป็นพรหมจารีบุคคลยิ่งกว่าผู้อื่น มีที่สุดกว่าผู้อื่น ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายไ พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า "โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไดเสดับแล้วว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เธอทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันวิเศษ ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงได้ เธอได้ประสบเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี เธอพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นด้วปัญญาเป็นเครื่องหน่าย เป็นเครื่องดับ เป็นเครื่องสละ คืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่น ถือมั่น สิ่งอะไร ๆ ในโลกไม่มีความสะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้ด้วยตนเอง และทราบชัดว่า ชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะทำอย่างนี้อีกมิได้มี ว่าโดยย่อข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แหละ ภิกษุได้ชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา" ท่านพระโมคคัลลานะได้ปฏิบัติตามโอวาท ที่พระบรมศาสดาตรัสสั่งสอน ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในวันนั้น

ครั้นได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว พระโมคคัลลานะได้เป็นกำลังสำคัญของพระบรมศาสดาในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ตามที่พระองค์ทรงดำริให้สำเร็จเพราะท่านเป็นผู้มีฤทธิ์มาก จึงได้รับการยกย่องจากสมเด็จพระบรมศาสดาว่า "เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางเป็นผู้มีฤทธิ์" และทรงยกย่องว่าเป็นคู่พระอัครสาวก คู่กันกับพระสารีบุตรในการอุปการะภิกษุผู้เข้ามาบวชในพระธรรมวินัย ดังกล่าวในประวัติพระสารีบุตรว่า สารีบุตรเปรียบเหมือนมารดาผู้ยังบุตรให้เกิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกที่เกิดแล้ว สารีบุตรย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณเบื้องบน ที่สูงกว่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงมีคำยกย่องว่าพระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา พระโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวกฝ่ายซ้าย พระธรรมเทศนา ของพระโมคคัลลานะไม่ค่อยจะมีที่เป็นโอวาทให้แก่ภิกษุสงฆ์มีเพียงแต่อนุมานสูตร ซึ่งว่าด้วยธรรมินทำให้คนเป็นผู้ว่ายากหรือง่าย ในมัฌิมนิกายกล่าวว่า ท่านพระโมคคัลลานะเข้าใจในนวกรรมคือการก่อสร้าง เพราะฉนั้นเมื่อนางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างบุพพาราม ในเมืองสาวัตถี พระบรมศาสดารับสั่งให้ท่านเป็นนวกัมมาธิฏฐายี คือผู้ควบคุมการก่อสร้าง

ท่านพระโมคคัลลานะ ปรินิพพานก่อนพระบรมศาสดา มีเรื่องเล่าว่า ครั้งเมื่อท่านพำนักอยู่ ณ ตำบลกาฬศิลา แคว้นมคธ พวกเดียรถีย์ปรึกษากันว่า บรรดาลาภสักการะ ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแก่พระบรมศาสดาในครั้งนั้น ก็เพราะอาศัยพระโมคคัลลานะ เพราะสามารถนำข่าวในสวรรค์และนรกมาแจ้งแก่มนุษย์ ชักนำให้ประชาชนเกิดความเลื่อมใส ถ้าพวกเรากำจัดพระโมคคัลลานะเสียได้แล้ว ลัทธิของพวกเราก็จะเจริญรุ่งเรืองขึ้น ลาภสักการะต่าง ๆ ก็จะมาหาพวกเราหมด เมื่อปรึกษากันดังนั้นแล้วจึงจ้างโจรผู้ร้ายให้ลอบฆ่าพระโมคคัลลานะ เมื่อโจรมาท่านพระโมคคัลลานะทราบเหตุนั้นจึงหนีไปเสียสองครั้ง ครั้งที่สามท่านพิจารณาเห็นว่ากรรมตามทันจึงไม่หนี พวกโจรผู้ร้ายจึงได้ทุบตีจนร่างกายแหลกเหลว ก็สำคัญว่าตายแล้ว จึงนำร่างท่าน ไปซ่อนไว้ในพุ่มไม้แห่งหนึ่งแล้วพากันหนีไป ท่านพระโมคคัลลานะยังไม่มรณะ เยียวยาอัตภาพให้หายด้วยกำลังฌานแล้วเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระบรมศาสดา แล้วทูลลากลับปรินิพพาน ณ ที่เกิดเหตุ ในวันเดือนดับ เดือน ๑๒ หลังพระสารีบุตร ๑๕ วัน สมเด็จพระบรมศาสดาได้เสด็จไปทำฌาปนกิจแล้วรับสั่งให้นำอัฐิธาตุ มาก่อเจดีย์บรรจุไว้ ณ ที่ใกล้ประตูวัดเวฬุวัน

ประวัติสาวก ของ พระพุทธเจ้า












ประวัติพระอัสสชิเถระ


ในพระบาลี มีพระภิกษุชื่อ “อัสสชิ” อยู่ หลายรูป คือ


พระอัสสชิที่เป็นหนึ่งในภิกษุฉัพพัคคีย์ ซึ่งเป็นกลุ่มสหายชาวกรุงสาวัตถีรวม ๖ คน มาบวชเพื่อหาลาภ ได้ก่อกรรมอันลามกต่าง ๆ เป็นเหตุให้พระบรมศาสดาต้องบัญญัติพระวินัยมากมาย


อีกรูปหนึ่งคือพระอัสสชิที่ปรากฎชื่ออยุ่ใน อัสสชิสูตร :ซึ่งเป็นภิกษุอาพาธ ได้ขอให้ภิกษุที่อุปัฏฐากกราบทูลขอให้พระบรมศาสดาเสด็จมาโปรด ครั้นเมื่อเสด็จมาแล้วทรงแสดงธรรมโปรด เมื่อสิ้นสุดการแสดงธรรมนั้น พระภิกษุอัสสชิผู้อาพาธก็บรรลุพระอรหันต์


ส่วนพระอัสสชิที่จะกล่าวในถึงท่านในเรื่องนี้ เป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ เป็นภิกษุรูปสุดท้ายในหมู่ปัญจวัคคีย์ คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ได้ดวงตาเห็นธรรม ชื่ออัสสชิแปลว่า “ผู้ชนะม้า, ผู้ชำนาญในการบังคับม้า” (เทียบภาษาสันสกฤต อศ?ว-ชิต?)


ท่านเป็นภิกษุรูปที่ ๕ แห่งพุทธกาลนี้ ประวัติของท่านจะเริ่มกล่าวความตั้งแต่เจ้าชายสิทธัตถะทรงประสูติได้ ๕ วัน


โกณฑัญญพราหมณ์เข้าทำนายพุทธลักษณะ
ครั้นเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๕ วัน พระประยูรญาติก็ได้จัดพระราชพิธีเฉลิมพระนาม โดยได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน มาประกอบพิธี โดยถวายผ้าใหม่ให้ครอง และถวายภัตตาหาร ครั้นเสร็จภัตกิจแล้วจึงได้เลือกพราหมณ์ ๘ คน จากพราหมณ์ทั้ง ๑๐๘ คนนั้น พราหมณ์ ๘ คนเหล่านี้คือ พราหมณ์ชื่อรามะ ชื่อธชะ ชื่อลักขณะ ชื่อสุชาติมันตี ชื่อโภชะ ชื่อสุยามะ ชื่อโกณฑัญญะ ชื่อสุทัตตะ ซึ่งพราหมณ์เหล่านี้ก็เป็นกลุ่มที่ได้ทำนายพระสุบินในวันที่ทรงประสูตินั่นเอง


ครั้นเมื่อพราหมณ์ทั้ง ๘ ได้ตรวจดูพระสรีระของพระมหาบุรุษแล้ว มีพราหมณ์ ๗ คน (อรรถกถาบางแห่งบอกว่า ๓ คน) ได้ทำนายออกเป็น ๒ แนว ว่า ถ้าอยู่ครองฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าเสด็จออกทรงผนวช จะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลกส่วนโกณฑัญญมาณพ ซึ่งอายุน้อยที่สุดในหมู่พราหมณ์ทั้ง ๑๐๘ คนนั้นทำนายเป็นทางเดียว (อรรถกถาบางแห่งบอกว่า ๕ คน ทำนายเป็นทางเดียว ซึ่งทั้ง ๕ พราหมณ์นี้ก็คือปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ นั่นเอง) ว่าพระองค์จะเสด็จออกทรงผนวช แล้วจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลกแน่นอน พวกพราหมณ์เหล่านั้น เมื่อกลับไปสู่เรือนของตัวเองแล้วก็ได้ปรารภกับบุตรทั้งหลายว่า ตัวพ่อนั้นอายุมากแล้ว คงจะไม่ได้อยู่ชมพระบารมีของพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ผู้จะบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ พวกเจ้าเมื่อพระกุมารทรงตรัสรู้แล้วเจ้าจงบวชในพระศาสนาของพระองค์เถิด


กำเนิดปัญจวัคคีย์
อีก ๒๙ ปีต่อมา เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเห็นโทษในกาม เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม ในวันที่พระราหุลกุมารประสูติ จึงได้เสด็จออกทรงผนวช ในครั้งนั้นพราหมณ์ ๗ คน ได้สิ้นชีวิตไปตามกรรมแล้ว ส่วนโกณฑัญญมาณพ ซึ่งอายุน้อยกว่าเขาทั้งหมด เมื่อท่านทราบว่า พระมหาบุรุษทรงผนวชแล้ว จึงเข้าไปหาพวกบุตรพราหมณ์ของพราหมณ์ทั้ง ๗ และชักชวนให้ออกบวชตามเสด็จ แต่ก็มีบุตรพราหมณ์เพียง ๔ คนเท่านั้นที่เห็นดีด้วย บุตรพราหมณ์ทั้ง ๔ คน เหล่านี้ คือ ท่านภัททิยะ ท่านวัปปะ ท่านมหานาม และท่านอัสสชิ และท่านโกณฑัญญพราหมณ์จึงได้บวช


เมื่อบวชแล้วบรรพชิตทั้ง ๕ นี้อันมีท่านโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า จึงได้มีชื่อว่า พระปัญจวัคคีย์เถระ ก็ได้เที่ยวบิณฑบาตในคามนิคมและราชธานี และได้เดินทางไปอุปัฎฐากพระโพธิสัตว์ ตลอด ๖ ปีที่พระโพธิสัตว์ทรงเริ่มกระทำทุกรกิริยา ด้วยหวังว่า พระสมณโคดมจักบรรลุธรรมใดก็จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย ครั้นพระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาเห็นว่าการบำเพ็ญทุกรกิริยามิใช่หนทางไปสู่อริยธรรม จึงทรงกลับมาเสวยพระกระยาเช่นเดิม หมู่ปัญจวัคคีย์คิดว่าพระมหาสัตว์ทรงละความเพียรเสียแล้ว จึงหมดความเลื่อมใส เกิดความเบื่อหน่าย พากันละพระองค์เสีย ไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี


ครั้นเมื่อพระโพธิสัตว์ ทรงกลับมาเสวยพระกระยาหารดังปกติ ล่วงมาถึงวันวิสาขบุรณมี ทรงเสวยโภชนะอย่างดีที่นางสุชาดาถวาย ทรงลอยถาดทองไปให้ทวนกระแสแม่น้ำตามที่ทรงอธิษฐาน จึงตกลงพระทัยที่จะปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุพระมหาอมตธรรมให้ได้ในวันนั้น จึงทรงประทับใต้ร่มมหาโพธิ บ่ายพระพักตร์ไปสู่ด้านตะวันออก นั่งขัดสมาธิ อธิษฐานความเพียร ทรงกำจัดมารและพลมารและบรรลุธรรมเป็นลำดับ จนกระทั่ง ทรงตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจฉิมยามแห่งราตรีนั้นเอง


ครั้นเมื่อทรงตรัสรู้แล้ว ก็ทรงพิจารณาถึงบุคคลที่พระองค์สมควรจะแสดงธรรมให้ก่อน จึงทรงพิจารณาถึง อาฬารดาบสและอุททกดาบส ก็ทรงทราบด้วยพระญาณว่าบุคคลทั้งสองสิ้นชีวิตไปแล้ว เมื่อทรงพิจารณาต่อไปก็ทรงเห็นว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์ผู้อุปัฏฐากครั้งเมื่อทรงตั้งความเพียรนับว่าเป็นผู้มีอุปการะมากแก่เรา อีกทั้งโกณฑัญญพราหมณ์ก็เป็นผู้กระทำกรรมสะสมบารมีมาถึง๑๐๐,๐๐๐ กัป ก็เพื่อประสงค์จะเป็นผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้สามารถบรรลุธรรมก่อนผู้อื่น


ลำดับนั้น พระศาสดา จึงเสด็จไปยังป่าอิสิปตมฤคทายวัน ที่ปัญจวัคคีย์อาศัยอยู่ เสด็จเข้าไปหาพระปัญจวัคคีย์


ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ครั้นทรงพระดำริอย่างนี้แล้ว จึงเสด็จพุทธดำเนินไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ฯ ฝ่ายปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาแต่ไกล เข้าใจว่าพระองค์เสด็จมาเพื่อแสวงหาผู้อุปฐาก จึงได้ตกลงกันว่า พระสมณโคดมนี้คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากแล้ว เสด็จมา ณ บัดนี้ พวกเราทั้งหลายไม่พึงไหว้ ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับ ไม่พึงรับบาตรและจีวรของพระองค์เลย แต่ว่าท่านนี้เกิดในตระกูลใหญ่ เป็นวรรณกษัตริย์ เราควรปูลาดอาสนะที่นั่งไว้ เพื่อพระองค์ปรารถนาก็จักประทับนั่ง ฯ ครั้นพระองค์เสด็จเข้าไปถึงแล้ว อาศัยความเคารพที่เคยประพฤติต่อพระองค์ มาบันดาลให้ลืมข้อตกลงที่ทำกันนั้นไว้จนหมดสิ้น ลุกขึ้นต้อนรับพระพุทธองค์ รูปหนึ่งรับบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งปูอาสนะ รูปหนึ่งจัดหาน้ำล้างพระบาท รูปหนึ่งจัดตั้งตั่งรองพระบาท รูปหนึ่งนำกระเบื้องเช็ดพระบาทเข้าไปถวาย ดังที่เคยทำมา แต่ยังพูดกับพระองค์ด้วยถ้อยคำไม่เคารพ คือ เรียกโดยการเอ่ยพระนามโดยตรง หรือเรียกโดยใช้คำแทนพระพุทธองค์ว่า อาวุโส ฯ


พระพุทธองค์ทรงห้ามพวกปัญจวัคคีย์ มิให้เรียกพระองค์เช่นนั้น (ซึ่งถือว่าเป็นการไม่เคารพ ที่ทรงห้ามก็เพื่อจะมิให้เกิดโทษแก่เหล่าปัญจวัคคีย์เหล่านั้น) และทรงตรัสต่อไปว่า ตถาคตได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟังธรรมเถิด เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว เพื่อที่เมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้า ก็จักบรรลุถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์


เหล่าปัญจวัคคีย์ก็ยังไม่เชื่อ ได้กล่าวเป็นเชิงสงสัยในจริยาของพระพุทธองค์ว่า แต่เดิมที่ท่านปฏิบัติ แม้โดยการอดอาหาร กระทำทุกรกิริยาอย่างยิ่งยวด ถึง ๖ ปี ก็ไม่สามารถแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณได้ มาบัดนี้เมื่อท่านคลายความเพียรนั้น กลับมาเป็นผู้มักมาก ท่านจะบรรลุธรรมใด ๆ อย่างไรได้


พระพุทธองค์ทรงมีพระดำรัสว่า ท่านไม่ได้เป็นคนมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเลย ท่านบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว และทรงขอให้เหล่าปัญจวัคคีย์ตั้งใจฟังธรรมที่ท่านจะแสดง แต่ปัญจวัคคีย์เหล่านั้นก็ยังได้กล่าวสงสัยในจริยาของพระพุทธองค์อีกถึง ๒ ครั้ง


จนในครั้งที่ ๓ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสเตือนให้เหล่าปัญจวัคคีย์ทั้งหลาย นึกถึงถ้อยคำของพระพุทธองค์ในครั้งก่อนว่า วาจาที่ท่านกล่าวว่าท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว เช่นนี้ ท่านได้เคยพูดออกมาในกาลก่อนหรือไม่ พวกภิกษุปัญจวัคคีย์จึงระลึกขึ้นได้ว่าพระวาจาเช่นนี้พระองค์ไม่เคยได้ตรัสมาก่อนเลย จึงพากันตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาที่พระองค์จะตรัสเทศนาสั่งสอนสืบไป


ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสแสดง พระปฐมเทศนาประกาศพระสัมโพธิญาณ ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่พระปัญจวัคคีย์ ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสพระธรรมเทศนาจบ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ในวันอาสาฬหปุรณมี เพ็ญกลางเดือน ๘ นั่นเอง


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบด้วยพระญาณว่า ท่านโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันแล้ว จึงได้ทรงเปล่งพระอุทานว่า โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ, โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ (อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ, อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ) เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านตั้งแต่นั้นมา


ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา
ครั้นเมื่อท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรม ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรคแล้ว จึงได้ทูลขอบรรพชาต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งสมเด็จพระบรมศาสดาก็ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วตรัสต่อไปว่าธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.


บัดนั้น ถือว่าโลกมี พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบองค์สาม เป็นครั้งแรก


ในวันต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถา ทรงให้พระภัททิยเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๒ ในวันแรม ๑ ค่ำ


ในวันแรม ๒ ค่ำ ทรงให้พระวัปปเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๓


ในวันแรม ๓ ค่ำ ทรงให้พระมหานามเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๔


ในวันแรม ๔ ค่ำ ทรงให้พระอัสสชิเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๕


อนึ่งในวันแรม ๕ ค่ำ ทรงเทศนาอนัตตลักขณสูตร ให้พระปัญจวัคคีย์ทั้งหมดตั้งอยู่ในพระอรหัตด้วย ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.


พระสารีบุตรพบพระอัสสชิเถระ
ครั้นปวารณา (คือพ้นพรรษา) แล้ว พระพุทธองค์ได้ทรงส่งพระอรหันต์สาวก ๖๐ รูป (ปัญจวัคคีย์ ๕ พระยศและสหาย ๕๔ รูป) ออกไปประกาศพระ ศาสนาเป็นครั้งแรก ท่านพระอัสสชิเถระก็ได้ไปเที่ยวเทศนาโปรด เวไนยสัตว์ในที่ต่าง ๆ ด้วย และต่อมาได้กลับไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เวฬุวันมหาวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์


ในเวลานั้น สญชัยปริพาชกอาศัยอยู่ในพระนครราชคฤห์ พร้อมด้วย ปริพาชกผู้เป็นศิษย์หมู่ใหญ่ จำนวน ๒๕๐ คน ก็ครั้งนั้น พระสารีบุตรและพระพระโมคคัลลานะท่านทั้งสองได้เข้าศึกษาในสำนักของสญชัยปริพาชก ไม่กี่วันนักก็เรียนจนหมดสิ้นความรู้ของอาจารย์ที่จะสอน ก็เห็นว่าวิชาความรู้ที่ตนเรียนมานี้ยังไม่สามารถทำให้ถึงอมตธรรมได้ จึงได้ทำกติกาไว้ว่า ผู้ใดบรรลุอมตธรรมก่อน ผู้นั้นก็จะบอกแก่อีกคนหนึ่ง


ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระอัสสชินุ่งอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังในพระนครราชคฤห์ ด้วยมารยาทอันงดงาม น่าเลื่อมใส มีนัยน์ตาทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ สารีบุตรปาริพาชกได้เห็นท่านพระอัสสชิ กำลังเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ ด้วยมารยาทอันงามน่าเลื่อมใสเช่นนั้นก็ได้มีความดำริว่า ภิกษุรูปนี้คงเป็นพระอรหันต์ หรือท่านผู้ได้บรรลุพระอรหัตมรรคในโลก ผู้หนึ่งแน่ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาภิกษุรูปนี้ แล้วถามว่า ท่านบวชกับใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร? แล้วได้ดำริต่อไปว่า ขณะนี้ยังเป็นเวลาไม่สมควรที่จะถามภิกษุรูปนี้ เพราะ ท่านกำลังเข้าละแวกบ้านเที่ยวบิณฑบาตอยู่ ฉะนั้น เราพึงติดตามภิกษุรูปนี้ไป ครั้งนั้น ท่านพระอัสสชิเที่ยวบิณฑบาตในพระนคร ราชคฤห์ ถือบิณฑบาตกลับไป ดังนั้นสารีบุตรปริพาชกจึงเข้าไปหาท่านพระอัสสชิ ถึงแล้วได้พูด ปราศรัยกับท่านพระอัสสชิ ครั้นผ่านการพูดปราศรัยพอสมควรแล้ว ก็ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ครั้นพระเถระได้ปฏิบัติภัตตกิจเสร็จเรียบร้อยแล้วท่านจึงได้ถามท่านพระอัสสชิเถระว่า ท่านบวช กับใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ขอรับ?


พระอัสสิเถระตอบว่า เรา บวชกับพระมหาสมณะศากยบุตร ผู้เสด็จออกทรงผนวชจากศากยตระกูล พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา และเรา ชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น.


สารีบุตรปริพาชก พระศาสดาของท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร?


พระอัสสิเถระตอบว่า เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่าน ได้กว้างขวาง แต่จักกล่าวใจความแก่ท่านโดยย่อ.


สารีบุตรปริพาชก น้อยหรือมาก นิมนต์กล่าวเถิด ท่านจงกล่าวแต่ใจความแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องการใจความอย่างเดียว


พระอัสสชิเถระแสดงธรรม
ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชก ว่าดังนี้:


ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ


พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น


และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น


พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้.


สารีบุตรปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรม
พอท่านกล่าวจบพระสารีบุตร ได้เกิดปัญญาเห็นแจ่มแจ้งว่าพระ พุทธเจ้าทรงสอนว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดาและมี การดับไปเป็นธรรม” ซึ่งเรียกว่า ท่านได้ดวงตาเห็นธรรมหรือบรรลุ พระโสดาปัตติผล


ครั้นท่านพระอัสสชิเถระได้จากไปแล้ว พระสารีบุตรได้นำ ความไปบอกแก่พระโมคคัลลานะ สหายรัก ตามที่ได้ฟังมาจากท่าน พระอัสสชิเถระ พระโมคคัลลานะ ก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันเช่น เดียวกัน ต่อมาท่านทั้งสองพร้อมด้วยบริวารก็ได้ลาอาจารย์สญชัย ไปบวชในสำนักพระพุทธเจ้า และได้เป็นพระอัครสาวกขวาซ้ายของพระพุทธเจ้า


พระสารีบุตรเคารพพระเถระว่าเป็นอาจารย์
เนื่องจากท่านพระอัสสชิเถระเป็นอาจารย์รูปแรกในพระพุทธ ศาสนาของท่านพระสารีบุตร จึงได้รับความเคารพยกย่องจากท่านพระ สารีบุตรมาก พระสารีบุตรนั้น เมื่อใดที่อยู่ในอารามเดียวกันกับพระอัสสชิเถระ เมื่อนั้น ท่านจะไปสู่ที่อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน ต่อจากนั้นก็ไปสู่ที่อุปัฏฐากพระเถระ ด้วยท่านมีความเคารพว่า พระ ผู้มีอายุนี้เป็นบุรพาจารย์ของเราทั้งหลาย เราได้อาศัยท่านผู้มีอายุนี้ จึงได้รู้คำสอนของพระพุทธเจ้า


แต่ว่าเมื่อใดท่านมิได้อยู่ในอารามเดียวกันกับพระอัสสชิ เถระ ท่านก็จะหันหน้าไปยังทิศที่พระอัสสชิเถระอยู่นั้น กระทำการเคารพด้วย เบญจางคประดิษฐ์ แล้วประคองอัญชลีนมัสการ และนอนหันศีรษะไปทาง ทิศนั้น


ภิกษุทั้งเห็นการกระทำ นั้นแล้ว ด้วยความที่ไม่รู้เหตุผลในการกระทำของท่าน จึงเข้าใจผิดว่า พระสารีบุตรเป็นถึงอัครสาวก ยังไหว้ทิศอยู่แม้จนทุกวันนี้ สงสัยท่านเห็นจะยังละทิฏฐิของพวกพราหมณ์ไม่ได้ จนกระทั่งพระบรมศาสดาทรงทราบเรื่องจึงทรงตรัสเล่าถึงเหตุผลของการกระทำของพระสารีบุตรมหาเถระดังกล่าว

ชาดก

ชาดก คือ เรื่องราวในอดีตชาติของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะมาเกิดในชาติสุดท้ายและได้ตรัสรู้เป็นพระสัมพุทธเจ้า เรื่องราวของชาติหนึ่งๆ ก็เรียกว่าชาดกหนึ่งๆ รวมทั้งสิ้น 547 เรื่อง (ซึ่งน่าจะเป็น 550 เรื่อง แต่เดิมและต่อมาหายไป 3 เรื่องในภายหลัง) ชาดกอรรถกถาเริ่มต้นตรงที่กล่าวถึงทูเรนิทาน คือพระพุทธเจ้าเริ่มทำความเพียรเพื่อหวังพุทธภูมิในชาติที่เกิดเป็นสุเมธดาบส แล้วกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีต 24 พระองค์ที่กล่าวพยากรณ์รับรองพระโพธิสัตว์ของเราว่าจะได้ตรัสรู้พระโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 25 คือ เจ้าชายสิทธัตถโคตมะนี้เอง

ความจริงเกี่ยวกับนิทานชาดกที่ควรรู้ก็คือ เรื่องชาดกเป็นนิทานซึ่งรวบรวมมาจากที่ต่างๆ กัน ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นในที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ ฉะนั้นจะเหมาเอาว่าเป็นพุทธวัจนะล้วน ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงบรรยายไว้ด้วย พระองค์เองก็ไม่อาจจะกล่าวได้เช่นนั้น ถ้าจะเรียกว่าเป็นชุมนุมนิทานโบราณที่นำมาใช้เพื่อบรรยายหลักธรรมในแง่ต่างๆ ประกอบด้วยการบำเพ็ญบารมี 10 ประการก็ได้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระราชทานพระบรมราชาธิบายเรื่องชาดกในแง่ความเป็นมาและอื่นๆ แล้วทรงสรุปคุณค่าของหนังสือชาดกไว้ว่า

ข้อซึ่งกล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น เป็นคำแนะนำให้ท่านทั้งหลาย อ่านหนังสือเรื่องชาดกนี้ ตามคำซึ่งข้าพเจ้าเรียกว่าแลดูด้วยตั้งวงกว้างฯ แต่แท้จริงเรื่องชาดกนี้เป็นเรื่องนิทานโบราณซึ่งนักปราชญ์ทั้งหลายได้นำสืบๆ กันมาตั้งแต่ 2500 ปีขึ้นไปหา 3000 ปี ก็เป็นเรื่องที่ควรอยู่ซึ่งเราจะอ่านฯ ธรรมดาผู้ซึ่งมีความพอใจในความรู้วิชาหนังสือและเรื่องทั่วไปในโลก ย่อมถือว่าหนังสือซึ่งเขียนไว้แต่โบราณเช่นนี้ เป็นหนังสือสำคัญที่จะส่องให้ความประพฤติความเป็นอยู่และประเพณีของประเทศซึ่งแต่งเรื่องนิทานนั้นเป็นอย่างไร เป็นอุปการะที่จะแต่งเรื่องตำนานทั้งปวงโดยทางเทียบเคียงให้รู้คติของคนโบราณในประเทศนั้นๆ ถึงแม้แต่เพียงเรื่องปรารภซึ่งเรารู้อยู่ว่าเป็นพระอาจารย์ผู้รวบรวมคัมภีร์ชาดกได้เรียบเรียงขึ้นเพื่อจะให้เห็นเหตุผลประกอบท้องเรื่องนิทานก็ดี แต่เรื่องราวเหล่านั้นย่อมมาจากความจริง ซึ่งเป็นไปอยู่ในเวลาซึ่งพระพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่เป็นเครื่องอุปการะใหญ่ ซึ่งจะให้เรื่องราวของประเทศและประชาชนซึ่งอยู่ในประเทศนั้น ทั้งความประพฤติของพระสาวกทั้งหลาย ตลอดถึงพระองค์พระพุทธเจ้า เหมือนหนึ่งเล่าเรื่องเป็นท่อนๆ ในสมัยหนึ่งๆ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงประพฤติพระอิริยาบถและตรัสสั่งสอนอย่างไร เช่นหนังสือซึ่งเขาคัดข้อที่ผู้มีชื่อเสียงในปัจจุบันหรืออดีตซึ่งไม่ช้านาน ได้กระทำการหรือได้กล่าววาจาอันเป็นข้อควรสังเกตหรือควรจำและน่าพอใจอ่าน มารวบรวมขึ้นไว้ด้วยฉะบับหนึ่งต่างหาก ซึ่งผู้รู้ภาษาต่างประเทศคงจะได้พบเห็นอ่านโดยมาก ถ้าจะพยายามกล่าวเป็นคำไทย ก็เห็นว่าตรงกับคำที่เรียกว่าอภินิหาร ซึ่งมีผู้เคยแต่งอยู่บ้างฯ ความสังเกตอันนี้อาจทำให้เข้าใจในพุทธประวัติแจ่มแจ้งขึ้นฯ แท้จริงหนังสือพุทธประวัตินั้นก็ได้เก็บเรื่องราวจากพระคัมภีร์ต่างๆ มารวบรวมเรียบเรียงขึ้น เหมือนอย่างผู้จะแต่งพงศาวดาร ก็ต้องอ่านหนังสือราชการและหนังสือหลักฐานอันมีอยู่ในกาลสมัยที่ตัวจะแต่งนั้นทั่วถึงแล้ว จึงยกข้อที่ควรเรียบเรียงเป็นเรื่องในข้อซึ่งควรจะกล่าวฯ แต่ผู้ซึ่งจะอ่านหนังสือโบราณเช่นนี้ จำจะต้องสังเกตกาลสมัยของหนังสือนั้นให้รู้ว่าหนังสือนี้ได้แต่งขึ้นในประเทศใด ประเทศนั้นมีภูมิฐานอย่างไร ความประพฤติของมนุษย์ในประเทศนั้นเป็นอยู่ในกาลนั้นอย่างไร ความมุ่งหมายของผู้ซึ่งคิดเห็นว่า เป็นการที่ตนจะทำประโยชน์ให้แก่ประชุมชน เป็นอันมากอย่างไร แล้วจะได้ทำการไปด้วยอาการอย่างไร สำเร็จได้อย่างไรฯ ผู้อ่านต้องตั้งใจเหมือนตนได้เกิดขึ้นในขณะนั้น อ่านด้วยน้ำใจที่รู้สึกประโยชน์ใช่ประโยชน์ในเวลานั้น ซึ่งจะเกิดความรื่นรมย์ในใจในขณะที่อ่านนั้น และจะเข้าใจแจ่มแจ้งตลอดฯ เมื่ออ่านตลอดข้อความแล้ว จะใช้วิจารณปัญญาอย่างหนึ่งอย่างใดสำหรับวินิจฉัยในภายหลังก็ตาม เมื่อเข้าใจชัดเจนแล้ว ก็จะถูกต้องตามความที่เป็นจริงฯ ข้าพเจ้าขอแนะนำผู้ซึ่งตั้งใจจะอ่านหนังสือชาดกนี้ ให้อ่านด้วยวิธีซึ่งข้าพเจ้าเรียกในเบื้องต้นว่า ตั้งวงพิจารณากว้าง ดังได้อธิบายมาแล้วนี้ฯ (พระคัมภีร์ชาดกแปล ฉบับ ส.อ.ส. เล่ม 1. อรรถกถา เอกนิบาต. ภาค 1. กรุงเทพฯ : สหายการพิมพ์, 2539, ไม่ปรากฏเลขหน้า.)

อ้างอิงเอกสารวรรณคดีพุทธศาสนาพากย์ไทย ของ ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดพิมพ์ขึ้นเป็นที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2545. หน้า 35-37)

ชาดก

อัมพชาดก

วายเมเถว ปุริโสติ อิทํ สตฺถา เชตวเน วิหรนฺโต เอกํ วตฺตสมฺปนฺนํ พฺราหฺมณํ อารพฺภ กเถสิ ฯ
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงพระปรารภพรามหณ์ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตรผู้หนึ่ง ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า วายเมเถว ปุริโส ดังนี้ ฯ

เรื่องมีว่า พราหมณ์นั้น เป็นกุลบุตรชาวพระนครสาวัตถี บรรพชาถวายชีวิตในพระศาสนา ได้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร กระทำอาจริยวัตรอุปัชฌายวัตรและวัตรมีการตั้งน้ำดื่มน้ำใช้ ทั้งวัตรในโรงอุโบสถและวัตรในเรือนไฟ เป็นต้น เป็นอันดี ได้เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในมหาวัตรทั้ง 14 และขันธกวัตรทั้ง 80 กวาดวิหาร บริเวณโรงตรึกทางไปวิหาร ให้น้ำดื่มแก่พวกมนุษย์ พวกมนุษย์เลื่อมใสในความถึงพร้อมด้วยวัตรของท่าน พากันถวายภัตรประจำประมาณ 500 ราย ลาภสักการะอันมากมายบังเกิดขึ้น ความอยู่สำราญได้เกิดแก่ภิกษุเป็นอันมากเพราะอาศัยท่าน อยู่มาวันหนึ่งพวกภิกษุพากันยกเรื่องขึ้นสนทนากันในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุชื่อโน้น ยังลาภสักการะอย่างมากมายให้เกิดแก่ตนเพราะถึงพร้อมด้วยวัตร ความอยู่อย่างสำราญเกิดแก่ภิกษุเป็นอันมากเพราะอาศัยเธอผู้เดียว พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อกี้พวกเธอสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุพากันกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นดอก แม้ในปางก่อนภิกษุนี้ก็เคยเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร แม้ในปางก่อนอาศัยเธอผู้เดียวฤาษี 500 ไม่ต้องไปป่าหาผลาผลกันเลย เลี้ยงชีพด้วยผลาผลที่ภิกษุนี้นำมาแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้





อตีเต พาราณสิยํ พฺรหฺมทตฺเต รชฺชํ กาเรนฺเต ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลอุทิจจพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว บวชเป็นฤาษี มีฤาษี 500 เป็นบริวารอาศัยอยู่ที่เชิงเขา ครั้งนั้นในป่าหิมพานต์ แห้งแล้งร้ายแรง น้ำดื่มเหือดแห้งในที่นั้น ๆ พวกดิรัจฉานเมื่อไม่ได้น้ำดื่มพากันลำบาก ครั้งนั้นในพระดาบสเหล่านั้น มีดาบสองค์หนึ่ง เห็นความทุกข์เกิดแต่ความกระหายของพวกดิรัจฉานเหล่านั้น จึงตัดต้นไม้ต้นหนึ่งทำราง โพงน้ำใส่ให้เป็นน้ำดื่มแก่พวกดิรัจฉานเหล่านั้น เมื่อดิรัจฉานประชุมกันดื่มน้ำมากขึ้น พระดาบสเลยไม่มีโอกาสที่จะไปหาผลาผล แม้ท่านจะอดอาหารย่อมลำบากยิ่งนัก เอาเถิด พวกเราตั้งกติกากันไว้เถิด พวกนั้นพากันตั้งกติกาไว้ว่า ตั้งแต่บัดนี้ ผู้ที่มาดื่มน้ำต้องคาบผลไม้มาตามสมควรแก่กำลังของตน ตั้งแต่นั้นดิรัจฉานตัวหนึ่ง ๆ ก็คาบผลไม้มีมะม่วงและขนุนเป็นต้นที่อร่อย ๆ นำมาตามสมควรแก่กำลังของตน ๆ เรื่อยมา ผลาผลที่ฝูงดิรัจฉานนำมาเพื่อประโยชน์แก่พระดาบสองค์เดียว ได้มีประมาณบรรทุกเต็มสองเล่มเกวียนครึ่ง พระดาบสทั้ง 500 พลอยฉันผลาผลนั้นทั่วกัน ยังต้องทิ้งเสียเป็นอันมาก พระโพธิสัตว์เห็นเหตุนั้นแล้วกล่าวว่า อาศัยดาบสผู้ถึงพร้อมด้วยวัตรผู้เดียว ความเลี้ยงชีพอย่างไม่ต้องหาผลาผล เกิดขึ้นได้แก่หมู่ดาบสถึงเท่านี้ ธรรมดาความเพียรเป็นเรื่องควรกระทำ แล้วกล่าวคาถานี้ว่า

วายเมเถว ปุริโสน นิพฺพินฺเทยฺย ปณฺฑิโต

วายามสฺส ผลํ ปสฺส

ภุตฺตา อมฺพา อนีติทํ

แปลว่า บุรุษพึงพยายามร่ำไป บัณฑิตไม่พึงเบื่อหน่ายเสีย เชิญดูผลแห่งหความพยายามเถิด หมู่ดาบสนั้นพากันได้ฉันผลไม้มีมะม่วงเป็นต้นอย่างไม่ต้องอั้น ฯ

มีอรรถาธิบายว่า บัณฑิตพึงพยายามเรื่อยไป ไม่พึงท้อถอยเสียในกรรมมีการบำเพ็ญวัตรเป็นต้นของตน เหตุไร เหตุว่าความพยายามที่ไร้ผลไม่มีเลย เหตุนั้นพระมหาสัตว์เมื่อเตือนคณะฤาษีว่า ธรรมดาความพยายามย่อมมีผลเรื่อยไป จึงกล่าวว่า เชิญดูผลแห่งความพยายามเถิด เช่นไรเล่า เช่นที่ฤาษีทั้ง 500 ฉันผลไม้มีมะม่วงเป็นต้นกันอย่างไม่อั้น หมายความว่า ก็ผลาผลที่พวกดิรัจฉานเหล่านั้นนำมามีประการต่าง ๆ แต่กล่าวถึงมะม่วงเป็นต้นด้วยอำนาจที่เป็นผลไม้มากมายก่ายกองกว่าผลไม้ทั้งนั้น ข้อที่ฤาษีทั้ง 500 ไม่ต้องไปป่าด้วยตนเอง พากันฉันผลไม้มีมะม่วงเป็นมากกว่าอื่น ๆ เหล่านี้ ซึ่งดิรัจฉานทั้งหลายนำมาเพื่อประโยชน์แก่ดาบสนั้น นี้เป็นผลแห่งความพยายาม ก็และการที่ได้ฉันนั้นเล่า เป็นไม่ต้องอั้นกัน หมายความว่า ที่จะต้องถือเอาด้วยกล่าวว่าดังนี้ ๆ อย่างนี้ เป็นอันไม่มีกันละ เชิญดูผลนั้นอันประจักษ์แจ่มแจ้งกันเถิด พระมหาสัตว์ได้ให้โอวาทแก่คณะฤาษีด้วยประการฉะนี้ฯ

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า ดาบสผู้ถึงพร้อมด้วยวัตรในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุนี้ ส่วนศาสดาของคณะ ได้มาเป็นเราแลฯ



พุทธประวัติ

1.ประสูติ

- พระพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่า "สิทธัตถะ" เป็พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล พระราชมารดาทรงพระนามว่า "พระนางสิริมหามายา" ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ
- เจ้าชายสิทธัตถะประสูติเมื่อ 80 ปีก่อนพุทธศักราช ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งอยู่ระหว่างพรมแดนกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ(ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) ได้มีพราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ ถ้าดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกบวชและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
- ทันทีที่ประสูติ ทรงดำเนินด้วยพระบาท 7 ก้าว มีดอกบัวผุดรองรับ ทรงเปล่งพระวาจาว่า "เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา"
สถานที่ประสูติ

2.วัยเด็ก

- หลังประสูติได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์ จึงทรงอยู่ในความดูแลของพระนางปชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา
- ศึกษาเล่าเรียนจนจบระดับสูงของการศึกษาทางโลกในสมัยนั้น ค์อ ศิลปศาสตร์ถึง 18 ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร
- พระบิดาไม่ประสงค์จะให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดาเอก จึงพยายามให้สิทธัตถะพบแต่ความสุขทางโลก เช่น สร้างปราสาท 3 ฤดู และเมื่ออายุ 16 ปี ได้ให้เจ้าชายสิทธัตถะอภิเษกกับนางพิมพาหรือยโสธรา ผู้เป็นพระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา
- เมื่อมีพระชนมายุ 29 ปี พระนางพิมพาก็ให้ประสูติ ราหุล (บ่วง)

3.เสด็จออกผนวช

- เมื่อทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณตามลำดับ จึงทรงคิดว่าชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ จึงเกิดแนวความคิดว่า
-ธรรมดาในโลกนี้มีของคู่กันอยู่ เช่น มีร้อนก็ต้องมีเย็น , มีทุกข์คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ต้องมีที่สุดทุกข์ คือ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
-ทรงเห็นความสุขทางโลกเป็นเพียงมายา ความสุขในกามคุณเป็นความสุขจอมปลอม เป็นเพียงภาพมายาที่ ชวนให้หลงว่าเป็นความสุขเท่านั้น ในความจริงแล้วไม่มีความสุข ไม่มีความเพลิดเพลินใดที่ไม่มีความทุกข์เจือปน
-วิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ของชีวิตเช่นนี้ได้ หนทางหลุดพ้นจากวัฏสงสาร จะต้องสละเพศผู้ครองเรือนเป็นสมณะ
- สิ่งที่ทรงพบเห็นเรียกว่า "เทวทูต(ทูตสวรรค์)" จึงตัดสินพระทัยทรงออกผนวช ในวันที่พระราหุลประสูติเล็กน้อย พระองค์ทรงม้ากัณฐกะออกผนวช มีนายฉันทะตามเสด็จ โดยมุ่งตรงไปที่แม่น้ำอโนมานที ทรงตัดพระเกศา และเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นผ้ากาสาวพักตร์ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้) ทรงเปลื้องเครื่องทรงมอบให้นายฉันนะนำกลับพระนคร การออกบวชครั้งนี้เรียกว่า การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่)
- หลังจากทรงผนวชแล้ว จึงทรงมุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธ เพื่อค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร เมื่อเรียนจบทั้งสองสำนัก (บรรลุฌาณชั้นที่แปด) ก็ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ตามที่มุ่งหวังไว้
- จากนั้นจึงเสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันนี้สถานที่นี้เรียกว่า ดงคศิริ) เมื่อบำเพ็ญทุกรกิริยา โดยขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร หลังจากทดลองมา 6 ปี ก็ยังไม่พบทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา หันมาบำรุงพระวรกายโดยปกติตามพระราชดำริว่า "เหมือนสายพิณควรจะขึงพอดีจึงจะได้เสียงที่ไพเราะ" ซึ่งพระอินทร์ได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย พิณสายหนึ่งขึงไว้ตึงเกินไป พอถูกดีดก็ขาดผึงออกจากกัน จึงพิจารณาเห็นทางสายกลางว่า เป็นหนทางที่จะนำไปสู่พระโพธิญาณได้
- ระหว่างที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์ (โกญฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ) มาคอยปรนนิบัติพระองค์โดยหวังว่าจะทรงบรรลุธรรมวิเศษ เมื่อพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์จึงหมดศรัทธา พากันไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี (ต.สารนาถ)

4.ตรัสรู้(15 ค่ำเดือน 6)

- ขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ นางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาส(หุงด้วยนม) ใต้ต้นไทร เมื่อเสวยเสร็จแล้วทรงลอยถาดทองในแม่น้ำเนรัญชรา ทรงอธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า ...
“ถ้าอาตมาจะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ” ถาดทองนั้นลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ๑ เส้น แล้วก็จมลงตรงนาคภพพิมานแห่งพญากาฬนาคราช พระองค์ทรงโสมนัสและแน่พระทัยว่าจะได้ตรัสรู้ เป็นพระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า โดยหาความสงสัยมิได้
- ในเวลาเย็นโสตถิยะให้ถวายหญ้าคา 8 กำมือ ปูลาดเป็นอาสนะ ณ โคนใต้ต้นโพธิ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา (ปัจจุบันคือ ต.พุทธคยา ประเทศอินเดีย)
- ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะบรรลุโพธิญาณ ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
- ทรงบรรลุรูปฌาณทั้ง 4 ชั้น แล้วใช้สติปัญญาพิจารณาจนเกิดความรู้แจ้ง คือ
1.) เวลาปฐมยาม ทรงได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกชาติได้
2.) เวลามัชฌิมยาม ทรงได้จุตูปปาตญาณ(ทิพยจักษุญาณ)คือรู้เรื่องเกิด-ตายของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นไปตามกรรมที่ตนกระทำไว้
3.) เวลาปัจฉิมยาม ทรงได้ อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะหรือกิเลส หมายถึง ตรัสรู้อริยสัจ4
- อาสวักขยญาณ ที่ทรงได้ทำให้ทรงพิจารณาถึงขันธ์ 5 และใช่แห่งความเป็นเหตุที่ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท อันเป็นต้นทางให้เขาถึงอริยสัจ 4
- เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นแล้ว จึงละอุปาทานและตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สถานที่ตรัสรู้ - พุทธคยา

5.ปฐมเทศนา

- หลังจากที่ตรัสรู้แล้ว ได้พิจารณาธรรมที่พระองค์ตรัสรู้เป็นเวลา 7 สัปดาห์ ทรงเห็นว่าพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ ทรงเกิดความท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรมโปรดมหาชน ต่อมาท่านได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้ง แล้วทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว ๔ เหล่า ดังนั้นแล้วจึงดำริที่จะแสดงธรรมเพื่อมวลมนุษยชาติต่อไป
บัว ๔ เหล่า ได้แก่
๑.พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที (อุคฆฏิตัญญู)

๒.พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป (วิปัจจิตัญญู)

๓.พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอยด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง (เนยยะ)

๔.พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน (ปทปรมะ)
- จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง 2 ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ (ประกอบด้วย พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ) จึงเสด็จไปที่ป่าอิสปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ปัจจุบันคือสารนาถ เมืองพาราณสี ในวันขึ้น 15 เดือน 8 จึงทรงปฐมเทศนา " ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (แปลว่าสูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไป)"
ซึ่งใจความ 3 ตอน คือ
1.) ทรงชี้ทางผิดอันได้แก่กามสุขัลลิกานุโยค(การประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยกาม) และอัตตกิลมถานุโยค(การทรมานตนให้ลำบาก) ว่าเป็นส่วนสุดที่บรรพชิตไม่ควรดำเนิน แต่เดินทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ มรรคมีองค์แปด เป็นไปเพื่อพระนิพพาน
2.) ทรงแสดงอริยสัจ 4 โดยละเอียด
3.) ทรงปฏิญญาว่าทรงตรัสรู้พระองค์เอง และได้บรรลุธรรมวิเศษแล้ว
- โกญฑัญญะเป็นผู้ได้ธรรมจักษุก่อน เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งตามสภาพเป็นจริงว่า
"ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ "
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีเกิดขึ้นเป็นธรรม
สิ่งนั้นทั้งหมดมีดับเป็นธรรมดา
จึงได้อุปสมบทเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทาองค์แรก
- หลังจากปัญจวัคคีย์อุปสมบทแล้ว พุทธองค์จึงทรงเทศน์ อนัตตลักขณสูตร ปัญจวัคคีย์จึงสำเร็จเป็นอรหันต์

6.ลักษณะการแสดงธรรม

- สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางธรรมมาก่อนจะทรงเทศน์ "อนุปุพพิกถา" ซึ่งว่าด้วยเรื่อง
- คุณของการให้ทาน การรักษาศีล
- สวรรค์ (การแสวงสุขเนื่องจากการให้ทาน การให้ศีล)
- โทษของกามและการปลีกตัวออกจากกาม
- จากนั้นจึงทรงเทศน์ อริยสัจ 4

7.แสดงธรรมโปรดยสกุลบุตร

- ยสกุลบุตรเบื่อหน่ายชีวิตครองเรือนหนีออกจากบ้าน ไปยังป่าอิสปตนมฤคทายวันในเวลาเช้ามืด แล้วพบพระพุทธเจ้าบังเอิญ ยสกุลบุตรสดับพระธรรมเทศนาได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ และขอบวช
- อุบาสิกอุบาสิกาคู่แรก คือ บิดามารดาของพระยสะ
- ครั้นแล้วมีเพื่อนของพระยสะ 4 คนกับอีก 50 คน ได้มาฟังพระธรรมเทศนา สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จึงมีพระอรหันต์ในโลก 61 องค์


8.การส่งสาวกออกประกาศศาสนา

- ตรัสเรียกสาวกออกประกาศศาสนา เมื่อมีสาวกครบ 60 รูป (ปัญจวัคคีย์และพวกพระยสะ)
- ตรัสให้พระสาวก 60 รูปแยกย้ายกันประกาศศาสนา 60 แห่งไม่ซ้ำทางกัน
- พระองค์จะเสด็จไปแสดงธรรม ณ ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม
- เมื่อสาวกออกประกาศเทศนา มีผู้ต้องการบวชมาก และหนทางไกลกัน จึงทรงอนุญาตให้สาวกดำเนินการบวชได้ โดยใช้วิธีการ "ติสรณคมนูปสัมปทา" (ปฏิญาณตนเป็นผู้ถึงพระรัตนตรัย)


9.การประดิษฐ์พุทธศาสนา ณ แคว้นมคธ

- วิธีเผยแพ่รศาสนาในกรุงราชคฤห์ ทรงเทศน์โปรดชฎิล(นักบวชเกล้าผม)สามพี่น้อง ได้แก่ พระอุรุเวลกัสสปะ พระนทีกัสสปะ พระคยากัสสปะ และบริวาร รวม 1,000 คนก่อน แล้วได้ขอบวชในพระพุทธศาสนา เพราะพวกชฎิลเป็นเจ้าลัทธิบูชาไฟที่ยิ่งใหญ่ หากชฎิลยอมรับพุทธธรรมได้ ประชาชนก็ย่อมเกิดความศรัทธา
- พระอุรุเวลกัสสปะได้ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางมีบริษัท(บริวาร)มาก
- พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายวัดนับว่าเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา คือ พระเวฬุวันมหาวิหาร (วัดเวฬุวัน)


10.อุปติสสะ(พระสารีบุตร)และโกลิตะ(พระโมคคัลลานะ)

- ณ กรุงราชคฤห์นี้เอง เด็กหนุ่มสองคน ซึ่งเป็นศิษย์ของนักปรัชญาเมธี ผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งชื่อ สัญชัย เวลัฏฐบุตร โดยพระอัสสชิได้แสดงธรรมให้อุปติสสะว่า
"ทุกสิ่งจากเหตุ พระศาสดาทรงแสดงเหตุของสิ่งเหล่านั้น และการดับเหตุของสิ่งเหล่านั้น"
อุปติสสะได้ฟังก็เกิด "ดวงตาเห็นธรรม" จึงกราบลาท่าน แล้วรีบไปบอกข้อความที่ตนได้ฟังมาแก่โกลิตะทราบ โกลิตะได้ฟังก็เกิด"ดวงตาเห็นธรรม" เด็กหนุ่มสองคนจึงมาขอบวชเป็นสาวกพร้อมกัน และมีชื่อเรียกทางพระศาสนาว่า พระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ ตามลำดับ
- หลังจากบวชได้ 7 วัน พระโมคคัลลานะได้ไปบำเพ็ญสมาธิอยู่ที่ กัลลวาลมุตตคาม ใกล้เมืองมคธ รู้สึกง่วงเหงาหาวนอน แก้อย่างไรก็ไม่หาย จนพระพุทธเจ้าเสด็จไปตรัสบอกวิธีเอาชนะความง่วงให้ พร้อมประทานโอวาทว่าด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่น ให้ใช้ปัญญาพิจารณาเวทนา (ความรู้สึก) ทั้งหลายว่า เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้แน่นอน จบพุทธโอวาท พระโมคคัลลานะก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
- หลังจากบวชได้ 15 วัน พระสารีบุตรได้ถวายงานพัดพระพุทธเจ้า ขณะพระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดทีฆนขะปริพาชก (นักบวชไว้เล็บยาว) อยู่ที่ถ้ำสุกรขาตา เชิงเขาคิชฌกูฏ ท่านพัดวีพระพุทธองค์พลางคิดตามพระโอวาทของพระพุทธเจ้าไปด้วย เมื่อจบพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
- ทั้งสองท่านได้รับแต่งตั้งจากพระพุทธเจ้าให้เป็นพระอัครสาวก โดยพระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา มีความเป็นเลิศกว่าผู้อื่นทางปัญญา และพระโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย มีความเป็นเลิศกว่าผู้อื่นทางฤทธิ์มาก

11.โอวาทปาติโมกข์

- วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (มาฆบูชา) เกิดมีจตุรงคสันนิบาต ซึ่งประกอบด้วย
1.)วันนั้น เป็นวันมาฆปูรณมี คือวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือนมาฆะ จึงเรียกว่า มาฆบูชา
2.)พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
3.)พระภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ ประเภทฉฬภิญญา คือ ได้อภิญญา ๖ ซึ่งหมายถึงความสามารถ พิเศษ ๖ ประการ ได้แก่ แสดงฤทธิ์ได้ ระลึกชาติได้ ตาทิพย์ หูทิพย์ กำหนดรู้ใจคนอื่นได้ และบรรลุอาสวักขยญาณ
(คือญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย)
4.)พระภิกษุ เหล่านั้น ทั้งหมด ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง (เอหิภิกฺขุอุปสมฺปทา)
ทรงเทศน์ "โอวาทปาติโมกข์" ซึ่งถือเป็นหัวใจของศาสนาพุทธ ใจความว่า
" จงทำดี ละเว้นความชั่ว และทำใจให้บริสุทธิ์ "
- พระสงฆ์ปรารถว่าไม่เคยเห็นฝนเช่นนี้มาก่อน พระพุทธจึงทรงเล่าว่า ฝนนี้เคยตกมาแล้วเมื่อเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร แล้วจึงทรงเล่าเรื่องมหาเวสสันดร

12.โปรดพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์

- ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา (พระเจ้าสุทโธทนะ) ได้บรรลุโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล จนบรรลุอรหันตผลเมื่อใกล้สวรรคต
- พระนันทะ (เป็นโอรสของพระสุทโธทนะกับพระนางปชาบดีโคตมี) ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านำ ออกผนวชอุปสมบท
- ต่อมาพระนางยโสธราก็ให้พระกุมารราหุลซึ่งมีอายุ 7 ปีไปทูลขอราชสมบัติ พระพุทธเจ้าเห็นว่าราชสมบัติเป็นสิ่งไม่จีรังยั่งยืน อริยทรัพย์(ทรัพย์อันประเสริฐ)ต่างหากเป็นสิ่งยั่งยืน จึงทรงให้พระสารีบุตรทำการบรรพชาให้ราหุลเป็นสามเณร จึงเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา ณ นิโครธาราม พระเจ้าสุทโธทนะจึงขอร้องว่า "ขออย่าให้ทรงบวชใคร โดยที่พ่อแม่เขายังไม่ได้อนุญาต"
เมื่ออายุครบ 20 ปี ได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ จากนั้นก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์และได้ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางใคร่ต่อการศึกษา
- ทรงให้อุปสมบทแก่เจ้าศากยะ 5 พระองค์ คือ พระอานนท์ พระอนุรุทธ์(เป็นผู้มีเลิศในทางมีทิพยจักษุ) พระภัททิยะสักยราชา พระภัคคุ พระกิมพิละ และเจ้าโกลิยะ 1 พระองค์ คือพระเทวทัต จนได้บรรลุอรหัตผล 5 ท่าน ยกเว้นพระเทวทัต
- พระอุบาลีเป็นบุตรของช่างกัลบก(ช่างตัดผม)อยู่ในวรรณะต่ำ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพนักงานภูษามาลาของเจ้าศากยะ ทำหน้าที่จัดการดูแลเครื่องแต่งกาย เมื่อเจ้าศากยะ 5 พระองค์ และเจ้าโกลิยะ 1 พระองค์ทรงออกผนวช อุบาลีได้ติดตามไปขออุปสมบทด้วย พระอุบาลีเมื่อได้อุปสมบทแล้วไม่ช้าก็บรรลุอรหัตผล และได้ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศทาง ด้านผู้ทรงไว้ซึ่งพระวินัย
- พระนางปชาบดีโคตมี(พระน้าของพระพุทธเจ้า) ได้ผนวชเป็นภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา โดยพระอานนท์ช่วยกราบทูลขออนุญาตพระพุทธเจ้าสุดท้ายได้บรรลุพระอรหันต์ และได้ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางรู้ราตรี
- โปรดให้พระนางยโสธราได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีชื่อพระนางภัททา กัจจานา จนบรรลุอรหัตผล และได้ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางบรรลุอภิญญาใหญ่ (สามารถระลึกเหตุการณ์ในกัปป์ต่างๆย้อนหลังไปได้มากนับไม่ถ้วน)


13.การประดิษฐ์พุทธศาสนา ณ แคว้นโกศล

เมื่อประดิษฐานพระศาสนาในแคว้นมคธได้อย่างมั่นคงแล้ว ต่อมาไม่นานพระพุทธศาสนาก็มีศูนย์กลางแห่งใหม่ที่ เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล โดยอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้สร้าง"วัดพระเชตวัน"ขึ้น แล้วกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ไปอยู่ประจำ และนางวิสาขามหาอุบาสิกาเศรษฐีนีคนหนึ่ง ก็มีจิตศรัทธาสร้าง วัดบุพพาราม ถวายด้วย


14.ปัจฉิมกาล


- ก่อนปรินิพพาน 3 เดือน ทรงปลงอายุสังขาร
- ก่อนปรินิพพาน 1 วัน นายจุนทะถวายสุกรมัททวะ (หมูอ่อน) เมื่อพระองค์เสวยแล้วประชวรพระอานนท์โกรธ พุทธองค์จึงตรัสว่า
"บิณฑบาตที่มีอานิสงส์ที่สุด มี 2ประการ คือ เมื่อตถาคต (พุทธองค์)
เสวยบิณฑบาตแล้วตรัสรู้ ,ปรินิพพาน"

- ก่อนปรินิพพานทรงกล่าวพุทธโอวาทว่า
1.)การบูชาพุทธองค์อย่างแท้จริง คือ การปฎิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม
2.)พุทธศาสนิกชนที่ต้องการเฝ้าพระองค์ควรไปที่ "สังเวชนียสถาน"
3.)การวางตัวของภิกษุต่อสตรี ต้องคุมสติอย่าแปรปรวนตามราคะตัณหา
4.)พระบรมสารีริกธาตุเป็นเรื่องของกษัตริย์(มัลลกษัตริย์) มิใช่กิจของสงฆ์
5.)ความพลัดพรากเป็นธรรมดาของโลก
6.)ธรรมและวินัย จะเป็นศาสดาแทนพุทธองค์ ทั้งนี้เพราะบุคคลไม่เที่ยงแท้เท่ากับพระธรรมซึ่งเป็นสัจธรรม

- ปัจฉิมสาวก คือ สุภัททะบริพาชก
- ปัจฉิมโอวาท
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย สังขารทั้งปวงมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา
พวกเธอจึงทำประโยชน์ตนเอง และประโยชน์ของผู้อื่นให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"

(อปปมาเทน สมปาเทต)

- ปรินิพพาน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ใต้ต้นสาละ ณ สาลวโนทยาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ
พระชนมายุ 80 ปี ทรงเทศนาสั่งสอนมาเป็นเวลา 45 ปี
สถานที่ปรินิพพาน

พระเจ้าตากสินมหาราช

บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด

พระปณิธาน

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก

ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา

ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา

แด่พระศาสดา สมณะ พระพุทธโคดม


ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี

สมณะพราหมณ์ ปฏิบัติ ให้พอสม

เจริญสมถะ วิปัสนา พ่อชื่นชม

ถวายบังคม รอยพระบาท พระศาสดา



คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า

ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา

พุทธศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา

พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่ักัน.




พระราชประวัติ

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำ ปีขาล ฉศก จุลศักราช 1096 ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา มีพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นชาวจีนชื่อนายไหฮอง หรือ หยง แซ่แต้ เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย มีบรรดาศักดิ์เป็นขุนพัฒน์ พระราชชนนีชื่อนางนกเอี้ยง (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น กรมพระเทพามาตย์) ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับจวนเจ้าพระยาจักรีที่สมุหนายก
เมื่อยังทรงพระเยาว์เจ้าพระยาจักรีได้ขอสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม และได้ตั้งชื่อพระองค์ท่านว่า สิน พอนายสินอายุได้ 9 ขวบ เจ้าพระยาจักรีก็นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสืออยู่ในสำนักของพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส ครั้นอายุได้ 13 ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำนายสินเข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ตามประเพณีของการรับราชการในสมัยนั้น ในระหว่างรับราชการเป็นมหาดเล็กนายสินได้พยายามศึกษาหาความรู้ทางด้านภาษาต่างประเทศหลายภาษา มีภาษาจีน ภาษาญวน และภาษาแขก จนสามารถพูดได้สามภาษาอย่างชำนิชำนาญ
ครั้นนายสินอายุได้ 21 ปี เจ้าพระยาจักรีได้ประกอบการอุปสมบทนายสินเป็นพระภิกษุสงฆ์อยู่ในสำนักอาจารย์ทองดี ณ วัดโกษาวาส นายสินอุปสมบทอยู่ 3 พรรษา แล้วก็ลาสิกขาบทกลับมาเข้ารับราชการตามเดิม เนื่องจากนายสินเป็นผู้ฉลาดรอบรู้ขนบธรรมเนียมราชกิจต่าง ๆ โดยมาก จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายสินเป็นมหาดเล็กรายงาน ด้วยราชการทั้งหลายในกรมมหาดไทย และกรมวังศาลหลวง
พ.ศ. 2301 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรเสด็จเสวยราชสมบัติได้ 3 เดือนเศษ ก็ถวายสิริราชสมบัติแก่สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้นายสินมหาดเล็กรายงานเป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ขึ้นไปชำระความหัวเมืองฝ่ายเหนือ ซึ่งนายสินได้ปฏิบัติราชการด้วยความวิริยะอุตสาหะและมีความดีความชอบมาก จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ช่วยราชการอยู่กับพระยาตาก ครั้นเมื่อพระยาตากถึงแก่กรรมลงก็ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนหลวงยกกระบัตร (สิน) เป็นพระยาตาก ปกครองเมืองตากแทน
พ.ศ. 2308 พระยาตาก (สิน) ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เข้ามาช่วยราชการสงครามเพื่อป้องกันพม่าในกรุงศรีอยุธยา พระยาตาก (สิน) มีฝีมือการรบป้องกันพระนครอย่างเข้มแข็งมีความดีความชอบมาก จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น พระยาวชิรปราการ (สิน) สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมืองเดิมที่ถึงแก่กรรม
พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในเดือนเมษายน พระยาตากก็สามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนได้ แล้วก็คิดจะปฏิสังขรณ์กรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีใหม่ แต่เมื่อได้ตรวจความเสียหายแล้วเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาได้รับความเสียหายเป็นอันมากยากที่จะบูรณะให้เหมือนดังเดิมได้ และประกอบกับรี้พลของเจ้าตากมีไม่พอที่จะรักษากรุงศรีอยุธยาที่เป็นเมืองใหญ่ได้ จึงเลือกเมืองธนบุรีเป็นราชธานี และได้อพยพผู้คนลงมาตั้งมั่นที่เมืองธนบุรี
เจ้าตากทรงทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรี เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย แรม 4 ค่ำ จุลศักราช 1130 ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ 28 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2311 ขณะมีพระชนมายุได้ 34 พรรษา ทรงนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่ประชาชนทั่วไปยังนิยมขนานพระนามพระองค์ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดากับสมเด็จพระอัครมเหษี กรมหลวงบาทบริจา และกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ รวมทั้งพระสนมต่าง ๆ รวมทั้งสิน 29 พระองค์
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 5 แรม 9 ค่ำ จ.ศ. 1144 ปีขาล ตรงกับวันที่ 6 เมษายน 2325 พระชนมายุ 48 พรรษา รวมสิริราชสมบัติ 15 ปี



กระบวนการกอบกู้เอกราช
หลังจากที่พระยาตากพาไพร่พลตีฝ่าวงล้อมพม่า มุ่งไปยังหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออก ประมาณ 3 เดือน พม่าก็เข้ายึดกรุงศรีอยุธยาได้ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2310 พม่าจุดไฟเผาเมืองจนวอดวาย พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่ามีพระบรมราชโองการให้ทำลายทุกอย่างให้ย่อยยับ แล้วให้จับพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ และรวบรวมสมบัติทั้งหมดของอยุธยาส่งกลับไปพม่า ข่าวกรุงแตกได้แพร่กระจาย ขณะที่พระยาตากอยู่ที่เมืองระยอง พระยาตากจึงได้ประกาศตนเป็นผุ้นำในการที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนา และกอบกู้กรุงศรีอยุธยาให้กลับรุ่งเรืองดังเดิม บรรดาแม่ทัพนายกองที่สวามิภักดิ์ต่างพร้อมใจกันยกพระยา ตากขึ้นเป็นผู้นำขบวนการกอบกู้แผ่นดิน และเรียกพระยาตากว่า เจ้าตาก นับตั้งแต่นั้นมา เจ้าตากได้นำ ไพร่พลทั้งไทยและจีนเดินทางต่อไปยังฝั่งทะเลด้านตะวันออก รอเวลาที่จะกอบกู้แผ่นดินจากพม่า ทุกขั้น ตอนของแผนกอบกู้เอกราช ล้วนแสดงถึงพระอัจฉริยภาพในด้านยุทธวิธีทางทหาร ทั้งทางบกและทางน้ำ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พระยาตากพาไพร่พลตีฝ่าวงล้อมของทัพพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยามุ่งตรงไปยังบ้านโพธิ์สังหาญ หรือ โพธิ์สาวหาญ รุ่งเช้าได้ต่อสู้กับกองทหารพม่า ทหารไทยฆ่าฟันทหารพม่าล้มตายแตกหนีไปพระยาตาก จึงนำทหารเดินทางต่อ และไปตั้งค่ายพักอยู่บ้านพรานนก ให้พวกทหารไปเที่ยวหาอาหาร มาเลี้ยงกัน ขณะนั้นมีทหารพม่ากองหนึ่ง ซึ่งมีทหารม้าประมาณ 30 คน ทหารเดินเท้าประมาณ 200 คน เดินทาง มาจากแขวงเมืองปราจีนบุรี สวนทางมาพบทหารพระยาตากที่เที่ยวหาเสบียงอาหาร ทหารพม่าก็ไล่จับและ ติดตามมายังบ้านพรานนก พระยาตากจึงให้ทหารแยกออกซุ่มสองทาง ตนเองขึ้นขี่ม้าพร้อมกับทหารอีก 4 คน ควบตรงไปไล่ฟันทหารม้าพม่า ทหารพม่าไม่ทันรู้ตัวตกใจถอยกลับ ไปปะทะกับทหารเดินเท้าของตนเอง เกิดการอลหม่าน ทหารไทยที่ซุ่มอยู่สองข้างจึงแยกเป็นปีกกาตีโอบทหารพม่าไว้สองข้าง แล้วไล่ฟันทหารพม่า ล้มตายและแตกหนีไป พวกราษฎรที่หลบซ่อนพม่าอยู่ ครั้นเห็นพระยาตากรบชนะพม่า ก็ดีใจพากัน เข้ามาสมัครเป็นพรรคพวก พระยาตากจึงให้ราษฎรเหล่านั้น ไปเกลี้ยกล่อมหัวหน้านายซ่องมาสวามิภักดิ์ นำช้าง ม้าพาหนะและเสบียงอาหารมามอบให้ นายซ่องใหญ่ที่ไม่ยอมอ่อนน้อม ก็ถูกปราบปรามจนราบคาบ ริบพาหนะ ผู้คน ช้างม้า และศาสตราวุธ ได้เป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นพระยาตากจึงยกกองทหารไปทาง นาเริง เมืองนครนายก ผ่านด่านกบแจะ ข้ามลำน้ำปราจีนบุรี ไปตั้งพักอยู่ชายดงศรีมหาโพธิ์ ข้างฝั่งตะวันออก พม่าที่ตั้งทัพอยู่ปากน้ำเจ้าโล้ใต้เมืองปราจีนบุรียกพลตามมา พระยาตากก็นำทหารไล่ติดตามฆ่าฟันทหารพม่า ล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ที่เหลือก็หนีแตกกระจัดกระจายไป นับแต่นั้นมา พม่าก็มิได้ติดตามกองทัพพระยา ตากอีกต่อไป พระยาตากได้ยกกองทัพผ่านเมืองฉะเชิงเทรา ชลบุรี แล้วจึงเดินทางต่อไปยังบ้านนาเกลือ แขวงเมืองบางละมุง เมื่อถึงเมืองระยอง เจ้าเมืองระยองซึ่งได้ยินกิติศัพท์ของพระยาตากก็ยอมอ่อนน้อมเชิญให้ เข้าเมือง พระยาตากใช้เวลาไม่ถึงเดือนนับจากตีหักออกจากกรุงศรีอยุธยาก็ยึดเมืองระยองเป็นที่มั่นได้ ความ สามารถของพระยาตากในการรวบรวม คนไทยได้เป็นจำนวนมากเช่นนี้ แสดงถึงศักยภาพของพระยาตากที่มี เหนือกลุ่มอื่น ๆ ในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา


พระราชวิเทคโศบายในการยึดจันทบุรี
พระยาตากเดินทัพจากระยองผ่านแกลงเข้าบางกระจะ มุ่งยึดจันทบุรีซึ่งเป็นเมืองใหญ่ เพื่อใช้เป็นฐาน กำลังฟื้นฟูขวัญของไพร่พล เจ้าเมืองจันทบุรีไม่ยอมสวามิภักดิ์ พระยาตากจึงต้องใช้จิตวิทยาในด้านการรบ มาใช้กับแม่ทัพนายกอง เพื่อต้องการรบให้ชนะ โดยสั่งให้ทุบหม้อข้าวหม้อแกงหมายไปกินอาหารมื้อเช้า ในเมือง ถ้าตีเมืองไม่ได้ก็ต้องอดตาย ครั้นถึงเวลาค่ำ พระยาตากจึงได้สั่งให้ทหารไทยจีนลอบเข้าไปอยู่ ตามสถานที่ที่ได้วางแผนไว้แล้ว ให้คอยฟังสัญญาณเข้าตีเมืองพร้อมกัน มิให้ส่งเสียงจนกว่าจะเข้าเมือง ได้จึงให้โห่ขึ้นให้พวกอื่นรู้ พอได้ฤกษ์เวลา 3 นาฬิกา เจ้าตากก็ขึ้นคอช้างพังคีรีบัญชร ให้ยิงปืนสัญญาณ บอกพวกทหารเข้าตีเมืองพร้อมกัน ส่วนพระยาตากก็ไสช้างเข้าพังประตูเมือง ชาวเมืองที่ประจำการอยู่ก็ยิง ปืนใหญ่เข้าใส่ นายท้ายช้างเกรงว่าพระยาตากจะถูกยิงจึงเกี่ยวช้างให้ถอยออกมา พระยาตากชักดาบออกมา จะฟัน นายท้ายช้างจึงได้ขอชีวิตไว้ แล้วไสช้างเข้าชนทำให้บานประตูเมืองพังลง ทหารพระยาตากจึงกรูกัน เข้าเมืองได้ พวกชาวเมืองต่างพากันละทิ้งหน้าที่หนีไป ส่วนพระยาจันทบุรีก็พาครอบครัวลงเรือหนีไปยัง เมืองบันทายมาศ พระยาตากตีเมืองจันทบุรีได้ ณ วันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 3 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เพลา 3 ยามเศษ ตรงกับวันที่ 15 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310 หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว 2 เดือน

เมื่อยึดเมืองจันทบุรีได้แล้ว พระยาตากได้เคลื่อนทัพไปยังเมืองตราด พวกกรมการและราษฎรเกิดความ เกรงกลัวต่างพากันมาอ่อนน้อมโดยดี ที่ปากน้ำเมืองตราดมีเรือสำเภาจีนมาทอดทุ่นอยู่หลายลำ พระยาตาก ได้เรียกนายเรือมาพบ แต่พวกจีนนายเรือขัดขืนต่อสู้ พระยาตากจึงลงเรือรบ คุมกองเรือไปล้อมสำเภาจีน เหล่านั้น ได้ทำการต่อสู้กันอยู่ประมาณครึ่งวัน พระยาตากก็ยึดสำเภาจีนไว้ได้หมด ได้ทรัพย์สินสิ่งของมา เป็นจำนวนมาก เป็นที่น่าสังเกตว่าเรือรบไทยสมัยนั้น มีขนาดพอ ๆ กับเรือยาวที่ใช้แข่งตามแม่น้ำ เมื่อสามารถเข้าตียึดเรือสำเภาขนาดใหญ่ที่ใช้เดินทะเลและมีปืนใหญ่ประจำเรือด้วยได้นั้น แสดงว่าแม่ทัพ เรือและทหารเรือ จะต้องมีความสามารถมาก


ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งแต่ พุทธศักราช 2310 ไปจนถึง พุทธศักราช 2325 ได้มีการทำศึกสงครามเกือบตลอดเพื่อรวบรวม ป้องกัน และขยายพระราชอาณาเขต สำหรับเหตุการณ์ที่สำคัญๆ อาจจะสรุปได้ดังนี้

พุทธศักราช 2310

การเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2
การประกาศอิสรภาพหลังจากที่รบชนะพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น
การสถาปนากรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรเป็นเมืองหลวง
พม่ายกกองทัพมาตีไทยที่บางกุ้ง

พุทธศักราช 2311

การเถลิงถวัลยราชสมบัติของสมเด็จพระเจ้าตากสิน
การยกกองทัพขึ้นไปตีกลุ่มเมืองพิษณุโลก
กลุ่มพระฝางยกกองทัพลงมาตีกลุ่มเมืองพิษณุโลก
การยกกองทัพขึ้นไปตีกลุ่มเมืองพิมาย

พุทธศักราช 2312

กรุงศรีสัตนาคนหุตแต่งเจ้าหน่อเมืองนำเครื่องราชบรรณาการมาขอเป็นเมืองขึ้น
การยกกองทัพขึ้นไปตีเขมร
การยกกองทัพไปตีเมืองนครศรีธรรมราช

พุทธศักราช 2313

การยกกองทัพขึ้นไปตีกลุ่มเมืองสวางคบุรี
พม่ายกกองทัพลงมาตีเมืองสวรรคโลก
การยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 1

พุทธศักราช 2314

การสร้างกำแพงเมืองกรุงธนบุรี
การยกกองทัพไปตีเขมร

พุทธศักราช 2315

พม่ายกกองทัพมาตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 1

พุทธศักราช 2316

การสักเลก (ไพร่หลวง ไพร่สม และเลกหัวเมือง)
พม่ายกกองทัพมาตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 2

พุทธศักราช 2317

การยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 2
พม่ายกกองทัพมาตีบางแก้ว (แขวงเมืองราชบุรี)

พุทธศักราช 2318

พม่ายกกองทัพมาตีเมืองพิษณุโลก

พุทธศักราช 2319

กบฎเมืองนางรอง และการยกกองทัพไปปราบหัวเมืองลุ่มแม่น้ำโขง
พระเจ้าตากทรงเริ่มการเจริญวิปัสสนากัมมัฎฐาน

พุทธศักราช 2320

การสถาปนาเจ้าพระยาจักรีขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก

พุทธศักราช 2321

กรุงศรีสัตนาคนหุตแต่งทัพมารบกับพระวอที่หนองบัวลำภูและที่ดอนมดแดง

พุทธศักราช 2322

การยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเวียงจันทน์
การอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร พระแก้วมรกตและพระบางมาสู่กรุงธนบุรี

พุทธศักราช 2323

การจลาจลวุ่นวายในเขมร
กบฎวุ่นวายในกรุงธนบุรี

พุทธศักราช 2324

การยกกองทัพขึ้นไปตีเขมร
ความวุ่นวายภายในกรุงธนบุรี
กบฎพระยาสรรค์
สงครามกลางเมืองระหว่างพระยาสรรค์และพระยาสุริยอภัย

พุทธศักราช 2325

การพิจารณาปัญหาเรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสิน
การสิ้นสุดของสมัยกรุงธนบุรี

พระเจ้าตากนามเดิมว่า สิน เชื้อสายเป็นชาวจีนเกิดในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา

รับราชการศครั้งหลังสุดคือพระยาวชิรปราการในแผ่นดินของพระเจ้าเอกทัศน์ ถูกเรียกมารับศึกพม่าในเมืองอยุธยา แต่เห็นว่า

ในเมืองมีวามวุ่นวายจากสาเหตุดังนี้
1. การแย่งชิงอำนาจกันระหว่างกษัตริย์ทำให้ทหารที่มีฝีมือถูกฆ่าเพราะ.ไม่ใช่พวกตนเอง
2. อยุธยาร้างศึกมานานทำให้เกิดการประมาท กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของอยุธยา คือพระเจ้าเอกทัศน์ไม่มี

ความสามารถด้าน การรบ

3. พม่าเปลี่ยนกลยุทธทางการศึกโดยตีจากหัวเมืองประเทศราช .เป็นการตัดกำลังและเสบียงอาหาร เมื่อถูกล้อม

เป็นเวลานานทำให้อ่อนแอเพราะขาดเสบียง
กล่าวโดยสรุปว่าเหตุสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ไทยเราเสียกรุงศรีอยุธยาประมาทและขาดความสามัคคี.

.พระเจ้าตากทรงรวบรวมทหารประมาณ 500 คนโดยมุ่งหน้าไปยังหัวเมืองตะวันออกโดยในที่สุดได้ไปตั้งมั่นอยู่ที่..จันทบุรี

.รวมรวมกองทัพ.เรือยกมาตีธนบุรีและอยุธยาคืน นับว่าเป็นการกอบกู้ราชธานีภายในเวลาเพียง 7 เดือน
งานของพระเจ้าตากทรงย้ายราชธานีจากอยุธยามาเป็นธนบุร โดยทรงเห็นว่าอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ และ

ทรุดโทรมมากด้วยกำลังคนที่มีอยู่ไม่สามารถบูรณะเมืองปกป้องราชธานีได้จึงย้ายราชธานีมาอยู่ที่ธนบุรีเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล

ทำใหสะดวกกับการค้าขาย และมี.ป้อมปราการในการป้องกันพระนครอยู่แล้ว
หลังจากที่กอบกู้เอกราชได้จากการตีทัพสุกี้ที่ค่ายโพธิ์สามต้นแล้ว ทรงมุ่งรวบรวมอาณาจักรเป็น
ปึกแผ่นด้วยการรวมรวมชุมนุมต่างดังนี้

1. ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก หัวหน้าชื่อเจ้าพระยาพิษณุโลก .มีเมือง.พิชัย..เป็นเมืองเอก
2. ชุมนุมเจ้าพระฝาง หัวหน้าชื่อเจ้าพระฝาง มีเมือง..แพร่,น่าน.เป็นเมืองเอก
3. ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช หัวหน้าชื่อเจ้านครศรีธรรมราช.มีเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเมืองเอก
4. ชุมนุม.เจ้าพิมาย หัวหน้าชื่อกรมหมื่นเทพพิพิธ. มีีเมืองพิมายเป็นเมืองเอก
หลังจากกู้เอกราชพระยาตากได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ การปกครองธนบุรียึดตามอย่างของสมัยอยุธยา

ตอนปลาย ยกเว้นการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือทรงไว้วางพระราชหฤทัยมอบให้สมุหนายกเป็นผู้ดูแล
ด้านกฎหมายและการศาลจะใช้พราหมณ์ทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญการตัดสินใช้ลูกขุน กฎหมายที่ออกในสมัย

ธนบุรีคือการสักเลก.เป็นกฎหมายที่ลงโทษประหารไพร่ที่หนีการเกณฑ์ไพร่มาใช้แรงงาน
พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้แต่งตั้งพระสังฆราชดูแลพระสงฆ์ ชำระความความบริสุทธิ์ของพระสงฆ์ทางภาคเหนือ

มีการคัดลอกพระไตรปิฏกจากหัวเมือนครศรีธรรมราช อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมาจากเวียงจันทน์ประดิษฐานไว้ที่

วัดอรุณราชวราราม วัดสำคัญในสมัยธนบุรีคือวัดบางหว้าใหญ่ ( วัดระฆังโฆสิตาราม ) วัดแจ้ง( วัดอรุณราชวราราม )
วัดบางยี่เรือใต้( วัดอินทาราม )

วรรณกรรมที่พระเจ้าตากสินทรงแต่งได้แก่ รามเกียรติบางตอน. .กวีเอกในสมัยนั้นหลวงสรวิชิต (หน)

แต่งเรื่องลิลิตเพชรมงกุฎ กฤษณาสอนน้องแต่งโดยพระภิกษุอินเมืองนครศรีธรรมราช นิราศกวางตุ้งแต่งโดย..เจ้าพระยา

มหานุภาพ ด้านจิตรกรรมมีสมุดภาพไตรภูมิเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับบาลี ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ.